"ชะอม" มีประโยชน์มากที่น่ารู้ มีสรรพคุณที่น่ารับประทาน มีข้อระวังในการกิน ?
ชะอม เป็นไม้พุ่มขนาดย่อม ภาคเหนือเรียกว่า ผักหละ ภาคใต้เรียก อม ภาคอีสานเรียก ผักขา มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ลำต้นและกิ่งก้านจะมีหนามแหลม ใบอ่อนจะมีกลิ่นฉุน ปลูกโดยวิธีปักชำ เพาะเมล็ด หรือตอนกิ่ง แต่การปลูกโดยวิธีเพาะเมล็ดจะนิยมกว่า เพราะจะได้ต้นที่แข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และดินฟ้าอากาศ
ประโยชน์ของชะอม
ชะอม สามารถนำมาทำเป็นเมนูอาหารได้หลากหลายเมนู เช่น ไข่ชะอม ไข่ทอดชะอม แกงส้มชะอมกุ้ง แกงส้มชะอมไข่ หรือนำมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกก็อร่อยมากทีเดียว ยอดชะอม 100 กรัม มีคุณค่าทางโภชนาการ ให้พลังงานถึง 57 กิโลแคลอรี, เส้นใยอาหาร 5.7 กรัม, ธาตุแคลเซียม 58 มิลลิกรัม, ธาตุฟอสฟอรัส 80 มัลลิกรัม ตลอดทั้งให้วิตามินเอ วิตามินบี 1-2-3 และวิตามินซีอีกหลายมิลลิกรัม เรียกได้ว่า ชะอม มีคุณค่าทางหารสูง ที่ควรรับประทาน
สรรพคุณทางยาของชะอม
1.ยอดชะอมช่วยลดความร้อนในร่างกายได้ จึงเหมาะกับอุณหภูมิร้อน ๆ ในประเทศไทย
2.มีสารช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระสูง ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็ง
3.ช่วยบำรุงสายตา เนื่องจากชะอมมีวิตามินเอสูง
4.ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับถ่าย เนื่องจากชะอมมีกากใยอาหารที่มีประโยชน์ระบบขับถ่าย แก้อาการท้องผูก
5.ช่วยบำรุง และรักษาเส้นเอ็นให้แข็งแรง ไม่เสื่อมเร็วกว่าที่ควร
6.ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เนื่องจากชะอมมีแคลเซียมสูง ซึ่งมีความสำคัญต่อกระดูกและฟัน โดยเฉพาะผู้หญิงวัยทอง ที่มีความเสี่ยงจะเกิดภาวะกระดูกพรุนได้ง่าย
7.ลดโอกาสที่จะเกิดโรคหัวใจได้ เนื่องจากในชะอมมีสารสำคัญที่ชื่อว่า เบต้าแคโรทีน
8.ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ผ่องใน แลดูอ่อนเยาว์ ป้องกันความแก่ก่อนวัย เนื่องจากมี สารเบต้าแคโรทีน นั่นเอง
ข้อระวังในการรับประทานชะอม
1.คุณแม่ที่เพิ่งคลอดลูกอ่อน ๆ ไม่ควรรับประทานผักชะอม เพราะจะทำให้น้ำนมแห้งได้ และแม่ลูกอ่อน มักจะแพ้กลิ่นของผักชะอมอย่างมาก ควรอยู่ห่าง ๆ ผักชะอม
2.ผู้ป่วยโรคเกาต์ ควรรับประทาบชะอมในปริมาณที่จำกัด หรือหากเป็นโรคเกาต์มาก ก็ไม่ควรรับประทาน เพราะ กรดยูริก เป็นตัวการทำให้เกิดข้ออักเสบในผู้ป่วยโรคเกาต์ เกิดมาจาก สารฟิวรีน ซึ่งสารชนิดนี้ มีในชะอมระดับปานกลางถึงระดับสูง
3.ในหน้าฝน อาจทำให้ชะอมมีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นฉุนกว่าปกติ ควรงดรับประทาน หรือรับประทานแต่น้อย เพราะมิฉะนั้นอาจทำให้เกิดอาการปวดท้องได้
4.ชะอมเป็นพืชที่พบการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคท้องร่วง ท้องเสีย คือชาลโมเนลลา จึงควรล้างชะอมให้สะอาด แล้วจึงนำไปปรุงให้สุกอย่างทั่วถึงก่อนรับประทาน