หนี้สาธารณะของไทยกำลังจะแตะสิบล้านล้าน
ขึ้นชื่อว่า 'หนี้' คงไม่มีใครอยากจะมี อยากจะเป็น แม้ว่าหนี้จะมีหลายอย่างที่อาจส่งผลประโยชน์ได้ แต่ส่วนใหญ่แล้วหนี้มักจะก่อให้เกิดภาระและปัญหามากมาย หนี้ไม่ว่าจะมากหรือน้อยล้วนแต่สร้างความยุ่งยากและต้องใช้เวลาเพื่อสะสางมัน
หนี้ในระดับประเทศของไทยก็เช่นเดียวกัน โดยข้อมูลหนี้สาธารณะของไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงการระบาดของโรคไวรัสโคโรนา ที่ทำให้รัฐบาลต้องเร่งกู้เงินเพิ่มอีกมากถึง 1.5 ล้านล้านบาท
และนี่คือข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี ตั้งแต่ปี 2556 ถึง 2565 แสดงสถิติหนี้สาธารณะของไทย รวมถึงมูลค่า GDP และสัดส่วนหนี้คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อ GDP
- ปี 2556 หนี้ 5.43 ล้านล้านบาท / GDP 12.87 ล้านล้านบาท / หนี้คิดเป็น 42.19%
- ปี 2557 หนี้ 5.69 ล้านล้านบาท / GDP 13.13 ล้านล้านบาท / หนี้คิดเป็น 43.33%
- ปี 2558 หนี้ 5.78 ล้านล้านบาท / GDP 13.59 ล้านล้านบาท / หนี้คิดเป็น 42.56%
- ปี 2559 หนี้ 5.99 ล้านล้านบาท / GDP 14.35 ล้านล้านบาท / หนี้คิดเป็น 41.75%
- ปี 2560 หนี้ 6.37 ล้านล้านบาท / GDP 15.25 ล้านล้านบาท / หนี้คิดเป็น 41.78%
- ปี 2561 หนี้ 6.78 ล้านล้านบาท / GDP 16.16 ล้านล้านบาท / หนี้คิดเป็น 41.95%
- ปี 2562 หนี้ 6.90 ล้านล้านบาท / GDP 16.82 ล้านล้านบาท / หนี้คิดเป็น 41.04%
- ปี 2563 หนี้ 7.85 ล้านล้านบาท / GDP 15.90 ล้านล้านบาท / หนี้คิดเป็น 49.35%
- ปี 2564 หนี้ 9.34 ล้านล้านบาท / GDP 16.01 ล้านล้านบาท / หนี้คิดเป็น 58.31%
- ปี 2565 หนี้ 9.83 ล้านล้านบาท / GDP 16.33 ล้านล้านบาท / หนี้คิดเป็น 60.17%
ได้แต่หวังว่าสถานการณ์หนี้สาธารณะของไทยจะดีขึ้นเร็วๆนี้นะครับ