เราใช้กาวตราช้างกันมาตั้งแต่เมื่อไหร่?
ถ้าพูดถึงกาวที่ติดหนึบ ติดทน ติดแล้วติดเลย ติดทุกวัสดุยันมือ 5555 หลายคนจะนึกถึงกาวร้อนอย่างกาวตราช้างใช้มั้ยคะ ซึ่งจริง ๆ แล้วมันมีหลายยี่ห้อแหละ แต่เราคุ้นกาวตราช้างที่สุด แล้วเราใช้กาวร้อนหรือ super glue กันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และทำไมกาวร้อนมันถึงติดพื้นผิวได้แน่นมาก วันนี้มีคำตอบค่ะ
คนไทยสมัยโบราณมักจะใช้ยางไม้ มาทำเป็นกาว ซึ่งมีความเหนียวและติดทนระดับนึง ชาวกรีกโบราณจะคิดค้นสูตรกาวใช้เอง โดยทำจากไข่ขาว นม ชีส และธัญพืชผสมกัน ส่วนชาวโรมันสมัยโบราณ จะใช้ขี้ผึ้งและน้ำมันทาร์เป็นกาว
จนกระทั่งปี 1750 สหราชอาณาจักรได้ผลิตกาวออกมาเฉิดฉายครั้งแรก และจดสิทธิบัตรในปีเดียวกัน โดยกาวนี้ทำจากยางธรรมชาติและกระดูกปลา และโปรตีนเคซีน ซึ่งเป็นโปรตีนจากนม
ในปี 1942 ดร. Harry Coover นักวิจัยบริษัทผลิตฟิล์ม Kodak ได้ค้นพบสารไซยาโนอะคริเลต มีคุณสมบัติติดแน่นเหนียว ติดทนมาก แต่และเสนอใช้บริษัทใช้สารตัวนี้ แต่ทางบริษัทปฎิเสธไปเพราะมันติดแน่นเกินไป
จนในปี 1951 ดร. Harry Coover ได้ย้ายไปทำงานกับบริษัทเคมีในสหรัฐอเมริกา The Eastman Company และได้ร่วมมือกับ Dr. Fred Joyner ทำวิจัยเกี่ยวกับสารไซยาโนอะคริเลตอีกครั้ง และผลิตเป็นกาวร้อนออกมาจนเรียกชื่อ ซูปเปอร์กลู (Super Glue)
สำหรับธุรกิจผลิตกาวร้อนประเทศไทย กาวตราช้าง เริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2526 ก่อตั้งโดยบริษัท พี.เกรท มาร์เก็ตติ้ง จำกัด โดยช่วงแรกได้นำเข้าเครื่องบรรจุกาวอัตโนมัติเข้ามาใช้ สินค้าตัวแรกที่ขายดีมากคือ กาวตราช้าง เคนจิ แต่เราเรียกสั้น ๆ แค่ กาวตราช้าง
กาวตราช้างเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในไทย ในแต่ละปีสามารถสร้างกำไรได้เยอะเลยทีเดียว นอกจากนี้บริษัท พี.เกรท มาร์เก็ตติ้ง ยังมีผลิตภัฑณ์กาวอื่น ๆ ขายอีกด้วย เช่น กาวร้อนไดโก้ เทปกาว
กาวร้อนถือเป็นไอเทมหนึ่งที่ควรมีติดบ้านไว้จริง ๆ เพราะมันสามารถซ่อมของใช้ที่ขาดหรือพังเล็ก ๆ น้อย ๆ แบบรวดเร็วทันใจ ไม่แบบต้องถึงมือช่างก็ได้ อย่างเช่นส้นรองเท้าที่มันอ้าปากแง้ม ๆ ก็โปะกาวร้อนลงไปสักนิด ก็สามารถกลับมาใช้ได้เหมือนเดิมแล้ว สำหรับใครที่เผลอทำกาวร้อนติดมือ ทริคง่าย ๆคือให้เราใช้น้ำยาล้างเล็บ หรืออะซิโตนเช็ดออกได้