ทำไมไทยไม่ผ่านกฎมายแต่งงานเพศเดียวกัน?
'กลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ' หรือที่เรียกเป็นตัวย่อว่า LGBTQIA+
คือคนกลุ่มหนึ่งในสังมคมไทย(และสังคมโลก) ที่มีบทบาทสำคัญในแวดวงสังคม
ในทุกระดับชั้น ทุกตำแหน่งและสาขาอาชีพ กลุ่มคนเหล่านี้ล้วนมีทักษะ
มีความสามารถ มีความรับผิดชอบและล้วนเป็นส่วนหนึ่ง
ในกลไกการพัฒนาประเทศชาติ เช่นเดียวกับกลุ่มคนรักต่างเพศ (Straight)
แต่กลับกลายเป็นว่าในหลายบริบทของสังคม ยังคงกีดกัน
แบ่งแยก หรือด้อยค่ากลุ่มคนเหล่านี้อยู่ แม้ยุคสมัยจะเปลี่ยนไปมากแล้วก็ตาม
โดยหนึ่งในหัวข้อที่มีการเรียกร้องให้มีการแก้ไขในบทกฎหมายกันมากที่สุด
ก็คือเรื่องกฎหมายการสมรส ซึ่งในปัจจุบันกฎหมายไทย 'ยังไม่อนุญาต'
ให้มีการแต่งงานในเพศเดียวกันได้อย่างถูกกฎหมาย เหมือนอีกหลายประเทศ
ทั้งในฝั่งยุโรปและอเมริกา ทำให้หลายคนหลายฝ่ายออกมายื่นเรื่องเรียกร้องในปัจจุบัน
ข้อกฎหมายที่เป็นปัญหา และมีการเรียกร้องให้แก้ไข
ก็คือ 'ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์(ป.พ.พ.) ว่าด้วยการสมรส
โดยเฉพาะบรรพ 5 ครอบครัว ที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2519 เพื่อแก้ไขข้อจำกัดเดิม
ที่กำหนดให้ 'การสมรสมีเฉพาะ ชาย - หญิง' ให้เป็น 'การสมรสระหว่างบุคคลสองฝ่าย'
เพื่อจำกัดข้อจำกัดเดิมที่การสมรสถูกสงวนไว้ให้เฉพาะกับคู่แต่งงาน ชาย-หญิง เท่านั้น
โดยข้อมูลที่เผยแพร่จากทางการยังให้ความเห็นไปในทิศทางเดิมว่า
กฎหมายเดิมมีพื้นฐาน " เป็นไปตามหลักธรรมชาติ " คือการแต่งงานมีขึ้นเพื่อการดำรงเผ่าพันธุ์
เพื่อสืบทอดประเพณีกันต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งคู่รักที่เป็น LGBTQ
อาจไม่สามารถสร้างความผูกพันอันละเอียดอ่อนดังกล่าวได้
ปัจจุบันมีหลายพรรคการเมืองที่เคลื่อนไหวในเรื่องนี้อย่างจริงจัง
โดยเฉพาะ 'พรรคก้าวไกล' ที่ช่วยในเรื่องการผลักดันแก้ไขกฎหมาย
และแม้ในตอนนี้เราจะยังไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอะไรนัก
แต่น่าเชื่อได้ว่าอนาคตอาจมีอะไรดีๆตามมาอีกอย่างน่นอน