กลุ่มคนสุดพิเศษที่เดินตัวเปล่าหาปลาใต้ท้องทะเล
แม้จะเป็นมนุษย์เหมือนๆกัน แต่พอมีถิ่นที่อยู่แตกต่างกัน เจอสภาพแวดล้อมและข้อจำกัดต่างๆ มนุษย์ก็จำเป็นต้องมีการปรับตัว เพื่อการเอาตัวรอด โดยมีทั้งการปรับตัวภายนอกอย่างการสร้างสิ่งประดิษฐ์ หรือเครื่องนุ่งห่มให้เหมาะสม ไปจนถึงการปรับตัวทางกายภาพ คือค่อยๆใช้เวลา ให้ร่างกายปรับตัวเข้ากับสภาพ วดล้อมนั้นๆ จนมีทักษะพิเศษที่คนในพื้นที่อื่นๆไม่มี อย่างเช่นเรื่องราวของผู้คนกลุ่มนี้ ที่ทำให้คนทั้งโลกต้องตกตะลึง
นี่คือกลุ่มชาติพันธุ์ 'บาเจา (Bajau)' ชาวทะเลกลุ่มหนึ่งในประเทศอินโดนีเซีย โดยผลการศึกษาของผู้เชี่ยวชาญระบุว่า กลุ่มชาติพันธุ์ "บาเจา" (Bajau) ซึ่งเป็นชาวเลที่ล่องเรือเร่ร่อนหาเลี้ยงชีพอยู่ในน่านน้ำ ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีวิวัฒนาการจนขนาดของม้ามใหญ่กว่าคนทั่วไปถึง 50% ซึ่งลักษณะที่ทำให้ดำน้ำได้อึดเช่นนี้ เป็นการปรับตัวทางพันธุกรรมให้สอดรับกับวิถีการดำรงชีวิต ที่ต้องดำน้ำบ่อยครั้งร่วมวันละ 8 ชั่วโมง ผลการศึกษาดังกล่าวตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Cell โดยระบุว่า คณะนักวิจัยนานาชาติได้ใช้เครื่องอัลตราซาวด์แบบพกพาตรวจวัดขนาดม้ามของชาวบาเจา 43 คนในอินโดนีเซีย เปรียบเทียบกับม้ามของกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ที่ใช้ชีวิตบนบกและทำการเกษตรเป็นหลักอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน คณะผู้วิจัยพบว่าชาวบาเจามีม้ามขนาดใหญ่กว่าคนทั่วไปมาก โดยม้ามนั้นเป็นอวัยวะที่ช่วยขจัดเซลล์เม็ดเลือดเก่า รวมทั้งกักเก็บเซลล์เม็ดเลือดแดงที่อิ่มด้วยออกซิเจนเอาไว้ ทำให้เป็นเสมือนถังเก็บอากาศเพื่อช่วยหายใจของนักประดาน้ำ
ผลการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของชาวบาเจาพบว่า มีการกลายพันธุ์ในยีนหลายตำแหน่ง ซึ่งสามารถพบได้ในประชากรชาวบาเจาจำนวนมาก ทั้งในกลุ่มที่เป็นนักดำน้ำและผู้ที่ไม่ได้ดำน้ำเป็นประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยีน PDE10A ซึ่งควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมธัยรอยด์ที่เป็นตัวการกำหนดขนาดของม้าม "ชาวบาเจาใช้เวลากว่า 60% ในแต่ละวันอยู่ใต้น้ำ โดยการดำน้ำแต่ละครั้งจะใช้เวลานานหลายนาที และจะดำลงลึกกว่า 70 เมตรแบบตัวเปล่าโดยแทบไม่มีอุปกรณ์ช่วย"
ถือเป็นทักษะพิเศษที่ไม่มีใครสามารถเลียนแบบได้จริงๆ อย่าไปหาลองกันเด้อพี่น้อง จมน้ำไม่รู้ด้วยนะ