หลั่งเลือดที่ยูเครน!!! ประวัติศาสตร์ความแค้นระหว่างรัสเซียและยูเครน
ท่ามกลางแสงสว่าง ณ ปลายอุโมงค์เมื่อประชาคมโลกทยอยปรับตัวอยู่ร่วมกับ COVID เรื่องราวสุดระลึกที่สั่นครอนโลกเรื่องใหม่ก็กลับมาอีกครั้ง เมื่อรัสเซียเปิดฉากโจมตีทั้งทางบท ทางน้ำ และทางอากาศเพื่อรุกรานยูเครน มีผู้คนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เศรษฐกิจพังทลายไปทุกพื้นที่ วันนี้เรามารื้อฟื้นประวัติความแค้นที่มีมาตั้งแต่อดีตของ 2 ประเทศพี่น้องนี้กันครับ
พี่น้องในวันนั้นคือคู่แค้นในวันนี้
สหภาพโซเวียต (Union of Soviet Socialist Republics: USSR) เป็นอดีตรัฐสังคมนิยมที่เคยเกรียงไกร มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลครอบคลุมทั้งทวีปยุโรปด้านตะวันออกจรดเอเชีย ภายใต้อาณาบริเวณอันยิ่งใหญ่มีการแบ่งออกเป็นเขตการปกครองน้อยใหญ่ 15 เขต โดยยึดหลัก “บ้านดีมีสุข ทุกคนเท่าเทียม” ซึ่งรัฐที่ยิ่งใหญ่และมีอำนาจมากที่สุดในขณะนั้นคือรัสเซียนั่นเอง ในช่วงวาระสุดท้ายของสหภาพโซเวียต เขตการปกครองต่างๆ พยายามแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต และในวันที่ 25 ธันวาคม 1991 สหภาพโซเวียตก็สลายกลายเป็นประเทศเอกราชต่างๆ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือพี่ใหญ่รัสเซีย และยูเครนในที่สุด
ในระหว่างที่สหภาพโซเวียตกำลังเผยแพร่อิทธิพลทางการเมืองไปทางยุโรปตะวันตก ฝั่งศัตรูคู่ฟ้าอย่างอเมริกาไม่สามารถนิ่งนอนใจได้ พญาอินทรีย์และมหาพันธมิตรทางฝั่งยุโรปตะวันตกจึงได้ลงนามในสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO) ส่งผลให้เกิดเป็นกองกำลังป้องกันตนเองเพื่อถ่วงดุลอำนาจกับสหภาพโซเวียตขึ้นมา แม้ว่าสหภาพโซเวียตจะล่มสลายไปแล้ว แต่ NATO ก็ยังคงดำเนินการอยู่แต่มีการปรับเปลี่ยนนโยบายให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลก เช่น เพิ่มบทบาทการร่วมมือในโครงการวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ไปจนถึงสนับสนุนการพัฒนาร่วมกับประเทศนอก NATO
ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต หลายประเทศเกิดใหม่อย่างลัตเวียและลิทัวเนียก็เลือกที่จะหันหลังให้กับพี่ใหญ่รัสเซียและเลือกเข้ากับกลุ่ม NATO การกระทำดังกล่าวสร้างความขุ่นข้องหมองใจต่อรัสเซียเป็นอย่างมากแต่ทำอะไรไม่ได้มากเนื่องจากมีอเมริกาและยุโรปตะวันตกหนุนหลัง ทางฝั่งของยูเครนซึ่งมีประชาชนเชื้อสายรัสเซียและพูดภาษารัสเซียจำนวนมากยังคงวางตัวเป็นกลางแต่เลือกข้างตามนโยบายของผู้นำในแต่ละยุค
สันติไม่ใช่ทางออกสำหรับความแค้น
ท่ามกลางความกระท่อนกระแท่นของความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียและยูเครน ความกังวลของรัสเซียเรื่องการแพร่ขยายอิทธิพลไปทางตะวันออกของ NATO ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เสมือนหนึ่งมีปืนมาประชิดประตูบ้าน สิ่งที่รัสเซียทำได้คือการขนายอิทธิพลกลับไปทางชายแดนตะวันตกแทนโดยเป้าหมายของหมีขาวคือคาบสมุทรไครเมีย (Crimean Peninsula) ซึ่งเป็นดินแดนทางตอนใต้ที่ยูเครนได้รับมาตอนที่สหภาพโซเวียตล่มสลาย
ต้นปี 2014 คาบสมุทรไครเมียก็ลุกเป็นไฟอีกครั้งเมื่อชาวยูเครนเดินขบวนขับไล่ประธานาธิบดี Viktor Yanukovych ซึ่งเป็นผู้นำที่เข้าข้างรัสเซีย ทางรัสเซียได้ตอบโต้โดยการส่งกองกำลังติดอาวุธเข้ายึดครองพื้นที่ไครเมียในเดือนกุมภาพันธ์ ทางรัสเซียได้จัดให้มีการทำประชามติเพื่อให้ชาวไครเมียได้เลือกที่จะแบ่งแยกออกจากยูเครนเพื่อรวมกับประเทศรัสเซีย ผลการลงคะแนนอย่างเป็นทางการระบุว่าประชาชนชาวไครเมียสนับสนุนการแยกตัวออกเป็นอิสระเพื่อเข้าร่วมกับแดนหมีขาว ท่ามกลางข้อพิพาทต่างๆ มากมายรัสเซียได้ควบรวมคาบสมุทรไครเมียเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ หากแต่ประชาคมโลกไม่ได้ยอมรับผลการลงคะแนนดังกล่าวและยังถือว่าไครเมียเป็นดินแดนของยูเครน
เพื่อรักษาสันติภาพและคานอำนาจกับรัสเซีย ประธานาธิบดี Volodymr Zelensky ผู้นำคนปัจจุบันของรัสเซียก็หันไปพึ่งพา NATO มากขึ้นรวมทั้งพยายามที่จะสมัครเข้าไปเป็นสมาชิกของ NATO ให้ได้ เพราะมีข้อบังคับที่ระบุว่าหากประเทศสมาชิกถูกรุกราน ประเทศสมาชิกอื่นจะส่งกำลังทหารเข้าช่วยเหลือ การที่อดีตน้องเล็กของรัสเซียมีท่าทีจะนำกระบอกปืนเข้าประชิดคอหอยของรัสเซียแบบนี้ สร้างความกังวลให้กับประธานาธิบดีปูตินเป็นอย่างมาก เมื่อสันติไม่ใช่ทางออกสำหรับเรื่องนี้ ทางรัสเซียได้ให้การสนับสนุนกลุ่มแบ่งแยกดินแดนในเขต Luhansk และ Donetsk เพื่อต่อกรกับรัฐบาลยูเครนตลอดเวลาที่ผ่านมา
สงครามปะทุ หลั่งเลือดที่ยูเครน
ในช่วงต้นปี 2022 มีการรายงานจากสนักข่าวหลายประเทศว่ารัสเซียได้ส่งทหารจำนวนมากมาประชิดที่ชายแดนทางตะวันออกของยูเครน ในเบื้องต้นทางปูตินแจ้งว่าเป็นการเคลื่อนพลและซ้อมรบธรรมดา แต่ทางอเมริกาก็ได้สอดส่องจับตา และแจ้งเตือนถึงปูตินไม่ให้มีการรุกรานยูเครนโดยเด็ดขาด
เพื่อให้ยูเครนสามารถเอาตัวรอดจากสงครามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ นานาประเทศได้ส่งอาวุธยุโทปกรณ์เข้าไปสนับสนุนยูเครนโดยไม่ขาดสาย นอกจากการทหารแล้วผู้นำเยอรมันและฝรั่งเศสได้เดินทางเข้าพบปูตินเพื่อให้ลดท่าทีที่แข็งกร้าวที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะที่คุณ Zelensky ได้เรียกร้องให้ปูตินยุติการคุกคาม และเปิดโต๊ะเจรจาเพื่อให้สถานการณ์จบลง
สถาณการณ์กลับเลวร้ายลงเรื่อยๆ เมื่อปูตินให้การรับรอง Donetsk และ Luhansk เป็นรัฐปกครองตนเอง ทางกลุ่มแบ่งแยกดินแดนได้ตอบรับคำเชื้อเชิญฉันพี่น้อง โดยอพยพผู้คนเข้าไปในเขตแดนของรัสเซียอย่างต่อเนื่อง และวันหนึ่งปูตินได้ประกาศให้ชาวรัสเซียทราบว่า “ประเทศรัสเซียไม่สามารถคงอยู่ ปลอดภัย และพัฒนาได้อีกต่อไป หากมีการคุกคามจากยูเครน” และหลังจากนั้นไม่นาน รัสเซียก็กรีฑาทัพเข้ารุกรานยูเครนด้วยทหารกว่า 200,000 นาย และรถถัง เครื่องบินรบ และเฮลิคอบเตอร์นับไม่ถ้วน
ทำไมปูตินจึงบุกยูเครน
แม้การรุกรานยูเครนจะไม่สมเหตุสมผล และส่งผลกระทบมากมายทั้งชีวิตและเศรษฐกิจ แต่นักวิเคราะห์มองว่าปูตินไม่ได้มองยูเครนเป็นประเทศตั้งแต่ต้นแล้วและการที่ยูเครนมีใจเอนเอียงไปหา NATO ทำให้พี่ใหญ่รัสเซียรู้สึกแค้นมาก และปูตินพร้อมจะทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้ยูเครนกลายเป็นส่วนหนึ่งของ NATO โดยเด็ดขาด
ปูตินได้ให้เหตุผลว่ายูเครนถูกสร้างขึ้นโดยสหภาพโซเวียต เป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียอันแบ่งแยกมิได้ ยูเครนที่แตกตัวมาจากสหภาพโซเวียตกำลังเป็นหุ่นเชิดของชาติตะวันตกเท่านั้น ไม่ได้มีอะไรเป็นอื่น และ NATO จะไม่มีโอกาสแพร่ขยายเข้ามาแม้แต่เพียงนิ้วเดียว
จนถึงจุดนี้เราคงต้องช่วยกันเรียกร้องให้รัสเซียถอนทหารออกจากยูเครนให้เร็วที่สุดครับ สงครามไม่เคยสร้างอะไรให้ใคร การหลั่งเลือดโดยไม่จำเป็นไม่ได้พัฒนาสิ่งใด สันติภาพที่ยั่งยืนคือสิ่งที่ทุกคนแสวงหาครับ
https://edition.cnn.com/europe/live-news/ukraine-russia-news-02-25-22/index.html
https://www.bbc.com/news/world-europe-56720589
https://en.wikipedia.org/wiki/Crimea
https://en.wikipedia.org/wiki/NATO
https://en.wikipedia.org/wiki/Soviet_Union