ทำความรู้จักกับชุด"กิโมโน"着物
ชุดกิโมโน(着物) เป็นชุดประจำชาติของประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งชุดกิโมโนก็จะมีหลากหลายแบบ หลากหลายสไตล์ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามวัฒนธรรมประเพณีของญี่ปุ่น
-振袖 (ฟุริโซเดะ)
เป็นชุดที่เป็นทางการมากที่สุด ผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานมักสวมใส่กัน จุดเด่นของชุดคือจะมีแขนเสื้อยาวและลวดลายที่ฉูดฉาดสีสันสดใส
*ฟุริโซเดะจะแบ่งย่อยๆได้อีก3แบบคือ โอฟุริโซเดะ,จูฟุริโซเดะและโคฟุริโซเดะ*
-ฮิคิสึริ (引きずり)
เป็นชุดของเหล่าหญิงชนชั้นสูงในช่วงก่อนเข้ายุคเมจิ ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยได้เห็นแล้ว แต่จะยังเห็นอยู่บ้างในเกียวโต
ฮิคิสึริ มีความหมายว่า"กระโปรงต่อท้าย"ซึ่งจะเป็นการใส่กิโมโนให้ชายกระโปรงลากยาว แต่ดูรวมๆแล้วพริ้วอย่างสง่างาม
บุคคลที่สวมใส่ก็จะเป็น เกอิชา,ไมโกะเป็นต้น
(สังเกตที่ชายกระโปรงจะยาวกว่าปกติ)
-留袖 (โทเมโซเดะ)
เป็นชุดกิโมโนที่เป็นทางการสำหรับผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว มีดีไซน์ที่สวยงาม ในบางครั้งก็มักจะประดับด้วยทอง บนชุดจะประทับตราประจำตระกูลไว้
วัฒนธรรมของตะวันตก ชุดกิโมโนจะเทียบเท่ากับชุดราตรี
คุโระโทเมโซเดะสีดำ จะสวมเฉพาะผู้หญิงที่แต่งงานแล้วเท่านั้น ส่วนโมเมโดโซะสีสันผู้หญิงที่ยังไม่แต่งงานก็สามารถสวมใส่ได้
มักเห็นชุดกิโมโนเหล่านี้ในงานพิธีการต่างๆ เช่นพิธีชงชา
ซึ่งกิโมโนประเภทนี้เป็นหนึ่งในกิโมโนที่สวยที่สุดเลยก็ว่าได้
-訪問着 (โฮมงกิ)
โฮมงกิแปลได้ว่า"ชุดไปเยี่ยม"
เป็นกิโมโนแบบกึ่งทางการ สามารถใส่ได้ทั้งผู้หญิงที่แต่งงานแล้วหรือยังไม่แต่งงานก็ได้
โฮมงกิเหมาะกับงานกึ่งทางการ เช่น งานเลี้ยงในบ้าน
ลวดลายบนชุดจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า"เอบะ"ที่จะเป็นลวดลายเหมือนภาพวาดขนาดใหญ่ครอบคลุมทั้งชุด
ประวัติศาสตร์ของโฮมงกิกิโมโนนั้นถึงแม้ว่าจะมีมานานแล้ว เมื่อไปปรากฏในยุคไทโชก็ถือเป็นกิโมโนแนวใหม่
-色無地 (อิโระมุจิ)
เป็นกิโมโนสีพื้นไร้ลวดลาย สำหรับอิโระมุจินี้ความสวยงามของมันคือ ความเรียบง่าย
นิยมสวมใส่ในงานที่เป็นทางการ เช่น งานโศกเศร้า,พิธีจบการศึกษา
ซึ่งระดับความเป็นทางการนั้น ขึ้นอยู่กับตราประจำตระกูลบนชุด
-浴衣 (ยูกาตะ)
"ยูกาตะ"เป็นอีกหนึ่งประเภทของชุดกิโมโนที่หลายคนรู้จักกัน ซึ่งเป็นกิโมโนแบบผ้าฝ้าย ซึ่งจะเป็นชุดสำหรับฤดูร้อน เนื่องด้วยเนื้อผ้าที่บางเบาใส่สบาย
คนญี่ปุ่นนิยมใส่ชุดยูกาตะไปงานเทศกาลในฤดูร้อน
ว่ากันง่ายๆก็คือ ชุดยูกาตะเป็นชุดลำลองที่หลายคนชอบที่สุดในหมู่ของชุดกิโมโนทั้งหมดเพราะทั้งใส่ง่ายและสวยงาม
ส่วนประกอบก็จะมี เกตะ ที่เป็นรองเท้าไม้ที่ใส่คู่กัน และมีโอบิพันรอบเอว และผูกโบว์ใหญ่ๆที่ด้านหลัง ซึ่งจะทำโบว์เองก็ได้หรือจะใช้แบบสำเร็จก็ได้เช่นกัน
**ประสบการณ์การใส่ชุดยูกาตะของแอด
แอดเคยใส่อยู่ครั้งหนึ่ง วันนั้นอาจารย์ที่สอนญี่ปุ่นใส่ให้ ผูกโบว์ให้สวยมากๆ แล้วก็ทำให้สวยยากมากๆ ตอนใส่แอดเหมือนแหนมที่โดนห่อใบตองหลายๆชั้น อาจารย์พันโอบิแน่นมากๆแอดหายใจไม่ทั่วท้องเลอ
-小紋 (โคะมง)
เป็นกิโมโนแบบลำลอง พบเห็นได้บ่อยและสวยงาม มีแพทเทิร์นที่เป็นลายทางแนวตั้ง
ถึงแม้โคะมงจะตัดเย็บมาอย่างสวยงามขนาดไหน แต่ ห้าม ใส่ ไป งานทางการเด็ดขาด
คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะใส่เดินเล่นรอบเมืองหรืองานเลี้ยงฉลองเล็กๆ
อดีตผู้คนจะใส่ชุดโคะมงเดินเล่นกันทั่วไปเยอะมากๆก่อนที่เสื้อผ้าสไตล์ตะวันตกจะเข้ามามีอิทธิพลและมาแพร่หลายในญี่ปุ่น
-白無垢 (ชิโระมุคุ)
ชิโระ(白) หรือ ชิโร่ย (白い) แปลว่า สีขาว ดังนั้นชิโระมุคุจะเป็นกิโมโนสำหรับเจ้าสาว ที่จะสวมชุดสีขาวบริสุทธิ์ และชุดสีขาวจะช่วยเสริมความสง่างามให้กับเจ้าสาวในวันที่พิเศษอีกด้วย
ความเป็นมานี้ ย้อนไปในยุคแห่งซามูไร ในสมัยนั้น ผู้หญิงจะแสดงความอ้อนน้อมกับครอบครัวที่เธอจะแต่งงาน จึงได้สวมชุดสีขาว เพื่อสื่อถึงความกลมกลืนกับสีของครอบครัวเจ้าบ่าวได้อย่างราบรื่น
กล่าวได้ว่า ชิโระมุคุ มีความสัมพันธ์กับประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่น
-กิโมโนสำหรับผู้ชายสวมใส่
ตั้งแต่อดีต ผู้ชายก็สวมใส่ชุดกิโมโนด้วยเช่นกัน แต่ในปัจจุบันความนิยมก็ลดลง
กิโมโนของผู้ชายจะมีรูปแบบและสีสันที่เรียบง่ายกว่าของผู้หญิง โดยเฉพาะแบบที่เป็นทางการ
ชุดจะมีฮากามะและฮาโอริ
(ฮากาตะคือกางเกงกิโมโนและฮาโอริคือเสื้อคลุม)
สไตล์ที่นิยมใส่กัน ก็คือคินากาชิ ซึ่งเป็นกิโมโนแบบลำลอง จะไม่สวมฮากามะแต่จะใช้โอบิพันรอบเอวแทน
*ในงานเทศกาลฤดูร้อนของญี่ปุ่น ผู้หญิงจะสวมชุดยูกาตะคู่กับแฟนหนุ่มที่สวมชุดคินากาชิเดินชมงานเทศกาล
เกร็ดความรู้**
ค่านิยมความสวยของผู้หญิงที่สวมชุดกิโมโนคือ การพันโอบิรอบเอวให้หนาๆหลายๆชั้น เพราะยิ่งเอวตรง ยิ่งสวย
ตัวอย่างชุดกิโมโนที่ไมโกะสวมใส่กัน
**ความแตกต่างของไมโกะและเกอิชา**