สงครามเปลี่ยนชีวิต!!! ชีวิตรูปแบบใหม่ของชาวรัสเซียหลังจากโดนคว่ำบาตร
ประชาชนชาวยูเครนที่เป็นศูนย์กลางของสมรภูมิได้รับผลกระทบจากภัยสงครามอย่างร้ายแรง แต่เชื่อหรือไม่ชาวรัสเซียที่อยู่ในแนวหลังก็ได้รับผลกระทบจากสงครามที่ปูตินเริ่มอย่างรุนแรงเช่นกัน ชีวิตที่เปลี่ยนไปหลังจากนานาชาติประกาศคว่ำบาตรรัสเซียจะเป็นอย่างไร เรามาดูกันครับ
ประวัติศาสตร์การคว่ำบาตร
การคว่ำบาตรที่เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1880 เมื่อกับตัน Charles C. Boycott เจ้าของที่ดินรายใหญ่จากประเทศไอแลนด์ได้ขับไล่ผู้เช่าที่ดินออกจากที่ดินทำกินอย่างไรน้ำใจเพราะไม่สามารถหาเงินมาจ่ายค่าเช่าที่ในยามเศรษฐกิจฝืดเคืองได้ เหล่าประชาชนจึงได้ประท้วงอย่างสันติโดยการไม่ร่วมคบค้าสมาคมด้วยกับคนในตระกูล Boycott ทั้งหมด ส่งผลให้กับตัน Charles ไม่สามารถจัดหาน้ำปลาอาหาร ตลอดจนเข้าถึงการจ้างงานชาวเมืองเพื่อทำกิจกรรมใดๆ ก็ตาม ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นที่ฮือฮาข้ามทวีปไปจนถึงอเมริกา และคำว่า Boycott จึงเป็นคำที่ใช้อย่างกว้างขวางในที่สุด
ในทางกลับกันสิ่งที่ทางรัสเซียกำลังโดนเรียกว่าการ Sanction คือการบังคับใช้ทางกฎหมายเพื่อลงโทษรัสเซียที่ไปรุกรานยูเครน แต่เดิมรัสเซียเองก็โดนนานาชาตินำโดยอเมริกาตั้งแต่ปี 2004 เนื่องจากเข้าไปควบคุมพื้นที่ไครเมียทางตอนใต้ของยูเครน แต่ที่ผ่านมาก็ยังพอมีลู่ทางทำการค้ากับประเทศในยุโรปโดยเฉพาะพลังงานและอาหาร อีกทั้งบริษัทต่างๆ เช่น Apple Microsoft Starbuck ยังเข้าไปทำธุรกิจได้อย่างกว้างขวาง แต่ครั้งนี้ไม่เหมือนกัน
การคว่ำบาตรที่เปลี่ยนชีวิตในข้ามคืน
ในช่วงแรกของบทลงโทษทางรัสเซียอาจไม่กระทบมากนัก เพราะประเทศรัสเซียมีประชากรมาก นั่นหมายความว่ามีกำลังบริโภคภายในประเทศ (Domestic Consumption) มากไปด้วย เช่นเดียวกันกับประเทศจีนและอินเดีย อย่างไรก็ตามผลของบทลงโทษเริ่มจะแสดงออกมามากขึ้นเรื่อยๆ โดยเริ่มจากราคาสินค้าพื้นฐานสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ในขณะที่บริษัทข้ามชาติเริ่มทยอยถอนสาขาออกจากรัสเซียส่งผลให้เกิดการว่างงานจำนวนมาก
- ราคาอาหารพื้นฐานแพงขึ้นอย่างมีนัยยะ: ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคถีบตัวสูงขึ้นโดยมีสาเหตุมาจากการโดนคว่ำบาตรทำให้การนำเข้าอาหารและข้าวของเครื่องใช้ลดลง ผลที่ตามมาคือความหวาดวิตกของชาวรัสเซียที่จะพยายามกักตุนสินค้าเพื่อตนเองและครอบครัวทำให้สินค้ายิ่งขาดแคลน แม้เวชภัณฑ์และยารักษาโรคไม่ได้ถูกจำกัดการนำเข้า แต่ความกังวลเรื่องความขาดแคลนทำให้คนรัสเซียเลือกที่จะหาซื้อมาเก็บไว้จนร้านค้าต้องกำหนดจำนวนการขายในที่สุด น้ำตาล และอาหารเช้าสำเร็จรูปมีราคาสูงขึ้นถึง 20% เมือเทียบกัลป์เดือนกุมภาพันธ์ 2021 ในขณะที่กลุ่มผู้ค้าในรัสเซียพยายามจะช่วยเหลือประชาชนโดยกำหนดให้การขึ้นราคาไม่เกิน 5% และพยายามตั้งข้อกำหนดอื่นๆ เพื่อกระจายสินค้าให้ทั่วถึง
- สินค้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศที่กำลังหมดไป: ในช่วงเริ่มต้นของสงคราม หลายๆ บริษัทเริ่มปิดให้บริการต่างๆ ในรัสเซีย เช่น Apple เองก็เริ่มยกเลิกการใช้ Appstore แต่ในท้ายที่สุดเมื่อมีการยกระดับการลงโทษผนวกกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นในยูเครนทำให้เหล่าบริษัทต่างๆ ต้องยกระดับตามไปด้วย โดยหลายบริษัทเริ่มที่จะปิดสาขาและออกจากประเทศรัสเซียทันที ผลที่ตามมาคือราคาของ smartphone และโทรศัพท์มือถือแพงขึ้นเป็นอย่างมากเพราะสินค้าคงคลังกำลังลดลงเรื่อยๆ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือราคาคอมพิวเตอร์ที่สูงขึ้นถึงเกือบ 50% จากราคาเดิม 70,000 รูเบิลกลับกลายเป็นมากกว่า 100,000 รูเบิล และเพิ่มเป็น 140,000 ก่อนที่จะหมดคลังในเมืองมอสโค ราคาของรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ก็พุ่งขึ้นเช่นกัน
- การเงินการธนาคารที่มีปัญหา นอกจากประเทศรัสเซียจะถูกดึงออกจากระบบ Swift ที่เป็นการทำธุรกรรมการเงินข้ามประเทศ ตัว VISA และ Mastercard ไปจนถึง American Express ก็จำกัดการให้บริการต่างๆ ระบบการเงินที่โดนจำกัดและค่อยๆ หายไปทำให้เกิดผลลัพท์ทางลบเป็นอย่างมากกับทางบริษัทที่อยู่ในรัสเซีย เพราะหมายถึงเป็นการตัดช่องทางในรับเงิน แม้ทางระบบการโอนเงินที่จีนและรัสเซียพัฒนาและใช้ร่วมกันอย่าง Cross-border Interbank Payment System (CIPS) อาจไม่ได้รับผลกระทบ แต่จำนวนผู้ให้บริการที่เข้าร่วมระบบดังกล่าวยังมีไม่เยอะมากพอที่จะทดแทน Swift อีกช่องทางที่สำคัญคือการใช้ Block chain และรับบการเงิน online เข้ามาช่วย แต่ก็มีบริษัทที่ร่วมการชำระเงินผ่านทางวิธีดังกล่าว
- การว่างงานที่กำลังคืบคลานเข้ามา: เมื่อไม่มีรายได้ ธุรกิจก็ต้องหาทางลดค่าใช้จ่าย เมื่อไม่มีลูกค้า การลดจำนวนพนักงานจึงเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นเมื่อระบบต่างๆ ถูกปิดตัวหรือจำกัดการใช้งานรวมไปถึงการถอนตัวออกจากรัสเซีย ทำให้ปัญหาการว่างงานกำลังจะตามมา ตัวอย่างที่ชัดเจนมากๆ คือ McDonald ที่กำลังจะปิดสาขาถึง 847 แห่งด้วยกัน แม้ McDonald จะทำการมานานตั้งแต่สมัยสหภาพโซเวียต แต่ครั้งนี้พวกเขาอาจจะต้องจากรัสเซียไป ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือจำนวนพนักงานของ McDonald ก็จะกลายเป็นคนตกงานในท้ายที่สุด
ในภาพรวมถึงแม้ว่าปัญหาต่างๆ อาจไม่ได้แสดงผล ณ ตอนนี้ แต่ท้ายที่สุดความหวาดวิตกจะเริ่มขึ้น และส่งผลให้เกิดวงจรในเชิงลบ (Vicious Cycle) ซึ่งมาตรการต่างๆ ที่ทางภาครัฐและภาคเอกชนหากไม่สำเร็จผลจะก่อให้เกิดความหวาดวิตกและบ่อนทำลายเศรษฐกิจในที่สุดครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Boycott
https://www.foxbusiness.com/politics/russian-agents-threaten-google-apple-representatives
https://en.wikipedia.org/wiki/Cross-Border_Interbank_Payment_System
https://www.bbc.com/news/world-europe-60647543
https://www.theguardian.com/world/2022/mar/12/mcdonalds-russia-departure-more-than-burgers-west-putin