ครีมกันแดด ป้องกันอะไรให้ผิวเราได้บ้าง
หากพูดถึงอากาศเมืองไทยนั้น...แน่นอนว่าต้องมี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ร้อนมาก และร้อนมากๆๆๆๆ 55555 ความร้อนที่เราต้องเจอในแต่ละวัน มันไม่ได้ส่งผลต่อผิวหนังภายนอกเราอย่างเดียวเท่านั้น มันยังทำให้เราอ่อนเพลียได้ด้วย โดดแดนาน ๆ มันจะรู้สึกเหนื่อยล้า ออกแดดแต่ละทีก็ต้องหาตัวช่วยกันยกใหญ่ ครีมกันแดดก็คือที่พึ่งเดียวของชาวโลก แต่สงสัยมั้ยคะว่าค่า SPF และ PA มันคืออะไร และประจุ +++ ที่ตามหลังมันบอกอะไรเรา วันนี้มีคำตอบค่ะ
หน้าที่หลักของครีมกันแดด อย่างที่ทุกคนทราบก็คือกันแดด (บอกทำไมอีแอด) ป้องกันผิวหนังเราจากรังสี UVA และ UVB ซึ่งรังสี UVA นี่คือนังตัวดีเลยค่ะ เพราะ 95 % ของรังสีที่ผ่านชั้นบรรยากาศโลกมาได้ ก็นังนี่แหละ นางสามารถทะลุผ่านผิวหนังชั้นลึกสุดของเราได้ และนี่คือตัวการของผิวเหี่ยวย่น เธอมันรว๊ายยยย
ส่วนรังสี UVB ที่เหลืออีก 5 % นั้น ก็ใช่ว่ามีน้อยแต่จะอยู่นิ่งนะคะ นางก็มีบทบาทกับผิวเราเหมือนกัน เพราะนางทำให้ ผิวเป็นรอยแดง เป็นผื่น หรือรอยไหม้นั่นเอง
องค์ประกอบภายในครีมกันแดดนั้นมีทั้งสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ โดยชนิดของสารกันแดดจะมี 2 แบบคือแบบสารอินทรีย์ จะดูด UVA ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายเรา และแบบสารอนินทรีย์จุสะท้อนรังสี UVB ออกไป
ส่วนค่า SPF หรือ Sun Protection Factor ก็คือ เวลาที่ผิวทนต่อรังสี UVB ได้ เช่น ครีมกันแดดชนิดหนึ่งมีค่า SPF 30 นั่นหมายความว่า คุณสามารถอยู่กลางแดดได้ประมาณ 30×30 = 900 นาที หรือ 15 ชั่วโมง โดยที่ผิวไม่ไหม้แดง ซึ่งอาจจะคลาดเคลื่อนนิดหน่อย
ซึ่งครีมกันแดดที่ระบุค่า SPF มากกว่า 50 ที่จริงแล้วประสิทธิภาพการปกป้องผิวจากแสงแดด ไม่ได้ต่างจาก SPF 50 สักเท่าไหร่ ใช้ แค่ SPF 50 ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าออกแดดนาน ๆ ให้เราทาซ้ำทุก 2-3 ชั่วโมง จะดีที่สุด
ค่า PA หรือ Protection grade of UVA คือค่าที่แสดงประสิทธิภาการป้องกันรังสี UVA ยิ่งมีประจุมาก ก็จะสามารถปกป้องผิวจากความหมองคล้ำได้ดี
การทาครีมกันแดดก่อนออกแดดเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะถ้าผิวหนังโดนแดดนาน ๆ ดีเอ็นเอของเราสามารถดูดซับรังสีได้ทั้งสองชนิดเลย อาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ และเป็นมะเร็งผิวหนังได้ ซึ่งการใช้ครีมกันแดด ที่มีค่า SPF 15 หรือสูงกว่า จะช่วยป้องกันผิวไหม้และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งผิวหนังได้สูงถึง 50% เลยทีเดียวค่ะ