"อันเดรส เอสโคบาร์" กับประตูแห่ง "ความตาย"
เมื่อการยิงประเทศพลาดจึงนำมาซึ่ง "ความตาย" สำหรับกีฬา "ฟุตบอล" แล้วถือว่าเป็นอีกหนึ่งกีฬาที่เป็นที่นิยมของคนทั่วโลกก็ว่าได้ และเป็นกีฬาที่มีมายาวนาน และที่ผ่านมาก็มักเกิดเหตุการณ์สำคัญต่างๆมากมายในวงการฟุตบอลอยู่เสมอ แต่เรื่องราวในวันนี้คือเป็นเหตุการณ์ที่น่าตกตะลึงกับนักกีฬาฟุตบอลที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง เขาคือใครกันนะ ?
เขาคือ "อันเดรส เอสโคบาร์" (Andres Escobar)
หรือชื่อเต็มคือ "อันเดรส เอสโกบาร์ ซัลดาร์เรียกา" (Andres Escobar Saldarriaga) เกิดเมื่อวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 1967 ณ เมเดยิน โคลอมเบีย ซึ่งถือว่าเป็นนักฟุตบอลฝีมือเยี่ยมประจำตำแหน่งกองหลัง ของสังกัดอัตเลติโกนาซิอองนาล, ยังบอยส์ และทีมชาติโคลอมเบีย
ในช่วงที่ฟุตบอลโลกปี ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) กำลังจะจบลง ประเทศที่กำลังคะแนนนำคือโรมาเนีย และในลิสต์ทีมต่อไปที่จะลงแข่งขันก็คือโคลอมเบีย ซึ่งโคลอมเบียทำคะแนนได้ไม่ดีนัก ทั้ง 2 ทีมต่างก็มีผู้เล่นฝีมือดีและต่างก็ต้องการอยากจะเป็น "ผู้ชนะ" ให้ได้
กีฬาที่มีเจ้าพ่อค้ายาเสพติดสนับสนุนเงิน
และหนึ่งในนั้นที่มีอิทธิพลในยุคนนั้นก็คือ "พาโบล เอสโคบาร์" (Pablo Escobar) เขาเป็นคนที่ชื่นชอบกีฬาฟุตบอลเป็นอย่างมาก และเขาเป็นเจ้าพ่อยาเสพติดแห่งยุค 80-90 (พ.ศ. 2523-2532) หรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ที่ทรงอำนาจในโคลอมเบียในเวลานั้นเลยก็ว่าได้
เขาร่ำรวยจากการค้ายาเสพติดมีเงินมหาศาล ขึ้นชื่อว่าเป็นเศรษฐีโลกก็ว่าได้และยังเป็นที่หวาดกลัวของผู้คน แม้แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ยังไม่กล้ายุ่งจนต้องหนักใจ ด้วยใจรักในกีฬาฟุตบอลเขาได้ร่วมลงเงินสร้างสนามฟุตบอลหลายแห่งในโคลัมเบีย และยังได้สนับสนุนเงินทุนแก่ทีมฟุตบอลในโคลอมเบียด้วย แม้ว่าเขาจะเสียชีวิตแต่เรื่องราวการสนับสนุนฟุตบอลของเขาก็ยังเป็นที่ร่ำลือมาถึงทุกวันนี้
เริ่มการฟาดแข้งที่สำคัญของประวัติศาสตร์
ในเวลานั้น โคลอมเบียไม่ค่อยชอลสหรัฐอเมริกา และการแข่งขันกับทีมสหรัฐฯ ก็ถือว่าเป็นแมทช์สำคัญโดยทางโคลอมเบียคิดว่าจะต้องชนะให้ได้ ในเวลานั้นทีมโรมาเนียเป็นหนึ่งในทีมที่ดีเป็นอันดับต้นๆของโลก ในขณะที่ทีมโคลอมเบียก็มีนักเตะฝีมือเยี่ยมก็คือ "อันเดรส เอสโคบาร์" (แต่เขาไม่ได้เกี่ยวข้องกับพ่อค้ายาเสพติด..แค่มีนามสกุลเหมือนกันเท่านั้น)
แล้วทุกอย่างก็กลับไม่เป็นไปตามแผน ทีมโรมาเนียชนะไปด้วยคะแนน 3-1 ส่งผลให้ทีมโคลอมเบียต้องลงแข่งกับทีมสหรัฐอเมริกา ซึ่งถ้าหากแพ้ล่ะก้อ..ทีมโคลอมเบียก็จะตกรอบไป
ทีมโคลอมเบียได้รับคำขู่ฆ่า
ทีมชาติโคลอมเบียได้รับคำขู่จากพวกแก๊งอาชญากรหลายครั้ง ขู่ว่าหากไม่ชนะล่ะก้อครอบครัวผู้เล่นในทีม และคนที่เกี่ยวข้องจะถูกฆ่าตายทำให้ทีมโคลอมเบียยิ่งกดดันมากขึ้น เพราะต้องหาทางชนะให้ได้ไม่งั้นชีวิตตนและครอบครัวคือ..ตายแน่ นักเตะในทีมต่างคิดว่าควรถอนตัว แต่ "อันเดรส เอสโคบาร์" กลับรั้งเอาไว้และยืนกรานว่าให้ลงแข่งสู้กับทีมอเมริกัน
ความผิดพลาดทำให้ทีมแพ้
ในการแข่งขันรอบที่ 2 ไม่ได้เริ่มต้นด้วยดีนัก เพราะโดนทีมสหรัฐอเมริกาเจ้าภาพนำไปก่อน 1-0 และแล้วสิ่งที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้นถือว่าเป็นหายนะที่แย่ที่สุดของทีมโคลอมเบียเลยก็ว่าได้ เมื่อ "อันเดรส เอสโคบาร์" ดันกลับสกัดบอลจากลูกเปิดของแข้งเจ้าถิ่นเข้าประตูตัวเอง ทำให้ฝ่ายทีมสหรัฐอเมริกานำไป 2-0 และเมื่อหมดเวลาการแข่งขัน สุดท้ายแล้วทีมฝ่ายทีมสหรัฐอเมริกาก็นำไปด้วยคะแนน 2-1 จึงตกรอบแบ่งกลุ่มไป
จุดจบชีวิตของเขา
เหตุการณ์การยิงเข้าประตูทีมตนเองนั้น ได้สร้างความอับอายให้กับเขาเป็นอย่างมาก แต่พอเมื่อเขากลับถึงบ้านที่เมืองเมเดลลินประเทศโคลอมเบีย เขาก็ไม่ได้เก็บตัวยังคงไปไหนมาไหนตามต้องการ แม้เพื่อนร่วมทีมจะแนะนำให้เขาเก็บตัวสักพัก อย่าออกไปไหนเพื่อความปลอดภัยเพราะแก๊งค์อาชญากรกำลังหมายหัวเขาอยู่
แต่เขาก็ไม่ฟังไม่สนใจคำเตือนใดๆ จนกระทั้งวันที่ 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) เขาก็ได้ออกไปนั่งดื่มที่บาร์กับเพื่อนๆ แม้จะเจอคำพูดล้อและพูดแดกดันจากคนในบาร์ที่พูดถึงการที่เข้ายิงเข้าประตูตนเอง เขาก็เก็บอารมณ์เอาไว้โดยไม่ตอบโต้ใดๆ
จนกระทั้งเวลา 3.00 น. เขาก็ได้ออกมาที่ลานจอดรถเพียงลำพัง ก็มีชาย 3 คนเข้ามารุมทำร้ายเขาและได้ยิงเขาเสียชีวิต และการที่เขาโดนยิงเพราะกลุ่มที่มาฆ่าเขานั้นไม่พอใจที่เขาทำให้ทีมโคลอมเบียแพ้ เพราะได้มีการวางเดิมพันเป็นเงินจำนวนมหาศาลกับการพนันในแมทช์นั้น แต่สุดท้ายกลับต้องเสียพนันเป็นเงินก้อนโตไป
จับตัวฆาตกรได้
ไม่กี่วันต่อมาก็สามารถจับตัวผู้ก่อเหตุได้ ซึ่งเป็นบอดีการ์ดของหัวหน้าแก๊งอาชญากรรายหนึ่ง โดยมีชื่อว่า "ฮัมเบอร์โต คาสโตร มูนอซ" (Humberto Castro Munoz) ได้รับสารภาพว่าเป็นผู้ยิง "อันเดรส เอสโคบาร์" เสียชีวิตจริงๆ
เขาจึงถูกตัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 43 ปี แต่ด้วยความประพฤติดีจึงได้ลดโทษ และติดคุกจริงแค่ 11 ปีเท่านั้น ดังนั้น "อันเดรส เอสโคบาร์" จึงเสียชีวิตในขณะที่มีอายุเพียง 27 ปีเท่านั้น
ขอบคุณภาพจาก : google, wikipedia