ประเทศที่ประชากรเยอะที่สุดในโลก
10 อันดับประเทศที่มีประชากรสูงสุดของโลกในทศวรรษ 2050นั้นประกอบไปด้วย
อินเดีย 1,670,490,601 คน เพิ่มขึ้น 18% จากปี 2565
จีน 1,312,636,324 คน ลดลง 8% จากปี 2565
ไนจีเรีย 377,459,883 เพิ่มขึ้น 73% จากปี 2565
สหรัฐ 375,391,965 เพิ่มขึ้น 11% จากปี 2565
ปากีสถาน 367,808,468 คน เพิ่มขึ้น 56% จากปี 2565
อินโดนีเซีย 317,225,212 คน เพิ่มขึ้น 15% จากปี 2565
บราซิล 230,885,728 คน เพิ่มขึ้น 7% จากปี 2565
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก 217,494,004 เพิ่มขึ้น 120% จากปี 2565
เอธิโอเปีย 214,812,308 คน เพิ่มขึ้น 74% จากปี 2565
บังกลาเทศ 203,904,891 คน เพิ่มขึ้น 19% จากปี 2565
ส่วนประเทศไทย คาดว่าจะมีประชากรอยู่ที่ 67,880,087 คน ภายในทศวรรษดังกล่าว ลดลง 5% จากปี 2565
โควิด-19 คร่าชีวิตคนไปกว่า 15 ล้านราย
การแพร่ระบาดใหญ่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อประชากรโลกและแนวโน้มการย้ายถิ่น แม้จะมีการเปิดเผยจำนวนผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ที่ได้รับการยืนยันจากรัฐบาลแต่ละประเทศ แต่มีแนวโน้มที่จำนวนตัวเลขผู้เสียชีวิตนั้นต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการตรวจผลโควิด-19 นั้น ทำได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็นอยู่มาก
ดังนั้นวิธีหนึ่งที่สหประชาชาติใช้ตรวจสอบยอดผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 นั่นคือ ตรวจสอบจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมดในปีที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 กับ ปีก่อนหน้าที่ยังไม่เกิดการแพร่ระบาด นั่นคือปี 2562 ที่มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกราว 57,940,000 ราย
จำนวนประชากรโลกพุ่งสูงสุด 10,400 ล้านคน ในปี 2629
ก่อนหน้านี้ “แนวโน้มประชากรโลก” ฉบับที่ 26 ได้คาดการณ์ว่าในปี 2643 จะมีประชากรโลกราว 10,880 ล้านคน และจะเพิ่มขึ้นอีก แต่ในการรายงานครั้งล่าสุดสหประชาชาติระบุว่า ประชากรโลกจะพุ่งสูงสุดในปี 2629 มีประชากรเพียง 10,400 ล้านคน โดยสาเหตุที่ตัวเลขประชากรสูงสุดต่ำกว่าและมาเร็วกว่าการคาดการณ์เดิมนั้นมีสาเหตุมาจาก สหประชาชาติคาดว่าอัตราการเจริญพันธุ์ (fertility rates) ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ต่ำจะลดลงอย่างรวดเร็ว ขณะที่อัตราการเจริญพันธุ์ในกลุ่มประเทศรายได้สูงจะเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยในช่วงครึ่งศตวรรษหลังนั่นเอง