'นิวตรอน' ดาวดวงน้อยที่หนาแน่นอย่างมหาศาล
มนุษย์เราพยายามทำการศึกษาเกี่ยวกับดวงดาวมานานหลายพันปีแล้ว
ผ่านช่วงเวลาอันยาวนานและการพัฒนาของเทคโนโลยีอวกาศอย่างไม่หยุดนิ่ง
เราได้ค้นพบและทำความรู้จักกับเรื่องราวในห้วงอวกาศอย่างมากมาย
และหลายเรื่องก็ยังคงดูน่าอัศจรรย์และชวนให้ตื่นตะลึงได้เสมอ
เช่นเดียวกับเรื่องราวของ 'ดาวนิวตรอน' ดาวดวงเล็กที่น่าสนใจไม่แพ้ใคร
ดาวนิวตรอน (Neutron Star) เป็นซากที่เหลือจากยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์โนวา
ชนิด II,Ib หรือ Ic และจะเกิดเฉพาะดาวฤกษ์มวลมาก
ดาวนิวตรอนมีมวลประมาณ 1.35 ถึง 2.1 เท่ามวลดวงอาทิตย์และมีรัศมี 20 ถึง 10 กิโลเมตรตามลำดับ
(เมื่อดาวนิวตรอนมีมวลเพิ่มขึ้น รัศมีของดาวจะลดลง) ดาวนิวตรอนจึงมีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์ 30,000 ถึง 70,000 เท่า
ดังนั้นดาวนิวตรอนจึงมีความหนาแน่นที่ 8*1013 ถึง 2*1015 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
'ดาวนิวตรอน (Neutron star)' มีขนาดเล็กมาก แต่มีความหนาแน่นสูงมาก
เนื้อสารของดาวนิวตรอน 1 ช้อนชา มีมวลถึง 120 ล้านตัน
(อะตอมของสสารบนโลกมีที่ว่าง 99.999% ของอะตอม แต่ดาวนิวตรอนไม่มีที่ว่างอยู่เลย
จึงสามารถบีบอัดมวลมหาศาลให้มีปริมาตรเล็กได้) อะตอมของดาวนิวตรอนไม่มีช่องว่างระหว่างโปรตรอน (ประจุบวก)
และอิเล็กตรอน (ประจุลบ) ทำให้ประจุบวกและประจุลบอยู่ชิดติดกัน จึงเป็นที่มาของคำว่า "นิวตรอน" (ประจุกลาง)
อย่างไรก็ตาม ดาวนิวตรอนมีลิมิตมวลไม่เกิน 3 เท่าของดวงอาทิตย์ ถ้าหากมีมวลมากกว่านี้
แรงโน้มถ่วงของดาวจะเอาชนะแรงดันดีเจนเนอเรซีของดาวนิวตรอน ทำให้แก่นดาวยุบตัวเป็นหลุมดำ
ซึ่งมีสนามแรงโน้มถ่วงสูง มีอัตราความเร่งสามารถเอาชนะความเร็วแสง แม้แต่แสงยังไม่สามารถหนีหลุดออกมาได้
ปัจจุบันเรามีเทคโนโลยีและเครื่องมีที่สามารถตรวจจับและถ่ายภาพดาวนิวตรอนได้แล้ว
โดยการค้นพบดาวนิวตรอน อาร์เอกซ์ J185635-3754
ถือเป็นการค้นพบครั้งแรกในขอบเขตของแสงที่มองเห็นได้