Exclusive Content ประสบการณ์ ร้านอาหาร กับกฎหมายการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ประสบการณ์ของ จขกท. ที่เจอมากับตัวในร้านค้าของญาติๆ ที่ต้องเปลี่ยนเมนูอาหาร และกล่องไฟโฆษณา ที่มีเจ้าหน้าฯ ในพื้นที่ ที่รู้จักกัน เข้ามาในร้านได้เสนอแนะในเรื่องข้อกฎหมายเกี่ยวกับการเผยภาพ หรือ โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
เรื่องราวทำนองนี้ เคยเกิดขึ้นตามข่าวเมื่อ ส.ค. 63 ร้านลาบดังย่าน อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดนหมายเรียกฯ คดีระหว่างคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเจ้าของร้าน ในข้อหาโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในที่สุดถูกปรับไป 17,000 บาท เนื่องจากในเมนูอาหาร มีรูปเบียร์หลายยี่ห้อ โดยเจ้าหน้าที่อ้างว่าเป็นการทำผิดมาตรา 32 พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ฐานโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
ซึ่งตามาตรา 32 ต้องเสียค่าปรับสูงถึง 50,000 บาท ต่อรองลดเหลือ 1 ใน 3 ของค่าปรับ ต้องจ่ายเงิน 17,000 บาท ตามข่าวเจ้าของร้านแจ้งว่าช่วงมกราคม 62 นั้นได้มีเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงาน กว่า 20 คน เข้ามาที่ร้านแล้วได้ถ่ายรูปในร้าน แล้วบอกว่าร้านได้กระทำผิดกฎหมาย กรณีติดป้ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลักษณะเป็นการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากในเมนูอาหาร มีรูปเบียร์หลายยี่ห้อแสดงอยู่
โพสต์เมนูของร้านดังกล่าว
เมื่อเปิดบทบัญญัติเรื่องโฆษณาใน พรบ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามมาตรา 32 ระบุรายละเอียดไว้ว่า ..
ห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือทางอ้อม
การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสารและความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่มีการปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 43 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 32 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
-------------------------------
ถ้าตีความในวรรคแรก คือห้ามแสดงชื่อหรือเครื่องหมายสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งหมด รวมทั้งยี่ห้อ ตรา เครื่องหมาย หรือบรรจุภัณท์ อย่าง ขวด แก้ว กล่องบรรจุ ในสถานที่ทุกแห่งที่จะมีบุคคลอื่นมองเห็นได้ และรวมถึงเมนู โบรชัวร์ ป้ายไฟติดหน้าร้าน หนังสือ และสื่ออื่นๆ เป็นต้น
แต่หากมองใน วรรคสอง ก็เหมือนจะย้อนแย้งกัน กับสิ่งที่กระทำได้ในความหมายโดยรวมคือการให้ข้อมูลข่าวสารเชิงสร้างสรรค์สังคม เช่นให้ข้อมูลว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั่นๆ มีโทษต่อร่างกายอย่างไร ก็เป็นสื่งที่ทำได้ แต่ก็คงไม่มีสื่อใดที่จะนำภาพ ยี่ห้อ ตรา เครื่องหมาย หรือบรรจุภัณท์ อย่าง ขวด แก้ว กล่องบรรจุ ออกมาเผยแพร่ให้เห็นกันโจ่งแจ้งแน่นอน แม้ให้ความรู้ก็จริง แต่อาจมองอีกมุมได้ว่า เป็นการชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือทางอ้อมก็เป็นได้
แม้แต่กรณีนี้ ในภาพที่ทางร้านโพสต์ไว้เห็นเพียงแค่ฟอง ก็ถือว่าผิดกฎหมาย มีการลงโทษไปแล้ว ในลักษณัโชว์รูปขวดเบียร์ในเมนูอาหาร ปรับ 460,00บาท ลิ้งค์ https://www.facebook.com/photo/?fbid=814375815305554&set=a.116853745057768
นั่นก็ส่งผลให้ร้านค้า ร้านอาหาร สื่อ และผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มีการเลี่ยงในการโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นไปในรูปแบบอื่นๆ เช่น
1. เซ็นเซอร์ ยี่ห้อ ตรา เครื่องหมาย หรือบรรจุภัณท์ อย่าง ขวด แก้ว กล่องบรรจุ ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นั่นเป็นแค่เพียงภาพประกอบในการนำเสนอข่าวสารหรือให้ความรู้
2. ผู้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เลี่ยงไปผลิตอื่นๆ โดยให้มี ยี่ห้อ ตรา เครื่องหมาย ของดื่มแอลกอฮอล์นั่นๆ ไปอยู่บน ขวด หรือบรรจุภัณท์ที่ไม่ใช่แอลกอฮอล์ๆ แทน เช่น น้ำดื่ม โซดา เครื่องดื่มบำรุงร่างกาย เป็นต้น และนำออกโฆษณาประชาสัมพันธ์ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ได้ทุกสื่อ ทุกช่องทาง
3. ทำภาพยนตร์โฆษณา ที่ถ่ายทอดและแสดงถึงวัฒนธรรมไทย หรือแหล่งท่องเที่ยว โดยไม่มีภาพสินค้า ไม่มีภาพบรรจุภัณฑ์ (ขวด แก้ว กล่อง กระป๋อง) หรือถ้อยคำแสดงสรรพคุณชักจูง อวดอ้างสรรพคุณเลยแม้แต่น้อย
4. เปลี่ยนจากการโฆษณาประชาสัมพันธ์เป็นมาให้ความรู้ถึงโทษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น สุราเป็นเหตุให้ก่อมะเร็งได้ , สุราเป็นเหตุให้พิการและเสียชีวิตได้ ,สุราเป็นเหตุทะเลาะวิวาทและอาชญากรรมได้ ,สุราทำร้ายครอบครัวและทำลายสังคม เป็นต้น
ป้ายให้ให้ความรู้ถึงโทษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
>>โดยที่ร้านของญาติ จขกท. ได้เปลี่ยนเมนูอาหารโดยการเขียนแค่ชื่อ และราคา โดยไม่มีภาพประกอบใดๆ
>>ส่วนกล่องไฟโฆษณา ใช้ภาพ ยี่ห้อ ตรา เครื่องหมาย ของน้ำดื่มแทน และระบุข้อความแค่คำว่า "ที่นี่มี เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำหน่าย"
----------------------------------
และในปี 63 นี่เองได้มีเเคมเปญร่วมเป็นหนึ่งใน 10,000 รายชื่อ ของผู้เข้าชื่อกันเสนอร่างกฎหมาย ตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 เพื่อแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 ที่กดขี่ข่มเหงประชาชนมาสิบกว่าปี ตามลิ้งนี้ https://bit.ly/2Xq2TlC
ถ้าจะให้สรุปสั้นที่สุด ก็คงจะอยู่ที่เจตนาของเรา ว่าการกระทำนั่นๆ "เป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือทางอ้อม"