หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

“Nangeli” หญิงอินเดียที่ยอมเฉือน “เต้านม” ตนเอง..จนตาย จากการถูกบังคับให้ต้องเสีย “ภาษีเต้านม”

เนื้อหาโดย Amity609


เป็นเรื่องราวของหญิงสาวนามว่า "Nangeli" ที่เธอไม่ยอมอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์วรรณะ ที่ต้องโดนกดขี่ข่มเหงจากการต้องมาเก็บ "ภาษีเต้านม" มาอ่านกันว่าเรื่องราวจะเป็นยังไง แต่ก่อนจะไปเรื่องของเธอคนนี้ก็ต้องเกริ่นระบบวรรณะของอินเดียกันสักก่อน..เพื่อจะได้เข้าใจกันมากขึ้น

4 วรรณะที่แบ่งชนชั้นของความเป็นมนุษย์
วิถีชีวิตผู้คนในประเทศอินเดียเรามักรู้ๆกันว่าส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อและความศรัทธาในศาสนาฮินดู โดยยึดถือระบบวรรณะอย่างเคร่งครัดและจะไม่มีการข้ามวรรณะกันเด็ดขาด ซึ่งมีอยู่ 4 วรรณะได้แก่ พราหมณ์, กษัตริย์, แพศย์ และศูทร นอกจากนี้ยังมีคนนอกวรรณะ ซึ่งถือว่าเป็นชนชั้นที่ต่ำที่สุดในสังคมนั่นคือ "จัณฑาล"

ระบบวรรณะในสังคมของอินเดียตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเหลี่ยมล้ำของลำดับชนชั้น โดยมากจะเกี่ยวกับอาชีพและบางอาชีพจะถือว่าต่ำต้อยมาตั้งแต่ดั้งเดิม เช่น คนกวาดถนนหรือคนเก็บขยะจะถือว่าเป็นชนชั้นที่ต่ำที่สุดในทางสังคม ตามคำสอนเก่าแก่ที่ตกทอดกันมาในอินเดีย ถ้าชาวฮินดูแต่งงานกับคนนอกวรรณะหรือกินอาหารร่วมกับคนที่วรรณะต่างจากตัวเองถือว่าเป็นเรื่องที่บาป ดังนั้นคนอินเดียจึงปฏิบัติและยึดถือเรื่องของวรรณะอย่างเคร่งครัด

แบ่งผู้หญิงจากเรื่องของ "หน้าอก"
นอกจากการแบ่งผู้คนจากอาชีพแล้ว ยังมีการแบ่งผู้คนจากหน้าอกกล่าวคือผู้หญิงที่อยู่ใน "วรรณะสูง" สามารถใส่เสื้อผ้าปกปิดหน้าอกได้ แต่ในขณะที่ผู้หญิง "วรรณะต่ำ" จะต้องเปลือยหน้าอก หากผู้หญิงวรรณะต่ำคนใดอยากใส่เสื้อผ้าปกปิดหน้าอกถือว่าเป็นความผิด

จนภายหลังเมื่อ "ศาสนาคริสต์" แพร่หลายในอินเดีย ผู้คนบางส่วนโดยเฉพาะคนวรรณะต่ำเริ่มหันมานับถือศาสนาศริสต์มากขึ้น และด้วยอิทธิพลดังกล่าวส่งผลให้ผู้หญิงในวรรณะจัณฑาล เริ่มเรียกร้องที่จะทำการปกปิดหน้าอกของตนเอง อีกทั้งผู้หญิงคริสเตียนอินเดียก็ยืนกรานที่จะปกปิดหน้าอกเช่นกัน และแน่นอนว่าคนในวรรณะที่สูงกว่ารู้สึกไม่พอใจกับการต่อต้านและการกระทำดังกล่าวจึงเกิดความขัดแย้งในสังคมอย่างรุนแรง

"ภาษีเต้านม" จึงเกิดขึ้น
ในเมื่อมีกระแสต่อต้านมันก็นำมาสู่การเก็บ "ภาษีเต้านม" ขึ้น ซึ่งเรียกกันว่า (MulakkaramหรือMula-karamในมาลายาลัม) เป็นภาษีที่เรียกเก็บในวรรณะต่ำและจัณฑาล ผู้หญิงฮินดูโดยราชอาณาจักร "Tranvancore" (Kingdom of Tranvancore) (ในปัจจุบันวันเกรละอยู่ทางตอนใต้ของอินเดีย) หากพวกเขาต้องการที่จะครอบคลุมหน้าอกของพวกเขาในที่สาธารณะ

จน พ.ศ. 2467 ผู้หญิงวรรณะล่างหรือผู้หญิงจัณฑาล ถูกให้จ่ายภาษีให้กับรัฐบาลเกี่ยวกับหน้าอกของพวกเธอหลังจากที่เธอเริ่มมีหน้าอก คนวรรณะต่ำต้องจ่ายภาษีที่คล้ายกันที่เรียกว่า "ทาลา-การัม" บนศีรษะของพวกเขา คนเก็บภาษีจะไปเยี่ยมบ้านทุกหลังเพื่อเก็บ "ภาษีเต้านม" จากผู้หญิงวรรณะต่ำกว่าที่ล่วงเลยเข้าสู่วัยแรกรุ่น

เป็นการเก็บภาษีสำหรับผู้หญิงที่ต้องการปกปิดหน้าอก หากหญิงในวรรณะต่ำคนใดไม่ต้องการเปลือยอกก็ต้องจ่ายภาษีดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นธรรม เนื่องจากหญิงในวรรณะต่ำมีฐานะยากจน และการเก็บภาษีดังกล่าวนั้นก็ไม่ได้คำนวณจากรายได้ หากแต่พิจารณาจากขนาดเต้านมของหญิงผู้นั้นเป็นหลัก แม้แต่เด็กวัยรุ่นที่เพิ่งจะเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ และบางคนก็เพิ่งจะมีเต้านมก็ถูกเรียกภาษีเช่นกันแต่จะเสียภาษีน้อยกว่าเพราะยังมีหน้าอกที่เล็กอยู่

การต่อสู้ของหญิงนามว่า "Nangeli"
แต่มีเพียงผู้หญิงชนชั้นล่างคนหนึ่งเธอชื่อ "Nangeli" อาศัยอยู่ที่เมืองชายฝั่งทะเล Cherthala ที่รัฐ Kerala ใน ค.ศ. 1803 เธอต่อต้านกฎดังกล่าว ด้วยการสวมเสื้อผ้าท่อนบนในที่สาธารณะโดยไม่ขอยอมเปลือยหน้าอกตนเอง แม้จะถูกบังคับให้ทำตามกฎแต่เธอก็ได้ประท้วง ด้วยการใช้มีดเฉือนหน้าอกตัวเองแล้วใส่บนใบแปลน

แล้วมอบเต้านมที่เฉือนนั้นให้เจ้าหน้าที่ที่มาเก็บภาษีไปแทน เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านกฎเกณฑ์ในครั้งนี้ ไม่นานเธอก็ต้องเสียชีวิตลงเนื่องจากเสียเลือดมาก หลังจากการตายของ Nangeli มีการเคลื่อนไหวของผู้คนหลายกลุ่ม ในไม่ช้าสถานที่ที่เธออาศัยอยู่ก็ถูกเรียกว่า "Mulachiparambu" (หมายถึงสถานที่ของผู้หญิงที่มีหน้าอก)

ส่วนสามีของเธอก็ไม่อาจจะทนต่อสภาพจิตใจตนเองที่โศกเศร้าอย่างหนักได้ จึงได้กระโดดลงไปในกองเพลิงระหว่างที่เผาศพภรรยาตนเอง เพื่อเป็นการแสดง "ความรัก" โดยตายตามภรรยาไป และถือเป็นการประท้วงภาษีเต้านมที่ไม่เป็นธรรมนี้ด้วย

หลังจากนั้นก็ส่งผลให้เกิดการประท้วงที่รุนแรงขึ้นแต่การเก็บภาษีก็ยังดำเนินต่อไป จนกระทั้งก็ถูกยกเลิกไปใน ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) ซึ่งกฎหมายเก็บภาษีเต้านมนี้ได้ถูกบังคับใช้มาเป็นเวลานานกว่า 100 ปีเลยทีเดียว

การต่อสู้ของเธอถือเป็นเหมือนแรงขับเคลื่อน ที่ทำให้ผู้หญิงในสังคมอินเดียตระหนักถึงสิทธิ์ในร่างกายของตนเอง เรื่องราวของเธอนั้นถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้าอีกเรื่องนึง ในการเรียกร้องสิทธิ์และไม่ขออยู่ภายใต้การกดขี่ข่มเหงในการเก็บ "ภาษีเต้านม" อย่างไม่เป็นธรรมอีกต่อไปนั้นเอง

เนื้อหาโดย: amity 86
ขอบคุณภาพและเนื้อหา : กูลเกิ้ล, วิกิพีเดียร์
ภาพหน้าปกสวยๆจาก : sadness-gaac322349_1280 (By Prettysleepy1_Pixabay License Free)
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Amity609's profile


โพสท์โดย: Amity609
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: เคซุเอคิ มุอิเคียวกิ, karn23
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
อีกหนึ่งวิธีการนำ ปลาหมอคางดำ มาใช้ประโยชน์ ก็คือการนำมาทำเป็น น้ำหมักชีวภาพ นั่นเอง
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อุทยานพระพิฆเนศร้าง จ.ชลบุรี : ความศรัทธาท่ามกลางซากปรักหักพัง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
คันฝ่ามือบอกอะไร? มีโชคลาภจริงหรือคนมีผมขาวหรือผมหงอกได้เฮ เพราะผลการวิจัยล่าสุด มีความหวังให้ผมกลับมามีสีปกติเหมือนก่อนหน้านั้น ได้อีกครั้งเบาหวานอย่าเบาใจ เสี่ยงหัวใจวาย! อันตรายถึงชีวิตมากกว่าคนทั่วไป 3 เท่าCanva อัปเดต 4 feature ใหม่!
ตั้งกระทู้ใหม่