ไตเสื่อมเรื้อรัง
ไตเสื่อมเรื้อรัง
ไตของคนเรา มีอยู่สองข้าง บริเวณเอว ใช้กรองของเสีย แลกเปลี่ยนเกลือแร่ และสมดุลน้ำ ในร่างกาย
หากเสื่อมไป หรือ ดูแลไม่ดี จนต้องเสียไป จะมีผลร้ายต่อร่างกายมากมาย
สำหรับคนที่ไปตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะประจำปี ก็จะทราบว่าค่าไต ตัวเองเป็นเช่นไร จะมีคำหนึ่งที่น่าสนใจ คือ eGFR คืออัตราการกรองของเสียของไต ซึ่งจะสามารถใช้บอกระยะของโรคไตเรื้อรังได้
โรคไตเรื้อรัง ค่าอัตราการกรองของไตจะผิดปกติ แบ่งดังนี้
CKD1 eGFR ยังมากกว่า 90 เป็นโรคไตเสื่อมเรื้อรังระยะแรกจะไม่มีอาการ แต่ตรวจพบสิ่งปกติในเลือดหรือปัสสาวะ เช่นค่า creatinineสูงหรือค่า ureaสูง
CKD2 eGFR ระหว่าง 60-89 อัตราการกรองของไต ลดลงเล็กน้อย
CKD3a eGFR ระหว่าง 45-59 อัตราการกรองของไต ลดลงเล็กน้อย-ปานกลาง
CKD3b eGFR ระหว่าง 30-44 อัตราการกรองของไต ลดลงเล็กน้อย-ปานกลาง
CKD4 eGFR ระหว่าง 15-29 อัตราการกรองของไต ลดลงเล็กมาก เริ่มต้องปรึกษาการฟอกไต
CKD5 eGFR น้อยกว่า 15 อัตราการกรองของไต เสียหายสุดๆ ต้องฟอกไต
อาการของไตเสื่อม ถ้าเริ่มสังเกต อย่างเช่น มีปัสสาวะบ่อยกลางคืน, ขาบวม กดบุ๋ม , ความดันโลหิตเริ่มสูงขึ้น, คลื่นไส้อาเจียน,เบื่ออาหาร,คันตามตัว, ผู้หญิงรอบเดือนผิดปกติอาจขาดหายไป ส่วนผู้ชายสมรรถภาพทางเพศลดลง แต่ถ้าปล่อยไปจนเสื่อมถึงระยะ 5 จะมีคลื่นไส้อาเจียนมากขึ้น บวม หอบเหนื่อย ความดันโลหิตสูงแต่ โลหิตจาง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ซึมลง ชัก และเสียชีวิตได้
ไตเริ่มเสื่อมตอนไหน ... ความเสี่ยงคือ ผู้สูงอายุ ,คนที่มีโรคเบาหวาน ความดัน หลอดเลือดหัวใจและสมอง, คนที่เป็นเกาท์,คนที่กินยาบ่อย โดยเฉพาะยาแก้ปวด และสเตียรอยด์, คนที่เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะ, ประวัติครอบครัวถ้ามีคนเป็นไตเสื่อมเรื้อรัง และคนที่น้ำหนักเกิน
หากไตเสื่อมระยะแรกๆ ต้องชะลอความเสื่อมด้วยการ
1.ควบคุมโรคประจำตัว ให้ความดันไม่สูง เบาหวานไม่เกิน ไขมันไม่สูง
3.งดบุหรี่ แอลกอฮอลล์ ยาเสพติด
4.ควบคุมโซเดียม ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ในอาหาร , กินโปรตีนในปริมาณเหมาะสม
5.เลี่ยงยาที่มีผลเสียต่อไต( ยาแก้ปวด, ยาลูกกลอน, สเตียรอยด์) แต่ให้ยาที่ช่วยชะลอความเสื่อมของไต
6.ออกกำลังกาย เพิ่มภูมิต้านทาน
7.พบแพทย์ตามนัด