แม่น้ำชี แม่น้ำแห่งความหายนะจริงหรือ ?
แม่น้ำชี เป็นแม่น้ำที่มีความยาวที่สุดในประเทศไทย ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความยาวประมาณ 765 กิโลเมตรมีต้นกำเนิดจากที่ราบด้านตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ไหลผ่านหลายจังหวัด เริ่มที่จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อุบลราชธานี ศรีสะเกษ และไหลไปประจวบกับ แม่น้ำมูล ที่บ้านวังยาง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ รอยต่อจังหวัดศรีสะเกษกับจังหวัดอุบลราชธานี โดยมีสาขาหลัก 5 ลำน้ำ คือ ลำน้ำพรม ลำน้ำพอง ลำน้ำเซิน ลำน้ำปาว และลำน้ำยัง
แม่น้ำชี เป็นหนึ่งแหล่งน้ำที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ได้แก่การใช้ในการอุปโภคบริโภค การใช้ในการอุตสาหกรรม การใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า ใช้เป็นเส้นทางคมนาคมขนส่ง ใช้เป็นที่อยู่อาศัยของปลาและสิ่งมีชีวิตในน้ำต่างๆ ซึ่งมนุษย์ใช้เป็นอาหารและใช้ประโยชน์จากน้ำ เพื่อการนันทนาการและเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ถือว่า มีคุณอนันต์
ในส่วนของอุทกภัยหรือภัยจากน้ำท่วม แม่น้ำชี ก็ถือว่าเป็นแม่น้ำสายหนึ่ง ที่เมื่อหน้าฝน ฤดูฝน น้ำจากแม่น้ำชีก็จะทะลักไหลท่วมไร่นา บ้านเรือนที่อยู่ตามลุ่มแม่น้ำชี สร้างความเสียหายมากมาย เป็นภัยจากธรรมชาติ ที่ป้องกันยาก บางคนถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว อันนี้ถือว่าเป็นส่วนที่เป็นโทษ จะถือว่า เป็นโทษมหันต์ ก็ว่าได้
จังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่ ที่แม่น้ำชีไหลผ่าน 8 อำเภอคือ อำเภอจังหาร อำเภอเชียงขวัญ อำเภอโพธิ์ชัย อำเภอธวัชบุรี อำเภอทุ่งเขาหลวง อำเภอเสลภูมิ อำเภออาจสามารถ และอำเภอพนมไพร
ปี 2565นี้ ช่วงเดือนกันยายน ถึงตุลาคม น้ำชีทะลักท่วมพื้นที่หลายอำเภอ ตอนนี้ที่ อ.เสลภูมิ มวลน้ำไหลท่วมนาข้าวหอมมะลิ กินพื้นที่กว่า 3000 ไร่ รวมทั้งเส้นทางเชื่อมระหว่าง อำเภอเสลภูมิกับอำเภอทุ่งเขาหลวง เพิ่มสูง ขยายวงกว้างมากขึ้น แม่น้ำชีไหลผ่านผนังขาด เอ่อท่วมถนนขยายวงกว้างมากขึ้น ขณะที่มวลน้ำที่ไหลผ่านจุดที่ขาด ได้เอ่อท่วมขยายวงกว้าง ท่วมบ้านเรือนในพื้นที่อำเภอกมลาใส และเอ่อท่วมถนนสายกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด วันที่ 21 - 24 ตุลาคม 2565 ระดับน้ำสูงถึง 50 เซนติเมตร ส่วนพื้นที่นาข้าวจมมิดหายไปกับสายน้ำหลายหมื่นไร่ ถือว่าเป็นความหายนะครั้งใหญ่อีกครั้งของพี่น้องชาวเกษตรกร ที่อาศัยตามลุ่มแม่น้ำชี