ไขความจริง"บัวน้อย"เจ้ากอริลลาสุดโดดเดี่ยวในสวนสัตว์พาต้า ทำไมต้องอยู่ตัวเดียว และความเป็นมาอย่างไร
สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2565 ได้มีการโพสถึง เจ้าบัวน้อย กอริลลาที่สวนสัตว์พาต้า พาดพิงไปทำนองว่า ได้มีคนไปเที่ยวชม และเยี่ยมเยือนเจ้าบัวน้อย กอริลลาตัวเดียวในประเทศไทย ซึ่งบัวน้อยนั้นถูกส่งจากเยอรมนีไปยังสวนสัตว์ส่วนตัวนั้นคือห้างพาต้า ในประเทศไทยในปี 1992 เมื่ออายุเพียงสามขวบเท่านั้น ซึ่งถ้านับ ณ ปัจจุบันตอนกอลิล่าตัวนี้อายุ 38 แล้ว และด้วยวงจรชีวิตธรรมชาติของกอริลลากําลังเข้าสู่วัยชรา แต่ทำไมในเมื่อผ่านไปสามสิบห้าปีแล้ว เจ้าบัวน้อยกอริลลายังอยู่ที่เดิม ตัวเดียวโดดเดี่ยวในห้องเดียวกับที่มาไว้ตั้งแต่มาถึงใหม่ๆ และสงสัยว่า กอลิล่าตัวนี้ได้เห็นแสงเดือน แสงตะวันหรืออากาศฟ้าฝนที่อณุภูมิตามสภาพแวดล้อมจริงๆ ตามธรรมชาติหรือไม หรือง่ายๆ ก็คือ เหมือนถูกกักขังให้อยู่ในห้องแบบนั้นมานานนับสิบๆ ปีนั้นเอง จนเกิดดร่ามาเล็กๆ ว่าเหมาะสมหรือไมที่กักขังเจ้าบัวน้อย กอริลลาตัวสุดท้ายไว้แบบนั้นต่อไป .......
ซึ่งจากกรณีดังกล่าวเพื่อไม่ให้ทุกคนคิดไปเองไกลกว่านี้ เรามาดูข้อเท็จจริงในเรื่องนี้กันก่อนเพื่อความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับการดูแลกอริลลานั้น
-กอริลลาเป็นสัตว์เลี้ยงยาก ซึ่งเราได้รับการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญแถบยุโรปมาช่วย ออกแบบสถานที่เลี้ยงควบคุมอุณหภูมิ
-ได้ทำกรงสองชั้นเพื่อป้องกันโรคและเสียงรบกวน มีโดมกระจกเพื่อเปิดรับแสง และพื้นซีเมนต์ระบบปิด
-มีการทำความสะอาดฆ่าเชื้อทุกวัน เช้าและเย็น หากปล่อยให้เลี้ยงในธรรมชาติด้วยลักษณะพื้นดินในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ที่เรียกว่า โรคเมลิออยด์ หรือ โรคเมลิออยโดซิส (Melioidosis) หรือ โรคไข้ดิน ฯลฯ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ลิงต่างถิ่นอย่างกอริลลาบัวน้อย ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ อาจจะเกิดอันตรายแก่ชีวิตได้
ทางด้านการจัดการเรื่องอาหารการกินนั้น การให้ทานอาหารต้องมีคุณภาพ มีการคุมอาหารในช่วงที่บัวน้อยอ้วนขึ้น พร้อมมีมื้อพิเศษที่ให้บัวน้อยได้เล่นอย่างสนุกสนานอย่าง ใบฝรั่ง ใบตอง กระถิน ซึ่งนอกจากจะเคี้ยวเล่นได้แล้ว นำไปฉีกลากเล่นได้อีกด้วย นอกจากนี้สร้างกิจกรรมให้บัวน้อยสนุกสนาน เช่น นำอาหารซ่อนตามที่ต่างๆ เพื่อให้บัวน้อยได้ใช้ทักษะความพยายามและสนุกไปกับหาอาหาร ซึ่งหากเจ็บไข้ ได้ป่วย ก็มีสัตวแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด
ดังนั้น จึงอยากให้การที่กลุ่มผู้เรียกร้องต้องการให้บัวน้อยย้ายถิ่นคงต้องคิดให้ถี่ถ้วน คิดให้รอบครอบให้ดีก่อน นอกจากเหตุผลที่กล่าวข้างต้นแล้วยังมีทั้งความเครียด ความรู้สึกจากบรรยากาศที่ไม่เหมือนเดิม ความปลอดภัยจากโรคต่างๆ อีกด้วย และหลายต่อหลายครั้งที่ผู้เยี่ยมชมเห็นบัวน้อยหน้าบึ้งตึงนั้น เป็นพฤติกรรมของสัตว์ตามปกติ ที่มีทั้งตื่นตัว สนุกสนาน พักผ่อน ไม่ต่างจะมนุษย์เราเลย เพราะฉะนั้นเราอย่าไปคิดแทนสัตว์ อยากให้กลับมามองว่าการที่เราได้กอริลลามาเลี้ยงในไทยนั้นโชคดี ได้เปิดโอกาสให้คนไทยได้เห็นและสัมผัสอย่างใกล้ชิด ปลูกฝังให้เด็กๆ มีใจรักสัตว์ ช่วยให้จิตใจอ่อนโยนจากการให้อาหารสัตว์ รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ สุดท้ายแล้วอย่าเอนเอียงตามกระแสนิยม และการรู้ไม่จริง เพราะนี้เป็นตัวชี้วัดว่าคุณรักสัตว์จริงๆ หรือเป็นแค่นักอนุรักษ์ออนไลน์เท่านั้น