คดีความที่ถูกพิพากษาให้จำคุกคนละหนึ่งแสนห้าหมื่นปี!
การลงโทษผู้กระทำผิดทางกฎหมายด้วยการ 'ขัง' ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาที่พบเจอได้ทั่วไป โดยความหนักเบา หรือระยะเวลาที่จะถูกขังในเรือยจำนั้นก็แตกต่างกันไปโดยหลายปัจจัย ที่ผ่านมาในประเทศไทยเองก็มีคดีความใหญ่ที่ถูกพูดถึงกันในวงกว้าง ผู้ต้องหาถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง และถุกพิพากษาให้รับโทษหลายปีในห้องขัง แต่เชื่อแน่ว่าหลายคนที่ทันได้เห็นข่าวนี้จะต้องจำได้แน่ เพราะนี่คือ คดีที่ผู้ต้องหาถูกพิพากษาให้จำคุกนานถึงกว่า '150,000' ปี
คดีสุดอื้อฉาวที่เป็นตำนานนี้คือ 'คดีแชร์ชม้อย หรือ คดีนางชม้อย ทิพย์โส' คดีนี้กล่าวหานางชม้อย ทิพย์โส หรือประเสริฐศรี หรือที่ประชาชนเรียกติดปากว่า แม่ชม้อย กับพวกรวม 10 คน ผู้ต้องหา ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และฝ่าฝืนพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
คดีดังกล่าวเป็นคดีความผิดพลาดทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับการฉ้อโกง จากการระดมเงินจากประชาชน ที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2520-2528 โดยการระดมเงินจากประชาชนในรูปการเล่นแชร์น้ำมัน ซึ่งนางชม้อย ทิพย์โส ได้คิดค้นขึ้น มีผู้เสียหายจำนวน 13,248 คน รวมให้กู้ยืมเงินไปทั้งสิ้น 23,519 ครั้ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 4,043,997,795 บาท และผู้เสียหายที่ให้กู้ยืมเงินภายหลังพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินฯ ประกาศใช้บังคับ (ตั้งแต่วันที่ 13 พฤศจิกายน 2527 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2528) เป็นผู้เสียหายจำนวน 2,983 คน รวมให้กู้ยืมเงินไปทั้งสิ้น 3,641 ครั้ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 510,584,645
คดีนางชม้อย ทิพย์โส ได้ใช้เวลาสืบพยานในศาลเป็นเวลาประมาณ 4 ปี จนศาลได้มีคำพิพากษา ถึงที่สุดเมื่อ 27 กรกฎาคม 2532 ศาลอาญาจึงได้พิพากษาว่า จำเลยทั้งแปดมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน โดยจำคุกจำเลยทั้งแปด ฐานฉ้อโกงประชาชนตามประมวลกฎหมายอาญา รวมจำคุกคนละ 154,005 ปี แต่เมื่อรวมโทษทุกกระทงคงจำคุกทั้งสิ้นคนละ 20 ปี เพราะประมวลกฎหมายอาญาให้จำคุกไม่เกิน 20 ปี และให้นางชม้อย กับพวกร่วมกันคืนเงินที่ฉ้อโกงด้วย นางชม้อย จำคุกอยู่ในเรือนจำเพียง 7 ปี 11 เดือน 5 วัน เพราะได้รับการลดลงโทษ 2 ครั้ง และพ้นโทษเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2536
ถือเป็นคดีความระดับตำนานครั้งหนึ่งของประเทศไทยเลยทีเดียว