ชาวนา:อาชีพที่มีแต่จะขาดทุน
ประเทศไทยถือเป็นอีกหนึ่งประเทศเกษตรกรรมขนาดใหญ่
ที่มีกำลังการผลิตมากติดอันดับโลก โดยเฉพาะสินค้าเกษตรประเภทอาหาร
ธัญพืช ผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ ซึ่งมียอดการส่งออกมากมหาศาลในแต่ละปี
โดยมี 'ข้าว' เป็นสินค้าที่สร้างชื่อให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนาน
จากรายงานของกระทรวงพานิชย์ การส่งออกข้าวในช่วงเดือนมกราคม-ตุลาคม 2565
มีปริมาณ 6,203,270 ตัน มูลค่า 109,206.8 ล้านบาท (3,175.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
โดยปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้น 33.0% และมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น 32.4%
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2564 ที่มีการส่งออกปริมาณ 4,662,964 ตัน
มูลค่า 82,461.8 ล้านบาท (2,631.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับที่ 3 ของโลกในปัจจุบัน เป็นรองเพียงประเทศอินเดีย และเวียดนาม
แต่ถึงไทยจะเป็นผู้นำในด้านการส่งออกข้าวก็ตาม
ผู้ประกอบอาชีพเพาะปลูกข้าว หรือ 'ชาวนา' กลับไม่ได้ดูมีอนาคตหรือคุณภาพชีวิตที่ดีตามไปด้วย
เพราะที่ผ่านมาชาวนาไทยต้องทนแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นมาก
การได้ผลิตต่อไร่ลดลงจากปัญหาต่างๆ ทั้งเรื่องคุณภาพของดิน
หรือปริมาณน้ำฝนที่ไม่สม่ำเสมอในแต่ละฤดูกาล รวมไปถึงราคารับซื้อ
ที่ตกต่ำมาหลายปี สวนทางกับค่าใช้จ่ายในการผลิตที่มีแต่จะสูงขึ้นทุกวัน
โดยภาพรวมประเทศไทยยังคงรักษาชื่อเสียงในฐานะประเทศยักษ์ใหญ่
ในการผลิตและส่งออกข้าวไปยังตลาดโลกไว้ได้
แต่ชาวนาไทยที่ยิ่งทำก็ยิ่งมีแต่จะขาดทุน มีแต่สร้างหนี้สิน
ยังไม่แน่ใจนักว่าทางภาครัฐจะช่วยหาทางออกให้กับปัญหานี้อย่างไร
ก่อนที่ในอนาคตอันไกล้ ชาวนารุ่นใหม่ๆจะลดน้อยลงเรื่อยๆ
จนอาจจะหมดไปในที่สุด เพราะเป็นอาชีพที่ยิ่งทำ ก็ยิ่งขาดทุน