เหตุการณ์ไฟฟ้าดับครั้งที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์
ไฟฟ้าดับ ถือเป็นเรื่องที่สร้างความเสียหายเป็นวงกว้าง
แม้จะเกิดขึ้นเพียงในระยะเวลาสั้นๆก็ตาม
'ไฟฟ้าดับ' (power outage หรืออาจเรียกว่า power cut,
power blackout, power failure หรือ blackout)
เป็นความเสียหายกำลังของเครือข่ายพลังไฟฟ้า ที่ไม่สามารถแจกจ่ายไปให้ผู้ใช้ได้
สาเหตุของไฟฟ้าดับในเครือข่าย เช่น อาจเกิดจากความผิดพลาดที่สถานีไฟฟ้า
ความเสียหายของสายส่งไฟฟ้า, สถานีย่อย หรือบางส่วนของระบบแจกจ่าย,
ไฟฟ้าลัดวงจร, ฟิวส์ขาด และสะพานไฟชำรุด ฯลฯ
ไฟฟ้าดับนั้นถือว่าอันตรายอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
และความปลอดภัยที่อาจตกอยู่ในอันตรายได้ เช่น โรงพยาบาล โรงบำบัดน้ำเสีย
และเหมือง ที่จะมีการสำรองไฟฟ้า เช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรอง
ที่จะทำงานโดยทันทีหลังไฟฟ้าดับ ระบบที่เสี่ยง เช่น ระบบโทรคมนาคม ที่ต้องการไฟฟ้าฉุกเฉิน
ห้องแบตเตอรีของชุมสายโทรศัพท์จะมีแบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด
ไว้ใช้สำรองและมีซ็อกเก็ตสำหรับเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในระหว่างไฟฟ้าดับ
การเกิดไฟฟ้าดับ มาจากหลายสาเหตุ โดยในทางสถิติพบว่า
กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีประชากรมาก มักมีโอกาสที่จะเกิดไฟฟ้าดับได้มากกว่า
รวมถึงเหตุการณ์ไฟฟ้าดับครั้งใหญ่ๆที่กินพื้นที่กว้างขวางด้วย
เหตุการณ์ไฟฟ้าดับครั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลก
India Blackout หรือเหตุไฟฟ้าดับที่ประเทศอินเดีย
ระหว่างวันที่ 30 - 31 กรกฎาคม 2012 เหตุการณ์นี้มีผู้ได้รับผลกระทบ
เป็นจำนวนไม่น้อยกว่า 620 ล้านคน ซึ่งมากที่สุดที่เคยมีการบันทึกไว้
เหตุการณ์ไฟดับที่ประเทศปากีสถาน หรือ Pakistan Blackout
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2023 มีผู้ได้รับผลกระทบ
เป็นจำนวนมากถึง 230 ล้านคน หรือคิดเป็น 99% ของประชากรทั้งหมดของปากีสถาน
เหตุไฟฟ้าดับที่ประเทศอินเดีย ในปี 2001
เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2001 มีผู้ได้รับผลกระทบมากกว่า 230 ล้านคน
ถือเป็นเหตุไฟดับครั้งที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 3 ของโลก และเป็นเพียง 1 ใน 4 ครั้ง
ของเหตุไฟดับที่มีผู้ได้รับผลกระทบมากถึง 200 ล้านคน