ต้นไม้ที่จับสัตว์กินเป็นอาหาร!!!
แม้เราจะคุ้นเคยกับเรื่องของ 'สัตว์กินพืช' ที่พบได้ทั่วไป แต่ในธรรมชาติยังมี 'พืชกินสัตว์' ที่มีเรื่องราวน่าสนใจอีกด้วยนะ ว่าแต่พืชกินสัตว์นี่มันคืออะไรล่ะ?
พืชกินสัตว์ คือพืชที่ได้รับสารอาหารบางส่วนหรือส่วนใหญ่ จากการดักจับและกินสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร คนแรกที่เขียนหนังสือเรื่องนี้ ก็คือ 'ชาลส์ ดาร์วิน' เมื่อปี 1875 คาดว่าในปัจจุบันจะมีพืชประเภทนี้อยู่ราวๆ 625 ชนิด พืชกินสัตว์แบ่งตามชนิดของ 'กับดัก' ที่เอาไว้จับสัตว์ ได้ 5 แบบ ได้แก่
- กับดักแบบหลุมพราง (Pitfall traps, pitcher) เป็นกับดักที่เกิดจากใบที่ม้วนงอภายในบรรจุด้วยเอนไซม์ย่อยอาหารหรือแบคทีเรีย
- กับดักแบบกระดาษเหนียว (Flypaper traps) เป็นกับดักที่ใช้เมือกเหนียว
- กับดักแบบตะครุบ (Snap traps) เป็นกับดักแบบหุบเพราะสัมผัส
- กับดักแบบถุง (Bladder traps) เป็นกับดักดูดเหยื่อด้วยถุงที่ภายในเป็นสูญญากาศ
- กับดักแบบหม้อดักกุ้งมังกร (Lobster-pot traps) เป็นกับดักบังคับเหยื่อเคลื่อนที่ไปยังส่วนย่อยอาหารด้วยขนภายใน
กับดักแบ่งเป็นมีปฏิกิริยาและไม่มีปฏิกิริยาขึ้นกับการเคลื่อนไหวที่ช่วยในการจับเหยื่อ เช่น Triphyopyllum เป็นกับดักแบบกระดาษเหนียวไม่มีปฏิกิริยาด้วยต่อมเมือกไร้ก้าน แต่ใบของมันไม่เติบโต (แตกกิ่ง) หรือเคลื่อนที่เพื่อตอบสนองต่อการจับเหยื่อ ขณะที่หยาดน้ำค้างเป็นกับดักแบบกระดาษเหนียวมีปฏิกิริยา ใบของมันแตกกิ่งอย่างรวดเร็ว ช่วยในการจับและย่อยเหยื่อ
ในประเทศไทยพบได้หลายชนิด บางชนิดยังนิยมปลูกเป็นไม้ประดับและเอาไว้ช่วยดักจับแมงอีกด้วย เช่น
- 'กาบหอยแครง (Venus Flytraps)' มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dionaea Muscipula
- 'หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Monkey Cups)' มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nepenthes Mirabilis
- 'ซาราซีเนีย (Sarracenia)' เป็นพืชที่ได้รับฉายาว่า ราชินีแห่งต้นไม้กินแมลง
- 'หยาดน้ำค้าง' จอกบ่วาย หรือกระดุมทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Drosera burmannii Vahl.