หูฟังหมอเกิดขึ้นได้ยังไง และมีหลักการทำงานอย่างไร
เรามักจะเห็นชุดยูนิฟอร์มแบบเต็มรูปแบบของคุณหมอทั้งในละครและชีวิตจริงกันจนชินตา จะเห็นว่าหูฟังหมอ ถือเป็นอาวุธคู่ใจและติดคอคุณหมอทั้งหลายอยู่ตลอด ตอนเด็ก ๆ ก็พอจะรู้ว่ามันเอาไว้ฟังเสียงหัวใจ ฟังเสียงเครื่องในล่ะมั้ง 55555 แต่มันมีหลักการทำงานยังไง วันนี้มีคำตอบ
หูฟังหมอ หรือ สเต็ทโตสโคป (Stethoscope) เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่คุณหมอต้องใช้ตลอด เกิดขึ้นในปี 1816 โดยคุณหมอเรเน เลนเนค (Dr.Rene Laennec) เขาต้องตรวจคนไข้ประจำซึ่งผู้หญิงสวยที่เป็นโรคหัวใจคนนึง ทุกครั้งก็จะต้องเอาหน้าแนบอกหญิงสาวเพื่อฟังเสียงหัวใจ เขารู้สึกอายและกระอักกระอ่วนทุกครั้ง ไม่ค่อยจะกล้า หมอเขินแหละ อายก็อายคนไข้ก็ต้องตรวจ ทำไงล่ะทีนี้ 555555
ด้วยเหตุนี้คุณหมอก็เลยเอากระดาษมาม้วนเป็นท่อยาว และเอาไปทาบที่อกหญิงสาวแทน และฟังเสียงผ่านท่อกระดาษนั้นแทน ปรากฎว่าเสียงที่ได้ยินชัดเจนกว่ากานเอาหูทาบอกโดยตรงซะอีก หลังจากค้นพบทางสว่าง คุณหมอก็ได้เริ่มประดิษฐ์หูฟังหมอขึ้นมาใช้ โดยครั้งแรกทำจากไม้ และพัฒนามาเรื่อย ๆ ใช้กันจนถึงปัจจุบัน
โดยหูฟังหมอจะมี 3 องค์ประกอบหลักคือ ตัวหูฟังหรือเอียร์ปลั๊ก ตัวสายรูปตัว Y และแป้นทาบฟังหรือแผ่นรับเสียงหรือแรงสั่นจากอวัยวะภายใน เวลาเราไปโรงพยาบาล ตอนตรวจร่างกาย คุณหมอจะเอาเจ้าตัวนี้มาทาบ ๆ ที่บริเวณหน้าอกของเรา และฟังเสียงหัวใจ เสียงปอด และลำไส้ เพื่อประเมินอาการเบื้องต้น โดยตัวหูฟังมีหลักการทำงานมี 3 ขั้นตอนคือ การรับแรงสั่นจากอวัยวะ การส่งต่อเสียงไปยังท่อนำเสียง และส่งเสียงเข้าสู่หูผู้ฟัง
ตัวเเป้นทาบฟังจะมีแผ่นรับเสียงหรือแรงสั่นจากอวัยวะภายในของคนไข้ ตัวหูฟังจะมี 2 ด้านซึ่งใช้ต่างวัตถุประสงค์กัน คือด้าน Bell เป็นด้านที่มีขนาดเล็ก จะใช้ฟังเสียงที่มีความถี่ต่ำๆ และด้านไดอะแฟรม จะด้านที่มีขนาดใหญ่กว่าใช้ฟังที่มีความถี่สูง เช่น เสียงการเคลื่อนไหวของลำใส้ เสียงลมหายใจ
แรงสั่นจากหัวใจเราจะส่งไปตามท่อนำเสียงรูปตัว Y ซึ่งมีความยืดหยุ่นและทนทาน เพราะทำมาจากยางลาเท็กซ์หรือโพลีไวนิลคลอไรด์ จากนั้นส่งเสียงหรือแรงสั่นไปที่หูฟัง เข้าสู่หูของคุณหมอ ซึ่งการฟังเสียงโดยทาบไดอะแฟรมแนบกับเนื้อโดยตรง เป็นวิธีที่ถูกต้องและแม่นยำ เสียงจะชัดกว่าทาบผ่านเสื้อผ้า