จริงๆ แล้ว ‘เผ็ด’ ไม่ใช่รสชาติ?
ถ้าพูดถึงรสชาติ ทุกคนก็คงจะนึกออกว่า มีรสเค็ม รสเปรี้ยว รสเผ็ด รสหวาน ใช่ไหมคะ โดยเฉพาะผู้เขียนเองนี่ชื่นชอบที่จะกินเผ็ดมาก จะสั่งจะกินอะไรต้องมีรสนี้นำตลอด ถ้าปรุงก๋วยเตี๋ยวก็เรียกได้ว่า น้ำสีแดงแจ๋เลยหล่ะ
แต่ความจริงแล้ว รสชาติต่าง ๆ บนโลกนี้ ถูกจำแนกพื้นฐานไว้แค่ หวาน เค็ม เปรี้ยว เท่านั้น ซึ่งถ้านับการค้นพบใหม่ของญี่ปุ่นอย่างผงชูรส ก็จะถือว่ามีรสอูมามิด้วย
นั่นเป็นเพราะว่าความเผ็ดไม่ใช่รสชาติ หากแต่เป็นอาการผิดปกติของลิ้นอย่างหนึ่งก็เท่านั้นเอง
แล้วความเผ็ดคือ ?
เผ็ด คืออาการผิดปกติของลิ้นเมื่อได้รับสารเคปไซซิน (Capsaicin) ที่มักพบในพริก ซึ่งเป็นสารที่ให้ความแสบร้อน ไม่ต้องเข้าปากก็รับรู้ถึงความแสบร้อนนี้ได้เช่นกัน เช่น เวลาพริกถูกผิวหนัง หรือโดนส่วนอื่นของร่างกายอย่างกระเพาะอาหาร
.
กินเผ็ดมีประโยชน์นะ
แต่การกินพริกก็ยังคงมีประโยชน์ เพราะมีวิตามินเอ ซี แคลเซียม ธาตุเหล็ก ที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (เอ็นดอร์ฟิน) เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ไข้หวัด ช่วยลดน้ำมูก ละลายเสมหะ และยังทำให้หลอดลมขยายตัวได้ดีพร้อมลดคอเรสเตอรอลได้อีกด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้ จะมีประโยชน์มากต่อคนที่มีโรคประจำตัวอย่างหอบหืด ภูมิแพ้ และโรคอื่น ๆ เกี่ยวกับหลอดเลือด
รู้อย่างนี้แล้วนานๆ ที ทานเผ็ดบ้างก็ดีเหมือนกันนะคะ แต่อย่ากินเยอะจนเกินไปแบบผู้เขียนล่ะ เดี๋ยวมันจะแซ่บเกิ๊นนนน