Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

เรือดำน้ำที่เคยประจำการในกองทัพไทย

เนื้อหาโดย origin



เรือดำน้ำ
ถือเป็นยุทโธปกรณ์สำคัญอีกชนิดหนึ่ง

ที่กองทัพต่างๆทั่วโลกยอมลงทุนด้วยเงินก้อนใหญ่ เพื่อให้ได้มาไว้ในประจำการ
โดยในปัจจุบันเรือดำน้ำถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เราสร้างเรือดำน้ำขนาดที่เล็กสามารถดำน้ำในระดับที่ลึกมาก
เพื่อทำงานเฉพาะกิจบางอย่าง เช่น การสำรวจซากเรือโบราณ, การวางสายเคเบิลใต้น้ำ, การหาร่องรอยของแผ่นดินไหว
และการศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล ซึ่งทำให้มนุษย์เราสามารถจะเข้าถึงโลกใต้ทะเลที่เราไม่เคยสัมผัสมาก่อน
ในประเทศไทยเองก็เคยมีเรือดำน้ำประจำการในกองทัพเรือมาแล้ว ก่อนจะทยอยปลดประจำการจนหมด
วันนี้เราจะพาไปดูกันว่า เรือดำน้ำในอดีตที่เราเคยมีจะหน้าตาเป็นยังไง หรือชื่ออะไรบ้าง



เรือหลวงสินสมุทร (HTMS Sinsamut)
เป็นเรือดำน้ำประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่งขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน)
ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ โกเบ ประเทศญี่ปุ่น มีความยาว 51 เมตร กว้าง 4.1 เมตร
มีระวางขับน้ำขณะดำ 430 ตัน เข้าประจำการเมื่อเดือนกรกฎาคม 2481 และปลดประจำการเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2494


เรือหลวงมัจฉาณุ (HTMS Matchanu)

เป็นเรือดำน้ำประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่งขนาดเล็ก มีความยาว 51 เมตร กว้าง 4.1 เมตร
จุลูกเรือได้ทั้งหมด 33 นาย เรือลำนี้เข้าประจำการและปลดระวางพร้อมกันกับเรือหลวงสินสมุทร




เรือหลวงพลายชุมพล (HTMS Phlai-chumphon)
เป็นประเภทเรือดำน้ำรักษาฝั่งขนาดเล็ก (ระวางขับน้ำต่ำกว่า 500 ตัน) ประกอบขึ้นที่อู่ต่อเรือบริษัทมิตซูบิชิ 
เมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น พร้อมกันจำนวน 4 ลำ พร้อมกับ เรือหลวงมัจฉานุ เรือหลวงวิรุณ และเรือหลวงสินสมุทร 
โดยเรือหลวงพลายชุมพล ประกอบขึ้นพร้อมกับเรือหลวงสินสมุทร แต่มีรูปแบบแตกต่างกัน



เรือหลวงวิรุณ (HTMS Wirun)
เรือหลวงวิรุณ ประกอบขึ้นพร้อมกับเรือหลวงมัจฉาณุ แล้วเสร็จสมบูรณ์เมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2480
ทางบริษัทมิตซูบิชิได้จัดพิธีส่งมอบให้เป็นกรรมสิทธิของกองทัพเรือไทย และนำลูกเรือเข้าประจำเรือ
กองทัพเรือไทยจึงถือว่าวันที่ 4 กันยายน เป็น วันที่ระลึกเรือดำน้ำ


เรือดำน้ำของไทยทั้งสี่ลำ เดินทางออกจากเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น
เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2481 ถึงกรุงเทพเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2481
เข้าประจำการเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2481
ได้ออกปฏิบัติการในสงครามอินโดจีนกับฝรั่งเศส และสงครามโลกครั้งที่สอง

เนื้อหาโดย: นำทาง
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
origin's profile


โพสท์โดย: origin
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
มาเป็นคนแรกที่ VOTE ให้กระทู้นี้
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ผู้ว่าฯ ตรวจเงินแผ่นดิน ! ส่งจดหมายตัดพ้อชีวิต โอดครวญโดนวิจารณ์ยับ แบบไม่แฟร์!"🐠 แซลมอนเมืองไทย! ปรากฏการณ์ “ปลากอง” ที่บ้านผาสุก น่านภาพของเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ Felicity Ace บรรทุกรถหรูมากถึง 4000 คันที่มุ่งหน้าจากเยอรมนีไปสหรัฐฯ จมลงกลางแอตแลนติกเปิดค่าตัว ‘อาม ชุติมา’ หลังคว้าตำแหน่ง ณวัฒน์ประกาศพร้อมรับงานเต็มตัว!พบอีก 5 ชีวิตใต้ซากตึกถล่ม ทีมกู้ภัยเร่งค้นหาผู้สูญหาย"ปิดตำนาน น้ำพุร้อนเหมืองแร่ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน หลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว!ระทึก! ระเบิดท่อส่งก๊าซปิโตรนาส เมืองปูซอง รัฐสลังงอร์ ไฟลุกสูงเทียบตึก 20 ชั้นมัดรวมเลขเด็ดสำนักพิมพ์ ไทยรัฐ เดลินิวส์บางกอกทูเดย์ งวดวันที่ 1 เมษายน 2568จากเหตุการณ์ของคิมซูฮยอนล่าสุด หลังแถลงข่าว ทำให้ชาวเกาหลีใต้ที่เดือดดาล ตั้งแคมเปญล่ารายชื่อเพื่อแก้ไขกฎหมายนี้และปรับเกณฑ์อายุอีกครั้งจาก 16 ปีเป็น 19 ปีเฮ! ค่าไฟลดแล้ว! ครม. ไฟเขียว 4 เดือน จ่ายแค่ 3.99 บาท/หน่วยราชกิจจาฯ เผยกฎกระทรวง เพิ่ม “3 กลุ่มโรค” ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ราคาครุภัณฑ์ อาคาร สตง. เก้าอี้ห้องประชุม ตัวละ 97,900 บาท ชาวเน็ต ตั้งคำถามแพงเฮ! ค่าไฟลดแล้ว! ครม. ไฟเขียว 4 เดือน จ่ายแค่ 3.99 บาท/หน่วย10 สิ่งต้องห้าม! ที่ไม่ควรทำเด็ดขาดเมื่อเกิดแผ่นดินไหวราชกิจจาฯ เผยกฎกระทรวง เพิ่ม “3 กลุ่มโรค” ไม่ต้องเกณฑ์ทหาร
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ว่านสี่ทิศ NK1 ฝีมือคนไทยfurious: บ้าระห่ำ กราดเกรี้ยวบ้านเรือนไม้ทรงปั้นหยาแห่งสกุลล่ำซำ – มรดกสถาปัตยกรรมริมทะเลจากสมัยรัชกาลที่ 7เจาะลึกป้อมชิตตอร์การห์: สถาปัตยกรรมสุดอลังการแห่งอินเดีย
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง