หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เรียกสัตว์ชนิดนี้ว่าอะไร โคอาลา หรือ หมีโคอาลา

เนื้อหาโดย thecalmgirl

        ต่อให้ไม่ใช่สัตว์ที่มีถิ่นฐานอยู่ในไทย น้องก็โด่งดังไม่ใช่เล่น ๆ กับเจ้าโคอาลา รูปร่างเหมือนตุ๊กตาหมีในอุดมคติของใครหลาย ๆ คน แล้วคุณเรียกน้องว่าโคอาลา หรือ หมีโคอาลากันคะ ถ้าคุณเรียกมันว่าหมีโคอาลา เพราะด้วยความที่มันเหมือนหมี คุณคิดผิดค่ะ เพราะโคอาลาไม่…ใช่….หมี

        โคอาลา เป็นสัตวพื้นเมืองในแถบประเทศออสเตรเลีย และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวก “พอสซัม หรือ โอพอสซัม” คือตัวเมียมีกระเป๋าหน้าท้อง ให้ลูกอ่อนอาศัยอยู่ เหมือนจิงโจ้เลยค่ะ น้องมักจะถูกคนเข้าใจผิดมาตลอดว่าเป็นหมี เพราะหน้าตาแอบคล้ายหมี จึงทำให้หลายคนเรียกน้องว่า หมีโคอาล่า ซึ่งจริง ๆ แล้วน้องมาบอกเเอดว่า กูไม่ความสนิทชิดเชื้อกับหมีแต่อย่างใด 55555

        ในปี ค.ศ. 1798 ได้มีการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ให้น้องเป็นครั้งแรก โดย อองรี-มารีย์ ดูโครเตย์ เดอ แบลงวิลล์ ซึ่งเป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวฝรั่งเศส เค้าได้นิยามชื่อซึ่งมาจากภาษากรีก 2 คำ รวมกันไว้ว่า Phascolarctos  โดยคำว่า phaskolos แปลว่า "ถุง" หรือ "กระเป๋าหน้าท้อง" และ arktos แปลว่า "หมี" การตั้งชื่อก็ดูตามลักษณะภายนอกของโคอาลาที่คล้ายหมี เเละนี่ยิ่งทำให้คนเข้าใจผิดไปกันใหญ่ว่าน้องคือหมี (ฮาโรย อองรี)

        ต่อมายอร์จ ออกัส โกลด์ฟัสส์ นักธรรมชาติวิทยาชาวเยอรมัน ก็ได้ตั้งชื่อน้องใหม่ว่า cinereus ซึ่งเเปลว่า "สีขี้เถ้า" เจาะจงลักษณะของสีขนไปเลย เเต่จริง ๆ เเล้ว น้องก็มีสีอื่นเเกมด้วย เช่น ขาว น้ำตาล เหลือง 

        เเละคำว่า “โคอาลา” มาจากภาษาอะบอริจินส์ (ภาษาของชนเผ่าพื้นเมืองในออสเตรเลีย) แปลว่า "ไม่กินน้ำ" มาจากพฤติกรรมของน้องที่จะไม่ค่อยชอบดื่มน้ำ (เหมือนเเอดเลย เเอดก็ไม่ชอบกินน้ำ เรียกเเอดว่าน้องท้องผูกบ่อยก็ได้ 5555 ) เพราะส่วนใหญ่ น้องจะได้รับน้ำจากการกินใบยูคาลิปตัสในปริมาณที่เพียงพอยู่แล้ว

        โดยปกติใบยูคาลิปตัสเเทบจะไม่มีคุณค่าทางอาหาร เเละมีสารพิษด้วย เเต่ระบบย่อยของโคอาลาคือที่สุดของการปรับตัว ร่างกายน้องสามารถย่อยเเละทำลายสารพิษในใบยูคาลิปตัสได้อย่างสบาย ๆ เพราะในร่างกายมีเเบคทีเรียที่ช่วยย่อยไฟเบอร์จากพืชได้ (น้องมองใบยูคาพร้อมยิ้มมุมปาก พร้อมคิดในใจว่า เหอะ!! เด็กว่ะ 55555)

 

        เเต่ด้วยความที่ใบยูคาลิปตัสมันค่อยข้างเหนียว น้องจึงต้องเคี้ยวนานหน่อย กว่าจะได้กลืนในเเต่ละครั้ง อาจจะมากสุดถึง 16000 ครั้ง เลยทำให้โคอาลาที่อายุเยอะมักมีปัญหาฟันสึก (น้องต้องหาหมอฟันนะ)

        สำหรับคนที่รู้ตั้งนานเเล้วว่านี่ไม่ใช่หมี เเละมีอะไรอยากเสริมอยากเพิ่ม คอมเม้นต์ได้เลยนะคะ การเเชร์ความรู้กันเเบบปัญญาชน เเอดชอบ เเละสำหรับคนที่ยังไม่รู้มาก่อนเเละเพิ่งรู้วันนี้ เเอดหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับคุณไม่มากก็น้อยค่ะ 

 

 

เนื้อหาโดย: thecalmgirl
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
thecalmgirl's profile


โพสท์โดย: thecalmgirl
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (5/5 จาก 4 คน)
VOTED: Unlucky, love789, มยุริญ ผดผื่นคัน, thecalmgirl
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
อุทยานพระพิฆเนศร้าง จ.ชลบุรี : ความศรัทธาท่ามกลางซากปรักหักพัง
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
9 เหตุผลที่คุณไม่ควรชาร์จโทรศัพท์จนเต็ม 100% อีกต่อไป4 อาหารที่แสนธรรมดา แต่อาจอันตรายถึงตายได้ หากคุณเก็บพวกมันไว้ในตู้เย็นคันฝ่ามือบอกอะไร? มีโชคลาภจริงหรือคนมีผมขาวหรือผมหงอกได้เฮ เพราะผลการวิจัยล่าสุด มีความหวังให้ผมกลับมามีสีปกติเหมือนก่อนหน้านั้น ได้อีกครั้ง
ตั้งกระทู้ใหม่