"Anne Boleyn" พระราชินีที่ถูกปรักปรำว่า “คบชู้” กับน้องชายตนเอง..จนต้องถูกประหารชีวิตด้วยการ "ตัดพระเศียร"
"แอนน์ โบลีน" (Anne Boleyn) นั้นถือเป็นเรื่องราวของสตรีที่สูงศักดิ์อีกพระองค์หนึ่งก็ว่าได้ แต่กระทู้นี้ไม่ได้มากล่าวถึงความเฮี้ยนของพระนาง เพราะนั่นมันเป็นเรื่องเก่าที่พอจะคุ้นกันอยู่แล้ว กับวิญญาณที่ปรากฎร่างที่ไร้ศีรษะที่หอคอยลอนดอน แต่กระทู้นี้จะมากล่าวถึงจุดเริ่มต้นของ "ความรัก" และการถูกปรักปรำจากสามี (กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8) จนเป็นสาเหตุทำให้พระนางต้องถูกโดนบั่นพระเศียรด้วยคมดาบ
แอนน์ โบลีน เป็นใคร ? มาจากไหน ?
วันที่เกิดนั้นไม่ได้มีบันทึกแน่ชัด แต่เกิดเมื่อปี 1507 บิดาคือ "เซอร์โธมัส โบลีน" (Thomas Boleyn) ซึ่งเป็นเอิร์ลแห่งวิลต์เชียร์และออร์มอนด์ (Earl of Wiltshire and Ormonde) มารดาคือ "เลดี้เอลิซาเบธ โฮเวิร์ด" (Lady Elizabeth Howard) มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน เสียชีวิตแต่เล็ก 2 คน จึงเหลือพี่สาวชื่อ "แมรี โบลีน" และ น้องชายคือ "จอร์จ โบลีน" พระนางใช้ชีวิตในช่วงวัยเด็กที่ฝรั่งเศส ก่อนจะเดินทางกลับอังกฤษในปี ค.ศ. 1522
ด้านชีวิตคู่ครอง
ซึ่งก่อนจะมาได้เป็นพระเมหสีองค์ที่ 2 ของของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 นั้น พระนางถูกบิดาสั่งให้แต่งงานกับญาติของพระนางคือ "เจมส์ บัทเลอร์" (ในปี ค.ศ. 1521) แต่เจมส์กลับมาเสียชีวิตซะก่อน พอในปี ค.ศ. 1526 จึงทำให้พระนางแอนน์ฯ ถูกส่งตัวเข้าราชสำนักเพื่อเป็นนางกำนัล ในการรับใช้ "สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอน" (Catherine of Aragon) ในเวลาต่อมา จึงเป็นเหตุทำให้ได้พระนางได้อยู่ใกล้ชิดกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ในราชสำนักนั้นเอง
ชีวิตของพระนางแอนน์ฯ ในราชสำนัก และการถูกขัดขวางมิให้ได้หมั้นหมาย
เนื่องด้วยพระนางแอนน์ โบลีน มีรูปโฉมที่งดงามรูปร่างเพรียวบาง หน้าผากและกรามมีขนาดเล็กแต่มีรูปร่างดี พระนางแอนน์ฯจึงเป็นที่สนพระทัยของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 เพราะพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 นั้นเป็น "นักรัก" (เจ้าชู้ตัวพ่อเลยก็ว่าได้) แม้แต่พี่สาวของพระนางแอนน์ฯ ที่แต่งงานไปแล้ว ก็ยังแอบมีความสัมพันธ์กันอย่างลับๆกับพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 มาก่อน
ซึ่งเดิมทีพระนางแอนน์ โบลีน ได้หมั้นหมายไว้กับ "ลอร์ดเฮนรี่ เพอร์ซี" (Lord Henry Percy) แต่กลับโดนพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ขัดขวาง โดยให้ "พระคาดินัลด์วอลซี" (Cardinal Wolsey) ประกาศให้การหมั้นหมายของทั้งคู่เป็นโมฆะไป เพื่อพระองค์ที่จะได้ตัวพระนางแอนน์ โบลีน มาให้ได้
อุปสรรคของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8
เนื่องด้วยกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ทรงสมรสแล้วกับสมเด็จพระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอน ในการจะขอหย่าร้างในสมัยนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ พระองค์จะต้องได้รับการยินยอมจากสมเด็จพระสันตะปาปาแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิกซะก่อน และเหตุผลสำคัญที่กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ใช้เป็นข้ออ้างก็คือ...พระราชินีแคทเธอรีนฯ ไม่สามารถให้กำเนิดทายาทที่เป็นพระโอรสได้ แต่ก็ทำให้สมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 บอกปัดฎีกาของพระองค์มาโดยตลอดการหย่าร้างจึงไม่สำเร็จ
แรงปรารถนาที่..ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุ
ความรักที่ถูกขวางกั้นด้วยจารีตประเพณีก็ยิ่งทำให้กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 นั้นพลุ่งพล่าน จึงได้แอบสมรสอย่างลับๆกับพระนางแอนน์ฯ (ในช่วงปลายเดือน ม.ค. ค.ศ. 1533) พอจากนั้น (ในวันที่ 23 พ.ค. ค.ศ. 1533) กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ก็ให้ "อาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี โธมัส แครนเมอร์" (Thomas Cranmer) ประกาศให้การสมรสของพระองค์กับพระราชินีแคทเธอรีน นั้นเป็นโมฆะ
ทั้งนี้เพราะพระราชินีแคทเธอรีนฯ เคยสมรสกับ "เจ้าชายอาเธอร์" (Prince Arthur) มาก่อน ซึ่งเป็นโอรสองค์โตของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 7 เมื่อเจ้าชายอาเธอร์สิ้นพระชนม์ พระราชินีแคทเธอรีนฯ จึงมาสมรสกับเจ้าชายเฮนรี่ โอรสองค์ที่สองของกษัตริย์เฮนรีที่ 7 ซึ่งภายหลังได้ขึ้นครองราชย์เป็น "กษัตริย์เฮนรีที่ 8" พระองค์จึงเอาบัญญัติของคัมภียร์ไบเบิลพันธสัญญาเก่า (เลวีนิติ 20:21) มาเป็นข้ออ้างว่า..
“ถ้าชายใดเอาเมียของพี่ชายหรือน้องชายไปเป็นเมียตน ผู้นั้นต้องตายโดยไร้ทายาท บุคคลนั้นได้ทำเรื่องอันเป็นมลทินและสร้างความอัปยศต่อพี่หรือน้องตนเอง”
ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงทรงอ้างว่าการสมรสครั้งแรกของพระองค์กับพระราชินีแคทเธอรีนฯ ถือเป็นการขัดต่อประสงค์ของพระเจ้า จึงทำให้การสมรสในครั้งนั้นตกเป็นโมฆะไป
พระราชินีแคทเธอรีน แห่งอรากอน สวรรคต
ต่อมาในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 1536 พระราชินีแคทเธอรีนฯ ก็สวรรคต จึงทราบถึงกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 และพระนางแอนน์ โบลีน แต่การชันสูตรพระศพกลับพบว่า "หัวใจของพระนางกลายเป็นสีดำ"
ซึ่งทำให้บางคนเชื่อว่าไม่กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 หรือไม่ก็คือพระนางแอนน์ โบลีน น่าจะลอบวาง "ยาพิษ" แต่กระนั้นการสวรรคตของพระราชินีแคทเธอรีนฯ ก็ทำให้กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ทรงเสียพระทัยอย่างมากอยู่เช่นกัน
ความพยายามจะมีพระโอรสสืบทายาทนั้นสูญเปล่า
กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 และพระนางแอนน์ฯ แต่งงานกันอย่างเป็นทางการ (เมื่อวันที่ 25 ม.ค. ค.ศ. 1533) หลังจากที่แต่งงานกันลับๆ (ในวันที่ 14 พ.ย. ค.ศ. 1532) และเป็นพระราชินีแห่งอังกฤษคนที่ 2 ของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 (ในวันที่ 1 มิ.ย. ค.ศ. 1533) ในเวลาต่อมา แต่พระนางแอนน์ฯ กลับให้กำเนิดพระธิดาแทน (ซึ่งก็คือพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 ในอนาคต-ภาพด้านล่างนี้)
กษัตรย์เฮนรี่ที่ 8 รู้สึกผิดหวังที่มีลูกสาว จึงเริ่มมีพระทัยออกห่าง พอถึงปี ค.ศ. 1534 พระนางแอนน์ฯ ก็ตั้งครรภ์อีกครั้งแต่ก็กลับทรงแท้งลูกทารกชายในครรภ์ที่มีอายุเพียง 15 สัปดาห์ สาเหตุที่ทำให้ทรงแท้งลูกนั้นเพราะพระนางแอนน์ฯ ทราบว่ากษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ทรงตกม้าจากการแข่งขันทำให้ทรงบาดเจ็บมาก ทำให้พระนางแอนน์ฯ ตกพระทัยมากจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ถึงขนาดแท้งลูกตามมา
กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ก็เริ่มมองหาคนใหม่
หลังจากกษัตริย์เฮนรี่ฯ ผิดหวังที่จะได้พระโอรสสืบสกุลจากพระนางแอนน์ฯ ก็ทำให้รู้สึกผิดหวังและก็เริ่มตีตัวออกห่างจนทำให้มีใจเปลี่ยนไป เมื่อได้พบกับหญิงคนใหม่คือ "นางเจน เซมัวร์" (เป็นธิดาของเซอร์จอห์น ซีมอร์ และ มาร์เกอรี เวนต์เวิร์ท) ที่ได้เข้ามารับใช้ในพระราชวัง
และเนื่องด้วยความถือพระองค์ของพระนางแอนน์ฯ ทำให้ไม่ได้รับความนิยมในราชสำนักแต่แรกอยู่แล้ว แถมไม่สามารถให้กำเนิดพระโอรสได้อีก ก็ยิ่งทำให้สถานะเริ่มเสื่อมทรามลงอย่างรวดเร็ว จึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดการใส่ร้ายป้ายสีในเวลาต่อมา
พระนางแอนน์ฯ กลับการถูกปรักปรำว่า "คบชู้"
คนที่ 1 นักดนตรีชื่อ "มาร์ก สเมียตัน" ชาวเฟลมมิชที่พระนางแอนน์ฯ เรียกรับใช้ก็ถูกจับกุมถูกทรมานร่างกาย โดนตั้งข้อหาว่าคบชู้กับพระนางแอนน์ฯ
คนที่ 2 พอเดือน พ.ค. ก็ชาวต่างชาติชื่อ "เฮนรี่ นอร์ริส" ก็ถูกจับแต่เนื่องจากเขาเป็นชนชั้นสูงจึงไม่ถูกทรมาน และเขาได้ปฎิเสธและสาบานว่าไม่ได้กระทำผิด
คนที่ 3 ก็คือ "เซอร์ฟรานซิส เวสตัน" ก็ถูกจับกุมในข้อกล่าวหาเดียวกัน
คนที่ 4 ก็คือ "วิลเลียม แบร์ตัน" (บ่าวรับใช้ของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8) ก็ถูกจับกุมในข้อกล่าวหาเดียวกัน
คนที่ 5 ก็คือ "จอร์จ โบลีน" การจับกุมน้องชายแท้ๆของพระนางแอนน์ฯ ในข้อหาคบชู้กับสายเลือดเดียวกัน
วันที่ 2 พ.ค. ค.ศ. 1536 พระนางแอนน์ฯ ก็ถูกจับกุมและส่งไปที่หอคอยแห่งลอนดอน นักโทษคนอื่นๆได้รับการปล่อยตัว แต่พระนางแอนน์ฯกับน้องชาย (จอร์จ โบลีน) 3 วันต่อมาก็ถูกกล่าวหาว่าได้คบชู้สู่ชายกับสายเลือดเดียวกันและเป็นผู้ทรยศ วันที่ 17 พ.ค. ค.ศ. 1536 ก็ตัดสินประหารน้องชายพระนางแอนน์ โบลีน ก่อน
วาระชีวิตสุดท้ายของพระนางแอนน์ โบลีน
ตามบันทึกกล่าวว่าพระนางแอนน์ฯ ได้เตรียมตัวเตรียมใจที่จะได้รับการประหาร แต่พระนางแอนน์ฯ ได้ขอเป็นครั้งสุดท้ายว่า..ขอให้จ้างเพชรฆาตจากฝรั่งเศสมาทำการประหารโดยใช้ดาบตามธรรมเนียมฝรั่งเศส เพราะกลัวจะไม่ขอประหารด้วยขวานทื่อๆตามธรรมเนียมอังกฤษ กษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ก็ทำตามคำขอให้
พอเช้าวันที่ 19 พ.ค. ค.ศ. 1536 ทหารก็ได้เชิญพระนางแอนน์ฯ เข้ารับการประหาร โดยพระนางสวมฉลองสีแดง พระเกศารวบด้วยผ้าลินินสีขาวซึ่งเป็นธรรมเนียมฝรั่งเศส และมีนางกำนัลที่สนองโอษฐ์ 4 คนเดินตามจนถึงแท่นประหาร คำสวดมนต์ครั้งสุดท้ายของพระนางแอนน์ โบลีน ได้กล่าวว่า...
“แด่พระเยซูคริสต์ ข้ายินดีที่จะมอบวิญญาณของข้า องค์เยซูโปรดรับวิญญาณข้า”
จากนั้นก็นำผ้ามาปิดพระเนตร แต่เพชรฆาตนั้นตื่นเต้นและรู้สึกว่าการจะประหารให้สำเร็จนั้นยาก เนื่องจากพระศอของพระนางนั้นสั้น เพื่อเป็นการเบนความสนใจของพระนางแอนน์ฯ เพชรฆาตจึงได้ตะโกนเสียงดังว่า..
"ดาบข้าอยู่ไหน" แล้วก็ทำการบั่นพระเศียรพระนางแอนน์ โบลีน โดยที่พระนางไม่ทันรู้ตัวว่าคมดาบลงมาเมื่อไร เป็นการประหารที่รวดเร็วภายในพริบตา และเมื่อชูศีรษะของพระนางแอนน์ โบลีนขึ้นมา ก็พบว่าดวงตากลมโตยังเปิดโพลงอยู่ แถมปากก็ยังขมุบขมิบอยู่คล้ายกับกำลังสาปแช่ง
พระศพไม่ได้รับเกียรติเพราะมีโลงอย่างดีบรรจุ
ว่ากันว่ากษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ไม่สามารถหาโลงพระศพที่ดีเยี่ยมได้ หลังประหารเสร็จก็ให้นางกำนัลนำศพมาใส่ในหีบธนู ศพอยู่ในสภาพงอเข่าคู้ หัวซุกวางอยู่ที่อก และฝังโดยไม่มีการสวมหน้ากาก และฝังไว้ในห้องสวดมนต์ของโบสถ์เซนต์ปีเตอร์ แอด วินคิวลา
ซึ่งมีคำกล่าวว่ากษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ให้ความสนใจกับฉากประหาร แต่กลับไม่ได้เตรียมพิธีศพพระนางแอนน์ โบลีน ในฐานะพระราชินีแห่งอังกฤษไว้แม้แต่น้อย แต่กลับบรรจุลงในหีบเก็บลูกธนูที่ทำจากไม้ ไม่ใช่โลงศพอย่างดีที่ควรจะเตรียมไว้ให้สมพระเกียรติ ซึ่งก็คงเป็นหีบเก็บลูกธนูที่หาได้จากลานประหารซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณหอคอยแห่งลอนดอนนั้นเอง
โดยมีคำกล่าวว่าเฮนรี่ที่ 8 ให้ความสนใจกับฉากประหาร แต่ไม่ได้เตรียมการพิธีศพของพระนางแอนน์ฯ ไว้ เพราะร่างและศีรษะของพระนางถูกพันด้วยผ้า ก่อนบรรจุลงในหีบเก็บลูกธนูทำจากไม้เท่านั้น ไม่ใช่โลงศพอย่างดีที่ถูกเตรียมไว้สำหรับพระราชินีแห่งอังกฤษ เป็นไปได้ว่าการจัดการพระศพของพระนางแอนน์ฯ อาจไม่ถูกเตรียมการไว้เลยด้วยซ้ำไป
และนี่ก็คือเรื่องราวของพระนางแอนน์ โบลีน ที่น่าสงสารอีกพระองค์หนึ่ง ที่ "ความรักกับความจงรักภักดี" ก็ใช่ว่าจะมีค่าในสายตาผู้เป็นสามีเมื่อหมดรัก กับความ "ไม่สมหวัง" ในการมีพระโอรสให้แก่สามีนั้น กลับต้องมากลายเป็นจุดจบจากการถูกปรักปรำว่า "คบชู้" จนนำมาซึ่ง "ความตาย" บนแท่นประหาร
ขอบคุณภาพและเนื้อหา : กูลเกิล, วิกิพีเดีย, ทีนเอ็มไทย, ศิลปวัฒนธรรม