กว่าจะเป็นข้าวโป่ง(ข้าวเกรียบว่าว)
🎶หอมเอยหอมดอกกระถิน รวยระรินเคล้ากลิ่นกองฟาง เห็ดตับเต่าขึ้นอยู่ริมเขาย่านนาง มองเห็นบัวสร่างลอยปริ่มรึมบึง.....🎼
เกริ่นบทความวันนี้ด้วยเพลงมนต์รักลูกทุ่ง เพราะจะคุยฟุ้งเรื่องบ้านทุ่งวิถีชนบท ภูมิปัญญาพื้นบ้านดั้งเดิมแต่เก่ามา รุ่นปู่ย่าถ่ายทอดเป็นตำนาน สืบต่อมารุ่นสู่รุ่นถึงวันนี้ เป็นมรดกตามวิถีการถนอมอาหาร ให้มีกินอิ่มหนำตราบนานเท่านาน ภูมิปัญหาพื้นบ้านมรดกขุมทรัพย์ไทย มาวันนี้ผู้เขียนจะนำเล่าฝากเรื่องราวของขนมผ่านการเขียน มีรูปประกอบให้ผู้อ่านได้จำเรียน ถึงขั้นตอนผ่านการเขียนเล่าบรรยาย
เรามาช่วยกันรักษาภูมิปัญญาพื้นบ้านของชาวชนบทไทยในการถนอนอาหาร สามารถเก็บไว้ทานได้ยาวนาน และพบเจอคามชนบทเท่านั้น หรืองานวัด ขนมพื้นบ้านชนิดนี้คือ ข้าวโป่ง หรือ ข้าวเกรียบว่าว มาลงมือทำไปพร้อมๆกันเลยดีกว่าจ้า
เริ่มจากนำข้าวเหนียวไปล้างทำความสะอาดสัก3-4 น้ำ แล้วแช่ทิ้งไว้ 1 คืน
เมื่อครบกำหนดนำไปนึ่งในซึ้งจนสุกดี แล้วนำไปเทลงครกตำ ครกนี่จะยอกว่าครกตำแบบโบราณที่มีไม้สากใหญ่ๆ หนักมากมาย มีทั้งแบบสากมือ หรือสากที่ใช้เท้าส่งแรงผ่านตัวยกให้ไม้สากตำลงครก
ตำข้าวเหนียวนึ่งไปเรื่อยๆ จนเริ่มได้แป้งข้าวเหนียวหนืดๆละเอียดแล้วล่ะ
จากนั้นใส่น้ำตาลทรายแดงลงไปครึ่งถ้วงตวง ผู้เขียนใส่แค่นี้น้า เพราะเดี๋ยวจะเพิ่มความหวานด้วยน้ำตาลมะพร้าวเคี่ยวอีกที เพื่ิความหอมและรสชาติหวานละมุลอร่อยกว่าเดิม
จากนั้นก็ตำต่อให้น้ำตาลทรายละลายผสมเป็นเนื้อเดียวกันกับเนื้อแป้ง
ขั้นตอนนี้เราก็ต้มเคี่ยวน้ำคาลมะพร้าวจนได้ที่ รินเทใส่ลงไปในแป้งข้าวเหนียวที่เราตำในครกนี่แหละ
น้ำตาลมะพร้าวจะทำให้ข้าวโป่งของเรามีความหอม เพิ่มอรรถรสเนื้อสัมผัสที่อ่อนนุ่มอร่อยกว่าใส่น้ำตาลทรายเพียงอย่างเดียวค่ะ
จากนั้นก็ตอกไข่ไก่ใส่เพิ่มตามลงไปสัก2 ฟอง
ตามด้วยงาขาวหรืองาดำตามใจชอบ
ขั้นตอนนี้อนุญาตนวดแป้งต่อด้วยมือนะคะ แต่ต้องล้างทำความสะอาดก่อนน้า😊😊 เพราะใช้สากตำแป้งกับส่วนผสมต่างๆไม่ได้เพราะความแฉะของน้ำตาลมะพร้าวเคี่ยว ไข่ไก่ และงาของเราจะแตกหักจากการโดนตำ
เรานวดแป้งและส่วนผสมต่างๆให้เข้ากันจนได้แป้งที่พร้อมปั้นเป็นก้อนกลมเล็กๆแล้วล่ะ
นำแป้งที่ตำนวดได้ที่แล้วมาจัดการปั้นเป็นก้อนกลมๆเล็กๆ อ้อๆ อย่าลืมทาน้ำมันบางๆกันตัวแป้งติดถาดด้วยน้า
เมื่อเราปั้นแป้งได้เป็นก้อนกลม ผึ่งลมไว้สักเล็กน้อยให้แป้งเซตตัว จากนั้นนำแป้งมาทับรีดให้เป็นแผ่นกลมบางๆ รีดทับด้วยอุปกรณ์ที่ทำจากไม้ที่มีน้ำหนักจำนวน 2 ชิ้น โดยแผ่นไม้ล่างให้นำถุงพลาสติกสะอาดมาทาน้ำมันบางๆ หรืออาจจะนำก้อนแป้งที่เราปั้นเป็นก้อนกบมมาจุ่มน้ำมันให้ทั่วก็ได้จ้า จากนั้นนพถุงพลาสติกอีกแผ่นวางบนอีกทีแล้วใช้แผ่นไม้อีกชิ้นทับถุงพลาสติก รีดลงน้ำหนักให้ได้ตัวแป้งจากก้อนกลมเล็กๆ กลายเป็นแผ่นแป้งกลมบางๆแทนที่
นำแป้งที่รีดจนเป็นแผ่นกลมบางๆไปตากแดดจนแห้ง ก็ให้กลับด้านแผ่นแป้ง เพื่อให้มีความแห้งเท่าๆกันทั่วทั้งแผ่น
เมื่อได้แผ่นแป้งข้าวโป้งที่แห้งดีแล้ว สามารถนำเก็บใส่ภาชนะกันชื้นได้นานหลายเดือน อยากจะรับประทานเมื่อไหร่ก็พร้อมนำออกมาย่างร้อนๆได้ตลอดเวลา
เราก็จะมาย่างข้าวโป่งที่ทำเสร็จใหม่ๆ ที่ยังคงความสดรับประทานกันดีกว่า
ย่างด้วยเตาถ่านจะได้ความหอม กลิ่นอายความเป็นธรรมชาติบ้านนา
ข้าวโป่งจากแผ่นแป้งแห้งๆ เมื่อโดนไอความร้อนจากเตาถ่านแป้งก็จะเริ่มโป่ง พองตัวขึ้น ครานี้แหละกลิ่นข้าวโป่งย่างก็หอมละลิ่วมาแตะจมูก ชวนน้ำลายไหล
ย่างไปกินไปได้อรรถรสผสมปนความสนุกดีจัง ย่างต่อไปทีละครั้งจนได้ข้าวโป่งตามที่ต้องการ มาทานด้วยกันนะคะ