ตำนาน "Roman Charity" ชายผู้รอดชีวิตจาก "น้ำนม"
"Roman Charity" มันคือภาพวาดที่มีชายชรากำลังดูดนมหญิงสาว แต่! เดี๋ยวก่อนถ้าคุณมองแค่ภาพคุณคงคิดว่ามันเป็นภาพอนาจารลามกใช่หรือเปล่า ? แต่ถ้าคุณอ่านเรื่องราวทั้งหมดคุณจะเข้าใจและคุณจะซาบซึ้งกินใจแน่นอน งั้นมาอ่านกันดีกว่า..ว่าภาพนี้กำลังสื่อถึงอะไรกันแน่
จุดเริ่มของภาพ
จากการสำรวจทางโบราณคดี ได้ค้นพบว่าในโบราณวัตถุจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นรูปปั้น เครื่องปั้นดินเผาต่างๆ และรูปปั้นเซรามิกจากทศวรรษแรกนั้น ถูกขุดพบใน "เมืองปอมเปอี" (Pompeii) และหนึ่งในนั้นก็คือภาพวาดของหญิงสาวชื่อ "Pero" กับชายชราชื่อ "Cimon"
ซึ่งในสมัยโรมันมีตำนานเบื้องหลังเกี่ยวกับภาพวาดนี้ และเป็นที่รู้จักกันในนามว่า "Roman Charity" ถ้าหากคุณมองเผินๆคุณอาจจะคิดในความรู้สึกในเชิงลบว่ามันเป็นภาพวาดอนาจาร เป็นภาพลามกที่ชายชรากำลังดูดนมของหญิงสาวอยู่
อย่างไรก็ตามก็มีจิตรกรวาดภาพเดียวกันนี้ในเวอร์ชั่นนี้หลายภาพ หลายยุค หลายสมัย แต่หากว่าภาพนี้มีความหมายที่ลึกซึ้งมากๆ มันจะทำให้คุณซาบซึ้งและสะเทือนอารมณ์อย่างแน่นอน
ตำนานของภาพนี้
เล่าว่ามีชายคนหนึ่งชื่อว่า "Cimon" เขาได้ไปขโมยขนมปังและถูกให้รับโทษประหารชีวิต ด้วยการให้ "อดอาหาร" เขาถูกคุมขังในเรือนจำของโรมันในเมืองเกนต์ ประเทศเบลเยี่ยม และเขาไม่ได้รับอนุญาติให้พบใครทั้งสิ้น
หญิงสาวนามว่า "Pero" เธอต้องการจะพบเขามาก แต่มักถูกเจ้าหน้าที่ปฎิเสธมาโดยตลอด เธอเอาแต่อ้อนวอนขอร้องเพื่อขอให้ได้พบชายคนนี้อยู่เรื่อยๆ จนในที่สุดเธอก็ได้รับอนุญาตให้พบกับชายคนนี้ แต่จะมีเพียงเธอผู้เดียวเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้เข้าไปเยี่ยมชายคนนี้ได้ แต่มีข้อแม้ว่า...ไม่อนุญาตให้เธอนำน้ำหรืออาหารใดๆเข้าไปด้วย
ความรักและความเอื้ออาทร
ขณะนั้น "Pero" เป็นแม่ของลูกอ่อน เธอเพิ่งจะให้กำเนิดบุตร สิ่งเดียวที่เธอจะช่วยชีวิตชายผู้นี้ได้นั้นคือ...เธอใช้ "น้ำนม" จากอกเธอป้อนให้ชายชราคนนี้ดูดเป็นประจำทุกวันที่เธอมาเยี่ยม หลายสัปดาห์ผ่านไป "Cimon" ก็ยังมีชีวิตอยู่ไม่เสียชีวิตสักที ทำให้ทางการเจ้าหน้าที่เรือนจำเริ่มสงสัยและประหลาดใจว่า ทำไม ? ชายชราผู้นี้แม้จะถูกจองจำเป็นเวลานานแต่กลับยังไม่เสียชีวิต
เจ้าหน้าที่เฝ้าจับตามอง
เจ้าหน้าที่จึงเริ่มจับตามองหญิงสาว จนในวันหนึ่งเมื่อเธอมาเยี่ยมชายชรา เจ้าหน้าที่เรือนจำก็ซ่อนตัวและแอบมองจากนอกคุกใต้ดิน และก็ได้เห็นเธอกำลังป้อนนมจากเต้าให้ชายชราผู้นี้ดื่ม จนเธอถูกเจ้าหน้าที่เรือนจำจับกุม และจะต้องรับโทษเช่นเดียวกับชราผู้นี้
ถูกยกโทษ
เธอถูกนำตัวขึ้นต่อหน้าผู้ดูแลในการตัดสินคดีในโทษฐานที่เธอละเมิดคำสั่ง หากแต่สุดท้ายแล้วทางการก็ได้ทราบเรื่อง "ความกตัญญู" ของเธอ เพราะสิ่งที่เธอกระทำลงไปนั้น ชายชราที่เธอป้อนนมจากอกของเธอให้ดื่มนั้นคือ "พ่อ" ของเธอเอง
สิ่งที่เธอทำทั้งหมดเธอทำก็เพื่อประทังชีวิตให้แก่ผู้เป็นพ่อชราของเธอ เรื่องนี้ทำให้เจ้าหน้าที่ที่ตัดสินคดีรู้สึกซาบซึ้งตื้นตันใจในตัวเธอมาก ในไม่ช้าทางการก็ได้มีคำสั่งให้ปล่อยตัวพ่อของเธอให้เป็นอิสระในเวลาต่อมา
ดังนั้นความหมายของภาพคือ "ฉันมีชีวิตอยู่จากอกของลูกสาวของฉัน" เป็นภาพวาดสีน้ำมันที่มีขึ้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1520 ภาพวาดดังกล่าวเป็นของ "ปิเอโตร ลูนา" ซึ่งอยู่บนผืนผ้าใบขนาดใหญ่โดยมีข้อความว่า "ผู้หญิงที่ดูแลชายชรา"
ภาพวาดที่คล้ายกันอีกรูปแบบหนึ่งก็ถูกค้นพบในปี ค.ศ. 1538 โดยระบุว่า "ลูกสาวที่ดูแลพ่อของเธอ"
แต่น่าเสียดายที่ภาพวาดเหล่านี้หลายภาพกลับหายไปไม่มีอยู่อีกต่อไป
พอมาในช่วงทศวรรษที่ 1600 ศิลปินสไตล์บาโรกนามว่า "มีเกลันเจโล เมรีซี ดา การาวัจโจ" (Michelangelo Merisi da Caravaggio) ค.ศ. 1571-18 กรกฎาคม ค.ศ. 1610) ก็ได้แสดงภาพนี้และตั้งชื่อว่า "ความเมตตาบารมี 7 ประการ"
Caravaggio_The Seven Works of Mercy.
Michelangelo Merisi da Caravaggio
ความคลั่งไคล้ของภาพวาดของ "Pero" และ "Cimon" ก็เริ่มต้นขึ้นมันแพร่กระจายไปทุกที่ ผ่านอิตาลี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ สเปน และเมืองอื่นๆอีกมากมาย
ความรักและความกตัญญู
"Pero" เธอไม่เพียงแต่พิสูจน์ให้เห็นถึงความกตัญญูต่อพ่อของเธออย่างแท้จริง แต่เธอยังได้พิสูจน์ให้เห็นถึง "ความรัก" ที่ไม่มีเงื่อนไขที่เธอมีต่อพ่อผู้ที่เธอรักอีกด้วย ดังสุภาษิตที่ว่า "เลือดย่อมข้นกว่าน้ำ" เธอได้พิสูจน์มันแล้ว
แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความรักนิรันดร์ต่อพ่อแม่ของพวกเขาเหมือนกัน มันไม่ได้เกี่ยวกับต้องมีสถานการณ์แบบเดียวกันกับเธอ แต่มันคือ..ความรู้สึกรักในแบบเดียวกันกับเธอที่มีต่อพ่อ
เพราะสิ่งเดียวที่พ่อแม่ในยามวัยชราปรารถนาอย่างแท้จริงก็คือ "ความรักจากลูก" ต่างหาก
ขอบคุณภาพสวยๆต่างๆจาก : google, wikipedia