ถ้าโครงการ ฟลัดเวย์ ของ ‘ยิ่งลักษณ์’ ยังอยู่ ‘บิ๊กตู่’คงไม่ต้องสวดมนต์ไล่พายุ
ถ้าโครงการ ฟลัดเวย์ ของ ‘ยิ่งลักษณ์’ ยังอยู่ ‘บิ๊กตู่’คงไม่ต้องสวดมนต์ไล่พายุ
ประชาชนทุกคนที่ได้รับความเดือดร้อน จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัด น้ำท่วมทุกครั้ง หลายๆ ก็ต้องนึกถึงโครงการเพื่อการวางระบบบริหารจัดการน้ำ ปี 2555 ในสมัยอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ทุกที เพราะนี่เป็นอีกครั้งที่ประเทศมีโอกาสที่จะดีกว่านี้ได้ แต่ถูกมือที่ทุกคนมองเห็นปัดตกไป วันนี้เราจะมาเตือนความจำทุกคนเอง
หลังเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ต่อมาในปี 2555 รัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์จึงจัดทำแผนโครงการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินรวม 324,606 ล้านบาท มีแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งหมด 8 แผนงาน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้งอย่างถาวร
พื้นที่ประสบอุทกภัยและมีการประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม 2554 ยาวนานไปจนเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งสิ้น 65 จังหวัด
รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีปุ๊ป เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นในปี 2554 ณ เวลานั้น นายกฯยิ่งลักษณ์ เดินหน้าแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนโดยไม่โทษใคร ทุกอย่างทำไปก็เพื่อเร่งบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนให้ได้เร็วที่สุด
หลังเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2554 ต่อมาในปี 2555 รัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์จึงจัดทำแผนโครงการวางระบบบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงินรวม 324,606 ล้านบาท มีแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งหมด 8 แผนงาน เพื่อเป็นการแก้ปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้งอย่างถาวร
หนึ่งในนั้นคือการทำแผนการสร้างฟลัดเวย์แบบถาวร หรือถนนที่เป็นคูน้ำ ช่วยป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งจะผันน้ำตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ลงสู่อ่าวไทยโดยตรง โดยฟลัดเวย์จะมี 2 เส้นทาง คือ แนวฟลัดเวย์ฝั่งเจ้าพระยาตะวันตก และฝั่งตะวันออก
1. แนวฟลัดเวย์ฝั่งเจ้าพระยาตะวันตก (ท่าจีน-เจ้าพระยา) ความยาว 314 กิโลเมตร
2. แนวฟลัดเวย์ฝั่งเจ้าพระยาตะวันออก (ป่าสัก-เจ้าพระยา) ความยาว 322 กิโลเมตร
ฟลัดเวย์ทั้ง 2 เส้นทาง จะช่วยลดทอนปริมาณน้ำจากจังหวัดนครสวรรค์ได้ประมาณ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยน้ำหลากในปี 2554 อยู่ที่ประมาณ 4,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที โดยจะผันน้ำให้ลงสู่อ่าวไทยโดยตรง ซึ่งช่วยแบ่งเบากระแสน้ำที่ไหลมาจากตอนบนของลุ่มน้ำได้ และเป็นการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่เศรษฐกิจภาคกลางได้อย่างถาวร
ฟลัดเวย์นอกจากจะทำหน้าที่เป็นเส้นทางคมนาคมในยามปกติ เป็นเส้นทางระบายน้ำหลากในภาวะน้ำท่วม ยังมีประโยชน์อีกอย่างหนึ่งคือยังเป็นการเพิ่มพื้นที่คลองชลประทานเพิ่มเติมให้กับเกษตรกรอีกด้วย
เพราะการสร้างฟลัดเวย์จะทำควบคู่การขุดทางระบายน้ำและการก่อสร้างถนนสายใหม่ขนานกัน ทางระบายน้ำด้านข้างจะมีคลองชลประทานเรียบถนนตลอดระยะทาง เพื่อใช้เป็นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรและอุปโภค ช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่ภาคกลางสามารถวางแผนปลูกข้าว หรือทำการเกษตรเพิ่มเติมได้
แต่แล้วโครงการนี้ก็โดนโจมตีกล่าวหาว่าจะเป็นการทุจริต ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้เริ่มทำ แล้ว คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ปปช ก็ทำงาน ส่งเรื่องให้ศาลปกครองกลาง แล้วศาลก็ตัดสินให้มี รัฐบาลทำประชาพิจารณ์ก่อน เป็นการแตะตัดขาโครงการดีๆ ของรัฐบาลอีกแล้ว นึกไปถึง รถไฟความเร็วสูง ที่โดนสลิ่มดิ้นๆ ว่าที่เอาใว้ขนผักนั้นแหละ ที่โดนศาลรัฐธรรมนูธตัดสิน ว่าให้ทางลูกรังหมดไปก่อน
จากนั้น รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็โดนรัฐประหาร แล้วโครงการนี้ก็โดนล้มไป
กุละท้อใจกับองค์กรอิสระและศาลทั้งหลาย ที่ไม่ยึดโยงกับประชาชนจริงๆ แม่งช่างเก่งกล้ากับรัฐบาลที่มาจากเสียงประชาชน แต่พอเป็นรัฐบาลรัฐประหารมา แม่งก็หุบปากเสียดิบดี ช่างน่าเศร้า โคตรๆ แล้วดูตอนนี้ซิเป็นไง
ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศหนึ่งที่ในอดีตประสบกับปัญหาน้ำท่วมค่อนข้างบ่อย ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นเกาะ เจอพายุ เจอไต้ฝุ่น แต่ญี่ปุ่นก็เรียนรู้ เขาเจ็บแล้วจำ เอาเงินมาป้องกันก่อนเกิดเหตุ เหมือนที่รัฐบาลนายกฯยิ่งลักษณ์คิดจะทำแต่ถูกสกัด ญี่ปุ่นจึงสร้างเขื่อนใต้ดินขนาดใหญ่ ใช้เวลาก่อสร้างนานกว่า 17 ปี เป็นระบบระบายน้ำใต้ดินที่ใหญ่ที่สุดในโลก ช่วยให้กรุงโตเกียวและพื้นที่โดยรอบไม่ถูกน้ำท่วมอีกนับแต่นั้นเป็นต้นมา
บทบาทของผู้นำประเทศอย่าง ที่ลงไปดูหน้างาน และมีคำพูดประเภทว่า “อดทนนะ สวดมนต์นะ ย้ายบ้านนะต้องสร้างบ้าน 2 ชั้น” “เราจะไม่ลืมพวกคุณ”
พี่น้องประชาชนคิดว่าประโยคไหนจะสร้างกำลังใจให้คนที่กำลังเดือดร้อนอยู่มากกว่ากันคะ
การแก้ปัญหาน้ำท่วม คือ การเรียนรู้บทเรียนและวางแผนรับมืออย่างเป็นระบบ เห็นทุกข์ร้อนของประชาชนเป็นที่ตั้ง เร่งทำ เร่งช่วย เร่งแก้ปัญหา แล้วป้องกัน เพื่อไม่ให้ประเทศต้องเจอปัญหาซ้ำเดิมเหมือนพายเรือวนในอ่างแบบนี้ โควิดก็ยังไม่จบยังต้องมาพบกับน้ำท่วมอีก สุดท้ายประชาชนคือคนที่รับกรรม