ไขปริศนา “The Man in the Iron Mask” ชายลึกลับผู้น่าสงสารที่ถูกคุมขังภายใต้ "หน้ากาก" จนตาย
เป็นเรื่องราวที่ลึกลับของฝรั่งเศสที่น่าค้นหา สำหรับบุรุษผู้ที่ต้องถูกจำคุกเป็นเวลายาวนานถึง 34 ปี ที่ต้องตายภายใต้ "หน้ากาก" ในยุคสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ซึ่งมีหลายทฤษฎีที่ได้อ้างอิงและกล่าวถึง "บุรุษ" ผู้นี้ และสงสัยกันว่าเป็นใครกันแน่ ? มาติดตามและไขปริศนากันว่าบุรุษท่านนี้คือใครกัน ?
ซึ่งบุรุษผู้นี้มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์อันโด่งดังของฝรั่งเศส เขาถูกจับกุมตัวในปี 1669 โดยเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 16 ซึ่งเขาได้รับโทษหนักจาก "พระเจ้าหลุยส์ที่ 14" โดยให้สวมหน้ากากตลอดเวลา ก่อนจะถูกส่งไปคุมขังใน "คุกบาสตีย์ (Bastille)" จนกระทั้งเสียชีวิตเมื่อปี 1703 ในรัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
“L’Homme au Masque de Fer” หรือ บุรุษหน้ากากเหล็ก ภาพพิมพ์ในปี ๑๗๘๙ จากห้องสมุดสภาคองเกรส สหรัฐอเมริกา (Wikimedia Commons) คำบรรยายในภาพอ้างว่าบุรุษหน้ากากเหล็กคือ หลุยส์ เดอ บูร์บง (Louis de Bourbon) โอรสองค์โตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ที่เกิดจากนางบำเรอ อีกหนึ่งทฤษฎีสมคบคิดที่ได้รับการกล่าวถึงมากแต่ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์รองรับ
หน้ากากของเขานั้นจริงๆแล้วไม่ได้ทำจากเหล็กอย่างที่เข้าใจกันแต่เป็น "หน้ากากผ้ากำมะหยี่สีดำ" แบบที่สตรีชั้นสูงนิยมสวมกันในศตวรรษที่ 16-17 โดยทำขึ้นมาพิเศษให้มีช่องสามารถเปิดปากเพื่อรับประทานอาหารได้ เขาได้รับการดูแลอย่างดี สวมเสื้อผ้าอย่างชนชั้นสูง และที่สำคัญเขาจะถูกย้ายตัวไปมาภายใต้ความดูแลของ "Benigne de Sanint-Mars" อดีตทหารเสือที่ผันตัวเองมาเป็นผู้คุมเรือนจำตลอดเวลา
ซึ่งมี 5 ทฤษฎีถึงการสันนิษฐานออกไปไกลว่าบุรุษหน้ากากนี้คือ..
ทฤษฎีที่ 1 คือ...
อาจจะเป็น "Louis de Bourbon, Count of Vermandois (หลุยส์ เดอ บูร์บง)" ลูกชายนอกสมรสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 กับชู้รัก (นางบำเรอ) ซึ่งประวัติศาสตร์บอกว่า Louis de Bourbon ถูกขับออกจากราชสำนัก เพราะถูกจับได้ว่าเป็นพวกรักร่วมเพศ พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จึงโกรธมากจึงออกคำสั่งสอนลูกชายให้ส่งไปรบในสงครามที่ฟลันเดอร์ (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเบลเยี่ยม) จนเขาป่วยและเสียชีวิตในปี 1683 มีอายุเพียงแค่ 16 ปี แต่ว่ากันว่าเขาไม่ได้เสียชีวิตจริงๆ แต่กลับถูกจับขังเป็นนักโทษภายใต้หน้ากากนี้ และปล่อยข่าวว่าเขาเสียชีวิตเพื่อปกปิดตัวตนที่แท้จริงของเขา (แต่ทฤษฎีนี้ก็ไม่มีหลักฐานรองรับ)
ทฤษฎีที่ 2 คือ...
ผู้ต้องสงสัยรายที่สองคือ "Francois de Bourbon, Duke of Beaufort" ที่เป็นญาติสนิทและเป็นศัตรูทางการเมืองของพระเจ้าหลุยส์ฯ ที่เขามีความคิดต่อต้านอย่างแรงกล้า แต่ตามประวัติศาสตร์กล่าวว่า..เขาเสียชีวิตในสนามรบตั้งแต่ช่วงต้นรัชกาล แต่ข่าวลือก็บอกว่าเขาไม่ได้เสียชีวิตแต่ถูกจับคุมขัง และลงโทษโดยการให้สวมหน้ากากตลอดชีวิตเช่นกัน
ทฤษฎีที่ 3 คือ...
สันนิษฐานว่าเขาอาจจะเป็นน้องชายคนละพ่อ (ลูกนอกสมรสของพระนางแอนน์แห่งออสเตรีย) ชายชู้ของพระนางมารี เทเรซา
ทฤษฎีที่ 4 คือ...
ได้รับการพูดถึงอย่างมากและได้รับความนิยมมากที่สุดคือ บุรุษหน้ากากนี้อาจจะเป็น "พี่ชายฝาแฝด" ของพระเจ้าหลุยส์ฯนั่นเอง ซึ่งคนที่กระพือข่าวลือก็ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นนักเขียนและนักปรัญญาชื่อดังชื่อว่า "วอลแตร์" (Voltaire) เขาถูกตัดสินจำคุกในปี 1717 โดยตัวเขาเล่าว่าตัวเองได้ฟังเกี่ยวกับบุรุษสวมหน้ากาก จากนักโทษชราเอ่ยถึงบุรุษหน้ากากเหล็กไว้ว่า...
โดยชายชรากล่าวว่า "เป็นชายหนุ่มร่างสูงมีบุคลิกสง่างาม มีมารยาทเหมือนได้รับการขัดเกลามาอย่างดีแบบชนชั้นสูง และสามารถเล่นกีตาร์ได้ แถมอาหารที่ถูกเสิร์ฟก็เป็นอาหารอย่างดีที่สุด ซึ่งนักโทษคนอื่นๆจะถูกกันไม่ให้ได้เข้าใกล้ตัวเขาเลย แต่จะมีเพียงผู้สำเร็จราชการเท่านั้นที่จะเข้ามาเยี่ยมบุรษหน้ากากและพูดคุยกับเขาได้เท่านั้น"
สิ่งที่วอลแตร์บันทึกจึงกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับ "Alexandre Dumas" นักเขียนชื่อดังนำมาเป็นสีสันของชายสวมหน้ากาก ซึ่งเป็หนึ่งในฉากสำคัญในนวนิยายชุด "สามทหารเสือ" นั้นเอง
โดยเป็นต้นแบบของภาพยนต์ชื่อโด่งดัง จากเรื่อง "The Man in the Iron Mask" (ในปี 1998) โดยมีนักแสดงคือ "ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ" เป็นนักแสดงนำโดยรับบทเป็น "ฟิลลิป" พี่ชายฝาแฝดของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 นั้นเองจนหนังประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
ทฤษฎีที่ 5 คือ...
เขาอาจจะเป็น "Nicolas Fouquet" อดีตขุนนางคนสนิทที่ต้องรับผิดชอบเรื่องเงินในสมัยต้นรัชกาล เขาจึงถูกจับในข้อหาคอรัปชั่นและเป็นกบฎ จึงต้องถูกปลดจากตำแหน่งและต้องถูกจำคุกตลอดชีวิต จนเขาเสียชีวิตในปี 1680 (แต่ก็ไม่มีหลักฐานว่าเรื่องนี้จริงหรือเท็จอีกเช่นกัน)
ในเมื่อมีหลายทฤษฎีขนาดนี้ แล้วสรุปบุรุษหน้ากากท่านนี้คือใคร ? กันแน่ล่ะ ?
สุดท้ายแล้วความน่าเชื่อถือมากที่สุดในปัจจุบันก็ถูกเปิดเผย เป็นของ "Paul Sonnino" (ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยแคลิฟอเนียร์) และนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ก็เชื่อว่า...
ชายสวมหน้ากากนั้นไม่ได้มีชาติกำเนิดสูงส่งดังกล่าวอย่างที่ทฤษฎีได้กล่าวอ้างมา แต่คือเป็นผู้รับใช้นามว่า..
"Eustache Dauger" เป็นผู้รับใช้สามัญชนที่ทำหน้าที่ดูแลคลังสมบัติให้กับ "Jules Cardinal Mazarin" เป็นอัครมนตรีที่มั่งคั่งแห่งฝรั่งเศสในช่วงที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ยังทรงพระเยาว์
ซึ่งทรัพย์สมบัติของเขานั้นเป็นเงินที่โกงมาจากอดีตพระราชาและพระราชินีแห่งอังกฤษ ในสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 1 และพระราชินีเฮนเรียตตา มาเรีย พออังกฤษเกิดสงครามกลางเมืองพระเจ้าชาร์ลก็ถูกจับและสำเร็จโทษด้วยการตัดศีรษะ ส่วนพระราชินีเฮนเรียตตาฯ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ก็ลี้ภัยมาในฝรั่งเศส สมบัติที่ว่าก็ตกทอดถึงพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ในภายหลัง
แต่อย่างว่าเมื่อล่วงรู้ความลับ..มันก็ย่อมเป็นภัยสำหรับตนเอง
"Eustache Dauger" ต้องการจะเปิดเผยความลับของทรัพย์สินที่สกปรกนี้ จึงถูกจับกุมและถูกบังคับข่มขู่ว่าไม่ให้เปิดเผยตัวตน ไม่เช่นนั้นจะถูกฆ่าในทันที ดังนั้นเขาจึงต้องถูกปกปิดหน้าตาให้อยู่ภายใต้หน้ากากนี้ไปตลอดชีวิตของเขาจนสิ้นชีพในปี 1703 ในวัย 50 กว่า และถูกฝังที่สุสาน Saint-Paul ในปารีส รัชสมัยของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
และเพื่อให้เรื่องราวของเขาเป็นเรื่องลึกลับเขาจึงถูกปกปิดตัวตนตลอดในการถูกคุมขังจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต แม้แต่เสื้อผ้าและข้าวของส่วนตัวก็ถูกเผาทำลายทิ้ง แม้แต่ห้องขังก็ถูกขูดทำความสะอาดจนเกลี้ยง เพื่อจะไม่ให้รู้ว่าเคยคุมขังใครมาก่อน แม้แต่ชื่อที่เขาถูกฝังไว้ก็คือ "Marchiel" หรือ "Marchioly" มันเป็นชื่อปลอมหรือ ? จึงต้องใช้ชื่อที่สามในการฝังร่างของเขาแทน
แต่ถึงอย่างไรก็ถือว่าเขาเป็นบุรุษที่น่าสงสารคนหนึ่งที่อาจจะไปล่วงรู้ความลับอะไรที่ไม่ควรจะรู้ และทำให้ความลับนี้ที่เขาได้รับรู้และคิดว่าตนเองจะเปิดเผยความลับออกมานั้นจึงเป็นเหตุให้เขาต้องพบกับชะตากรรมเช่นนี้ และเขาหรือ ? จะสู้กับผู้มีอำนาจได้ จึงเป็นสาเหตุให้บุรุษธรรมดาผู้นี้จึงต้องได้รับโทษให้อยู่ภายใต้ "หน้ากาก" นี้ไปจนตลอดชีวิต จนถึงวันสิ้นลมหายใจของเขาอย่างโดดเดี่ยวไปอย่างลึกลับ
ขอบคุณภาพและเนื้อหา : กูลเกิล, วิกิพีเดียร์, ศิลปวัฒนธรรม