แก่นปีศาจ!!! แก่นพลูโทเนียมที่คร่าชีวิตคนเหมือนปีศาจสิง
หลายคนมองว่าวิทยาศาสตร์กับไสยศาสตร์เป็นคู่ตรงข้ามกัน แต่บางครั้งวิทยาศาสตร์ก็อาจต้องยอมถอยเมื่อแก่นของพลูโตเนียมเกิดอุบัติเหตุคร่าชีวิตคนถึง 2 ครั้ง เหมือนราวกับว่ามันมีสิ่งลี้ลับที่พร้อมจะทำลายคนที่เกี่ยวข้องกับมันอย่างใดอย่างนั้น
แก่นปีศาจในตำนาน
แก่นปีศาจ (Demon Core) เป็นชื่อที่นักวิทยาศาสตร์นิยามไว้ให้กับพลูโทเนียมทรงกลมที่มีน้ำหนัก 6.2 กิโลกรัม ตัวทรงกลมนี้อยู่ในสถานะมวลใต้วิกฤต (Critical mass) ซึ่งเป็นสถานะที่ปล่อยรังสีแต่ไม่สามารถจะคงปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิสชันไว้ได้ ดังนั้นการเก็บและใช้งานมันอย่างถูกวิธีจะไม่ก่อให้เกิดการระเบิดของรังสีจนเป็นอันตรายอย่างยิ่งยวด
แต่เดิมพลูโทเนียมดังกล่าวถูกสร้างไว้ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยทางการสหรัฐตั้งใจจะใช้มันเป็นแกนกลางของระเบิดนิวเคลียร์เพื่อใช้ทำลายล้างชาวญี่ปุ่น หลังจากที่มีการทิ้งระเบิดนิวเคลียร์ไปถึง 2 ลูกจนเกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ ประเทศญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ทำให้แก่นพลูโทเนียมไม่ได้ใช้ในการทำระเบิลูกที่ 3 และนำไปใช้เพื่อการศึกษาแทน
เมื่อแก่นปีศาจคร่าชีวิตนักฟิสิกส์
เรื่องราวที่สร้างความหวาดกลัวเริ่มเกิดขึ้นเมื่อแก่นศาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงถึง 2 ครั้ง ส่งผลให้นักฟิสิกส์ผู้เคราะห์ร้าย 2 คน คือ Harry Daghlian Jr. และ Louis Slotin ถึงแก่ชิวิต ทำให้เหล่านักวิทยาศาสตร์ได้ขนานนามแก่นพลูโทเนียมว่าแก่นปีศาจและยกให้เป็นหนึ่งในวัตถุที่อันตรายที่สุดในโลก ตัวแก่นถูกเล่าขานเป็นเรื่องเตือนใจถึงอันตรายของการวิจัยนิวเคลียร์ในยุคแรกเริ่ม
เหตุการณ์ 1 เกิดภายหลังจากมีการนำแก่นพลูโทเนียมไปใช้วิจัยและพัฒนาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม การทดลองกับแก่นปีศาจเกิดผิดพลาดเมื่อ Harry Daghlian Jr. กำลังทำการศึกษาการสะท้อนของนิวตรอนกับแก่นพลูโทเนียมเพียงลำพัง Daghlian ได้วางแผ่นคาร์บอน-ทังสเตนที่ทำหน้าที่ในการสะท้อนนิวตรอนรอบๆ แก่น เหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดข้นเมื่อแผ่นคาร์บอน-ทังสเตนล้มกระแทกแก่น ทำให้เกิดมวลวิกฤตและปลดปล่อยรังสีเป็นจำนวนมาก แม้ว่า Daghlian จำพยายามหยุดมวลวิกฤตโดยรื้อแผ่นคาร์บอน-ทังสเตนออก แต่ก็สายเกิดไป Daghlian เสียชีวิตจากการรับรังสีมากเกินไปในอีก 25 วันให้หลัง
เหตุการณ์ต่อมาเกิดขึ้นกับคุณ Louis Slotin เมื่อเขาทำการทดลองการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิสชันกับแก่นดังกล่าว เขาได้ทำตัวสะท้อนนิวตรอนทรงกลมสร้างจากเบริลเลียมมาวางครอบแก่นไว้ โดยในระหว่างที่เขากำลังใช้ไขควงเปิดทรงกลมเบริลเลียมออกจากกัน แต่ Slotin พลาดท่าทำไขควงหลุดออกจากมือทำให้ตัวสะท้อนกระแทกเข้ากับแก่นทันที
แก่นเกิดมวลวิกฤตอย่างรวดเร็วและปล่อยแสงสว่างวาปพร้อมกับรังสีจำนวนมาก ทำให้ Slotin เสียชีวิตจากอาการเป็นพิษจากรังสี ส่วนเพื่อนร่วมงานทั้ง 3 คนของเขารอดชีวิตมาได้ แต่ก็ได้รับปริมาณรังสีเป็นจำนวนมาก นักวิทยาศาสตร์มองการทดลองอันหละหลวมของ Slotin ว่าเป็นการแหย่หางมังกร และหากพลาดเมื่อไรพวกเขาอาจจะตายกันหมด
แก่นปีศาจเป็นเหมือนสัญญาณเตือนถึงอันตรายของวัสดุนิวเคลียร์ อุบัติเหตุดังกล่าวเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการปรับปรุงขั้นตอนด้านความปลอดภัยและเพิ่มความตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทดลองนิวเคลียร์ เรื่องราวของแก่นปีศาจทำให้เกิดการพัฒนาเรื่องวิธีศึกษากับวัตถุนิวเคลียร์ซึ่งนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรทำงานเพื่อป้องกันอุบัติเหตุในลักษณะเดียวกันนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
https://www.sciencealert.com/the-chilling-story-of-the-demon-core-and-the-scientists-who-became-its-victims
https://www.iflscience.com/the-demon-core-accident-how-one-man-stopped-a-nuclear-detonation-with-his-bare-hands-59736
https://www.newyorker.com/tech/annals-of-technology/demon-core-the-strange-death-of-louis-slotin