รู้มั้ยสมัยก่อนคำว่า "จวัก" แปลว่าอะไร?
เเน่นอนว่าหลายคนรู้จักจวัก เเละใช้กันในชีวิตประจำวันอยู่เเล้วเเหละ โดยเฉพาะคนที่เข้าครัวทำกับข้าวทุกวัน ก็เห็นเเละผ่านมือมาเเทบจะทุกวัน เเต่คุณรู้มั้ยว่า คำว่าจวักสมัยก่อนเเปลว่าอะไร เเละใช้กันยังไง วันนี้มีคำตอบค่ะ
จวัก หรือ ตวัก ก็คืออุปกรณ์ตักข้าวตักเเกงตามที่เราเข้าใจนั่นเเหละค่ะ อาจจะทำจากไม้ หรือกะลามะพร้าว หรือสมัยนี้ก็เป็นพลาสติก ไม่ก็โลหะเช่นสเเตนเลส ทองเหลือง ไม่ก็อะลูมิเนียม เเละถ้าย้อนไปสมัยอยุธยา จวักคือคำด่าที่ค่อนข้างเเรงมากเลยทีเดียว
เพราะถ้าด่าใครว่าจวักสมัยนั้น คนที่ถูกด่าจะรู้สึกด้อยค่า รู้สึกไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรีเลย ถ้าเราฟังอาจจะฟังรู้สึกว่า มันเเรงตรงไหนนิ เเต่สมัยนั้นมันคือเเรงสำหรับเขานะ
นอกจากนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 5 คนโบราณเค้าห้ามใช้จวักตักชิมอาหาร หากใครทำเเกง เเละใช้จวักตักน้ำเเกงขึ้นมาชิม ก็จะถูกด่าเสียดสีว่าไม่ใช่ผู้ดี เพราะผู้ดีเขาไม่ทำกันอย่างนี้ เเต่มันก็เป็นกุศโลบายของความสะอาดเเละถูกหลักโภชนาการเเหละเนอะ เวลาทำอาหารให้คนอื่นทาน ก็ไม่ควรทำเเบบนี้อยู่เเล้ว เเต่ถ้าในครัวเรือนก็ไม่มีใครถือหรอก เพราะเเม่เราก็ทำเเบบนี้ตลอด 55555
เเละยังมีสำนวนที่มีคำว่าจวักอยู่ด้วย คือคำว่า จวักไม่รู้รสแกง หรือตำราบอกว่า ทัพพีไม่รู้รสเเกง ซึ่งหมายความว่า คนที่ต่อให้อยู่ใกล้คนที่มีความรู้ หรืออยู่ใกล้ธรรมะ ก็ไม่รับรู้ไม่ซึมซับอะไรเข้าตัวเข้าหัวเลย เหมือนจวักที่ไม่ว่าจะจุ่มลงในเเกงหม้อไหนก็ไม่รับรู้รสชาตินั่นเอง คนเเบบนี้ไม่ได้เรื่อง เสียเวลาคบ
เเละอีกหนึ่งความหมายของคำว่า “จวัก” จะเอาไว้ใช้กับผู้หญิงขี้งอนหรือขี้โมโห เวลาโกรธมักจะก้มต่ำทำหน้านิ่ว “หน้างอ” เหมือนจวักนั่นเอง
คำด่าสมัยก่อน อาจจะดูไม่รุนเเรงเท่าสมัยนี้ มักใช้สิ่งรอบตัวมาเปรียบเปรยเเละตีความจากลักษณะภายนอกมากกว่า ไม่ด่ากันโต้ง ๆ เหมือนสมัยนี้ เเต่ถ้าย้อนไปตอนนั้น เเละถูกด่าเเบบนั้นก็คงจะรู้สึกเเย่เหมือนกันเเหละ