ต้องมุดดินลงไปอีกกี่เมตรถึงจะได้เจอกับรถไฟใต้ดิน
คนที่ใช้ชีวิตในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
น่าจะคุ้นเคยดีกับการได้ใช้บริการรถไฟฟ้าที่มีให้บริการอยู่สายเส้นทาง
ซึ่งถือเป็นระบบขนส่งสาธารณะสมัยใหม่ที่ทันสมัย และมีประโยชน์มาก
รถไฟฟ้าช่วยลดการใช้รถส่วนบุคคลบนท้องถนนลงไปได้มาก
ซึ่งช่วยให้ปริมาณการปล่อยมลพิษน้อยลงไปด้วย
แต่ไม่ว่าการมีรถไฟฟ้าจะมีประโยชน์มากก็ตาม การก่อสร้างก็ถือว่ายุ่งยาก
อันตราย และต้องใช้งบประมาณเป็นอย่างมาก โดยหนึ่งในเรื่องที่หลายคน
อาจจะเคยสงสัยแต่ยังไม่เคยได้รู้ เกี่ยวกับระบบรถไฟใต้ดิน
ก็คือ 'มันสร้างลึกลงไปจากระดับพื้นดินมากแค่ไหน' ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมาก
ปัจจุบันประเทศไทยมีรถไฟฟ้าใต้ดินเปิดให้บริการอยู่เฉพาะในเขตกรุงเทพและปริมณฑล
โดยความลึกของอุโมงค์รถไฟนั้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย
สถานีที่อุโมงค์ถูกขุดลึกลงไปจากผิวดินมากที่สุดในปัจจุบัน คือ
เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย จาก “สถานีสนามไชย” ซึ่งเป็นสถานีสุดท้ายของฝั่งพระนคร
เชื่อมต่อไปยัง “สถานีอิสรภาพ” ซึ่งเป็นสถานีใต้ดินแห่งแรกของฝั่งธนบุรี
โดยรถไฟฟ้าจะวิ่งในอุโมงค์ลอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา
อุโมงค์ลอดข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในส่วนที่เชื่อมระหว่างสองสถานีนี้
อยู่ลึกลงไปใต้ผิวดินของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยช่วงที่ลึกที่สุดมีความลึกที่ 38 เมตร
** ตัวแม่น้ำเจ้าพระยานั้นมีความลึกเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20 เมตร
ตัวอุโมงค์รถไฟฟ้านั้นขุดลึกลงไปจากก้นแม่น้ำอีก10 เมตร
เท่ากับว่าอุโมงค์นี้อยู่ลึกถึง 30 เมตรจากผิวดิน
ซึ่งก็ถือว่าเป็นการขุดอุโมงค์ที่ลึกมาก หรือสามารถเทียบเท่าได้กับตึกที่มีความสูง 10 ชั้น
ถือเป็นความท้าทายทางวิศวกรรมที่น่าทึ่งจริงๆครับ