'ปฏิบัติการโปเชนตง' ภารกิจพาคนไทยบินกลับบ้าน
หลายครั้งที่เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่
จากข่าวลือก็กลายเป็นความขัดแย้งในวงกว้างไปได้
ทุกอย่างทั้งในโลกจริงและออนไลน์จึงจำเป็นต้องระมัดระวัง
ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนเสมอ เพราะมันอาจจะเกิดความเสียหาย
อาจจะกลายเป็นเรื่องเป็นราวร้ายแรงได้
เช่นเดียวกับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ 29 มกราคม 2546
เกิดข่าวลือเสียหายข่าวหนึ่งในประเทศกัมพูชา
หลังจากที่สำนักข่าว 'รัศมี อังกอร์' ได้เริ่มตีพิมพ์ข่าว
ที่ว่ามีนางเอกจากประเทศไทยคนหนึ่ง กล่าวอ้างว่า
'ปราสาทนครวัดเป็นของไทย' จากข่าวลือเมื่อกลายเป็นประเด็นในสื่อหลัก
ประชาชนทั่วไปก็เกิดความไม่พอใจขึ้นและเริ่มก่อการจลาจล
เหตุการณ์ในครั้งนั้นลุกลามบานปลาย
จนกระทั่งเริ่มมีการเผาทำลายร้านค้าและธุรกิจของคนไทย
ที่มีอยู่อย่างมากมาย รวมทั้งโรงแรมและสถานฑูตไทยด้วย
ทางการไทยเห็นว่าเหตุการณ์นี้จะนำไปสู่อันตรายต่อชีวิตคนไทย
ที่อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศกัมพูชา จึงได้วางแผนภารกิจ
เพื่อพาคนไทยกลับประเทศบ้านเกิด ภายใต้ชื่อ 'ปฏิบัติการโปเชนตง'
โดยการควบคุมและบัญชาการของ 'ทักษิณ ชินวัตร' นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น
ภารกิจรับตัวคนไทยกลับบ้าน ประกอบด้วยเครื่องบินขนส่ง
รุ่น C-130 จำนวน 5 ลำ พร้อมหน่วยคอมมานโดและชุดปฏิบัติการพิเศษนับร้อยนาย
โดยมีเรือหลวงจักรีนฤเบศวร รวมถึงอากาศยานอีกหลายลำประจำการรออยู่
พร้อมทำหน้าที่พาคนไทยประมาณ 700 คน บินกลับประเทศไทยอย่างปลอดภัยในช่วงเช้าวันถัดมา
ภารกิจนี้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วท่ามกลางความตึงเครียดทางการฑูตในระดับสูงสุด
ทางการไทยได้ประกาศปิดพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา
นานถึงเกือบ 2 เดือนจากเหตุการณ์นี้ และกลับมาเปิดอีกครั้ง
หลังทางการกัมพูชาจ่ายค่าเสียหายมูลค่ากว่า 6 ล้านดอลลาห์