หุ่นยนต์สังหาร!!! การพัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการพิฆาตฝั่งตรงข้าม
พัฒนาการทางเทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์ก้าวล้ำเป็นอย่างมากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา นักวเคราะห์คาดการณ์ว่าหุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมและยกระดับคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งขึ้น แต่ในทางกลับกันนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มได้พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อการทำลายล้างชีวิตของฝ่ายตรงข้ามจนปัจจุบันหลายประเทศได้นำจักรกลสังหารมาเป็นส่วนหนึ่งในเขี้ยวเล็บของตน
จากภาพยนต์สู่สงครามในความเป็นจริง
หุ่นยนต์สังหาร (Killer Robot) หรือที่ทาง UN ได้ให้นิยามว่า “ระบบอาวุธสังหารอัตโนมัติ” เป็นหุ่นยนต์ที่สามารถควบคุมตนเองตามคำสั่งที่วางไว้เพื่อทำภารกิจสังหารหรือทำลายเป้าหมายที่อาจเป็นมนุษย์ หรือสิ่งก่อสร้าง หรือแม้แต่หุ่นยนต์ด้วยกันเอง
ภาพหุ่นยนต์แสนชั่วร้ายที่ใช้อาวุธมหาประลัยเข่นฆ่าคนไม่เลือดหน้าปรากฏในภาพยนตร์แนววิทยาศาสตร์จาก Hollywood เป็นจำนวนมาก ที่โด่งดังเป็นที่กล่าวขานมากที่สุดคงหนีไม่พ้นหุ่นยนต์ล่าสังหารรูปร่างเสมือนมนุษย์จากคนเหล็ก (Terminator) แต่ในความเป็นจริงหุ่นยนต์สังหารมีหน้าตาเหมือนหุ่นยนต์ที่ใช้ในครัวเรือนทั่วไปแต่ที่ต่างออกไปคือประสิทธิภาพที่ดีกว่ารวมถึงการติดตั้งอาวุธสุดอันตรายไว้ด้วย
ในสงครามยุคใหม่ (Modern warfare) เริ่มมีการใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการล่าสังหารศัตรูมากยิ่งขึ้น ที่เห็นได้ชัดเจนมากคือการใช้ โดรน, รถถัง หรือเรือดำน้ำที่ได้รับการติดตั้ง sensor ไว้จำนวนมากเพื่อให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูล ติดตามข้าศึกและขับเคลื่อนตัวเองไปยังเป้าหมายและระเบิดตัวเองทิ้งไปพร้อมๆ กับศัตรู
ด้วยเทคโนโลยีทีทันสมัยทำให้หุ่นยต์ติดอาวุธเข้ามามีบทบาทในสงครามมากขึ้นด้วยข้อดีของหุ่นยต์ที่เหนือมนุษย์หลายประการ เช่น
- ความคล่องตัว: ตัวหุ่นยต์เองสามารถขับเคลื่อนไปในเส้นทางภูมิศาสตร์ที่มนุษย์ไม่สามารถไปได้ โดรนสามารถทำภารกิจท่ามกลางภูเขาสูงชัน เรือดำน้ำขนาดเล็กสามารถดำในน้ำได้อย่างยาวนานและรวดเร็ว ซึ่งที่เหล่านี้มนุษย์ไม่สามารถทำได้ดีเท่า
- การประมวลผลที่ไร้คุณธรรม: หุ่นยนต์ใช้ Algorithm ในการประมวลผลและตัดสินใจทำให้หุ่นยนต์จะปฏิบัติโดยใช้ผลลัพท์เป็นหลัก สามารถทำตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องสนใจคุณธรรม หรือนำศีลธรรมเข้ามาปะปน จนอาจเป็นเหตุให้ภารกิจมีปัญหาได้
- พร้อมที่จะทำลายตัวเองได้: การใช้หุ่นยต์ในการปฏิบัติภารกิจใดๆ ทำให้มั่นใจว่าจะลดอันตรายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ และในกรณีเลวร้ายที่สุดหุ่นยนต์เองก็พร้อมจะสละตัวเองได้โดยไม่มีผลกระทบใดๆ
เมื่อแต่ละประเทศทดสอบการรบด้วยกลจักรสังหาร
เมื่อเทคโนโลยีได้เปลี่ยนวิธีการทำสงครามอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน แต่ละประเทศได้เริ่มแสวงหาจักรกลสงครามและทดสอบแนวรบอย่างจริงจัง ในปี 2016 ประเทศอังกฤษนำโดยกระทรวงกลาโหม (Ministry of Defense) ได้จัดให้มีการฝึกซ้อมสงครามหุ่นยนต์ (Robo-wars) ขึ้นโดยระดมเครื่องโดรน เรือและนวัตกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการสงครามต่างๆ เพื่อพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะลดการพึ่งพาทหารที่เป็นมนุษย์ลง
การทดสอบดังกล่าวถือเป็นการซ้อมรบประจำปีที่อังกฤษได้ร่วมทำกับ NATO โดยจักรกลสังหารจะใช้ชื่อรหัสว่า “นักรบไร้นาม 2016” โดยเริ่มทดสอบที่แนวฝั่งตะวันตกของสก๊อตแลนด์ นอกจากนี้ทางรัฐบาลยังได้เชิญชวนให้บริษัทเอกชนรวมทั้งภาคการศึกษาได้ร่วมแสดงเทคโนโลยีทางทหารและศึกษาความเป็นไปได้ในการนำข้อมูลไปวิเคราะห์อีกด้วย
นอกจากประเทศอังกฤษแล้ว ตุรกีก็เป็นอีกประเทศที่มีการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์เข้ามาใช้เป็นอย่างมาก ตุรกีได้ทุ่มเงินจำนวนมหาศาลถึง 20,000 ล้านเหรียญต่อปีเพื่อจัดหายุทธภัณฑ์อันทันสมัยเข้ามาเสริมเขี้ยวเล็บตนเอง ดวงวงเงินมากมายมหาศาลเน้นไปที่หุ่นยนต์สงครามและโดรนรวมทั้งการลงทุนในโครงการด้านความมั่นคงกว่า 700 โครงการทำให้ตุรกีเป็นประเทศที่มีกองทัพยิ่งใหฯเป็นอันดับ 2 ของ NATO
หนึ่งในกำลังรบสำคัญของตุรกีคือ Kargu โดรนระบบควบคุมตนเองเพื่อต่อต้านทหารและยานเกราะ โดยตัว Kargu มีระยะทำการถึง 5 กิโลเมตร และทำภารกิจได้ต่อเนื่อง 30 นาที ประเด็นสำคัญคือตัวโดรนสามารถติดตั้งและใช้งานโดยทหารเพียง 1 นายเท่านั้น และประสบความาสำเร็จในการทำภารกิจในสมรภูมิที่ลิเบียอีกด้วย หากมองในเรื่องระยะทางตุรกีเองก็มี Akinci ที่สามารถบินได้นานถึง 26 ชั่วโมงที่ระดับความสูง 38,000 ฟุต และสามารถบรรทุกของได้มากถึง 13 ตัน
เมื่อตำรวจนำหุ่นยนต์สังหารมาใช้ในภารกิจ
นอกจากจะเปลี่ยนภาพรวมของสงครามแล้ว หุ่นยนต์สังหารอาจถูกนำมาใช้เพิ่มเติมสำหรับภารกิจพิทักษ์สันติของตำรวจอีกด้วย ทางผู้บริหารระดับสูงของรัฐซาน ฟรานซิสโก ได้อนุมัติให้ทางการตำรวจของเมือง (The San Francisco Police Department: SFPD) สามารถนำหุ่นยนต์สังหารเข้าใช้งานได้ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ติดระเบิดทำลายล้างเพื่อภารกิจสุดอันตราย
ในปี 2016 ตำรวจเมือง Dallas ได้นำหุ่นยนต์ติดระเบิด C4 เข้าทำภารกิจต่อสู้กับ Sniper ที่โจมตีผู้คน แต่ทาง SFPD ยังไม่มีโอกาสได้ทดสอบการใช้งานหุ่นยนต์สังหารในงานภารกิจของตำรวจ แต่พวกเขาคาดว่าสถานการณ์ในอนาคตอาจทำให้หุ่นยนต์สังหารเข้ามามีส่วนร่วมในภารกิจที่สำคัญได้ โดยอาจเริ่มต้นจากหุ่นยนต์ติดระเบิดเพื่อทำลายฐานทัพเสริมเกราะหรือโครงสร้างตึกที่เก็บของอันตราย เช่น อาวุธสงคราม เป็นต้น
การต่อต้านหุ่นยนต์สังหาร
ถ้าหุ่นยนต์มีประโยชน์แต่ก็อันตรายขนาดนั้นย่อมมีผู้ที่ไม่ต้องการให้หุ่นยนต์กลายเป็นอาวุธในการล่าสังหารอย่างสิ้นเชิง ข้อดีของหุ่นยนต์ที่ตัดสินใจจาก algorithm อย่างรวดเร็วเที่ยงตรงกลายเป็นปัญหาทันทีเมื่อ Algorithm อาจไม่ถูกต้องส่งผลให้การติดสินใจของหุ่นยนต์นั้นผิดพลาดและอาจก่อให้เกิดอันตรายกับผู้บริสุทธิอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้นักวิจัยเริ่มมีการนำระบบปัญญาประดิษฐ์สุดล้ำยุค เช่น machine learning เข้ามาเสริมให้หุ่นยนต์สังหารมีความเก่งกาจมากขึ้น แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าตัวหุ่นยนต์เองได้เรียนรู้ในสิ่งที่ถูกที่ควรจนไม่เกิดปัญหา
คุณ Vanessa Vohs นักวิจัยจาก German Armed Forces University และนักวิจัยอีกหลายท่านได้ตั้งคำถามสำคัญที่สุดคือเมื่อหุ่นยนต์ได้ก่อความผิดพลาด ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบอาชญากรรมที่เกิดขึ้น? นอกจากนี้ชิ้นส่วนของหุ่นยนต์ที่มีขนาดเล็กลง และราคาที่ต่ำลง แต่ประวิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งโปรแกรมที่สามารถเขียนได้ง่ายทำให้การสร้างหุ่นยนต์สังหารทำได้ง่ายขึ้นมาก และจะมีมาตรการควบคุมการผลิตหุ่นยนต์สังหารได้อย่างไร? และใครจะเป็นคนออกกฎดังกล่าว? ยังเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบต่อไ
Ref: https://www.washingtonpost.com/opinions/2022/12/03/san-francisco-police-robot-killer-satire/
Ref: https://missionlocal.org/2022/11/killer-robots-to-be-permitted-under-sfpd-draft-policy/
Ref: https://www.sciencealert.com/killer-robots-are-already-here-they-just-dont-look-like-you-think
Ref: https://theconversation.com/eye-in-the-sky-movie-gives-a-real-insight-into-the-future-of-warfare-56684
Ref: https://www.theguardian.com/science/2016/mar/16/ministry-defence-military-exercise-killer-robots-nato-joint-warriors
Ref: https://www.forbes.com/sites/amirhusain/2022/06/30/turkey-builds-a-hyperwar-capable-military/?sh=7c3acd455e11
Ref: https://edition.cnn.com/2016/07/12/us/dallas-police-robot-c4-explosives/index.html
Ref: https://www.bbc.com/news/technology-63816454