ปลูกแอปเปิ้ลที่ภาคอีสานจะออกดอกออกผลหรือเปล่า?
แอปเปิ้ล ถือเป็นผลไม้ยอดนิยมอีกชนิดหนึ่ง
ที่วางจำหน่ายทั่วโลก แอปเปิ้ลเป็นพืชพันธุ์ผลไม้เมืองหนาว
ที่เติบโตและให้ผลผลิตได้ดีในพื้นที่ที่มีอากาศเย็น
นั่นทำให้ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องนำเข้าผลไม้ชนิดนี้เป็นจำนวนมาก
เพื่อตอบสนองความต้องการบริโภคในแต่ละปี จนเริ่มมีคนพัฒนาสายพันธุ์
ให้สามารถเพาะปลูกในเมืองร้อนอย่างประเทศไทยได้ด้วย
ในประเทศไทย นำเข้าแอปเปิ้ลแต่ละปีไม่ต่ำประมาณ 7,000 ล้านบาท
แต่ในอนาคตอันใกล้นี้ ในภาคอีสานที่พื้นดินที่แห้งแล้งอากาศร้อน จะกลายเป็นแหล่งปลูก 'แอปเปิ้ลพันธุ์ฟูจิ'
ที่ใช้นวัตกรรมตัดต่อเนื้อเยื้อ โดยมุ่งหวังจะเป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ในอนาคต นับตั้งแต่ปี 2565 เป็นต้นไป
รูปร่างใหม่ของแอปเปิ้ลพันธุ์ฟูจิจะปรากฎให้เห็นที่จังหวัดมหาสารคามเป็นที่แรกๆในไทย
แอปเปิ้ลพันธุ์ฟูจิ เป็นแอปเปิ้ลลูกผสมที่พัฒนาโดยนักวิจัยที่สถานีวิจัยโตโฮกุ ในฟูจิซากิ,
อาโอโมริ, ประเทศญี่ปุ่นในช่วงปลายทศวรรษ 1930 และได้นำออกสู่ตลาดในปี 1962
มีต้นกำเนิดมาจากการผสมข้ามระหว่างแอปเปิ้ลอเมริกันสองสายพันธุ์ คือ Red Delicious และ Virginia Ralls Genet
แอปเปิ้ลฟูจิเป็นหนึ่งในสายพันธุ์แอปเปิ้ลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดจากทั้งหมด 15 สายพันธุ์ในสหรัฐอเมริกา
โดยชื่อฟูจิ มาจากชื่อแรกของเมืองต้นกำเหนิดที่พัฒนาพันธุ์ขึ้นมา คือเมือง Fujisaki
ทั้งนี้ คาดว่า ในปี 2565 จะสามารถผลิตต้นแอปเปิ้ลพันธุ์ฟูจิให้ออกสู่ตลาดจำนวน 500,000 ต้น
จากขณะนี้ได้สนับสนุนให้สมาชิกปลูกคนละ 10 ต้น มีราคาจำหน่ายอยู่ที่ต้นละ 1,500 บาท
จึงเป็นการสร้างรายได้ให้กับกลุ่มเกษตรกรเพิ่มขึ้นอีกด้วย