ไทยคือหนึ่งในประเทศที่มีจำนวนคนไร้บ้านน้อยที่สุดในโลก
คนไร้บ้าน (homelessness) หมายถึง สภาพของบุคคล ณ ช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่สามารถมีที่อยู่อาศัย ในแบบปกติทั่วไปได้ ส่วนใหญ่จะมีอาชีพหาของเก่า เป็นแรงงานรับจ้างรายวันทั่วไป ค้าขายอาหาร และของมือสอง และอื่นๆ บางส่วนเป็นผู้พิการทางจิต ในเขตกรุงเทพฯ มักพบอาศัยหลับนอนตามป้ายรถเมล์หรือสถานที่มีแสงสว่าง การแยกกลุ่มคนเหล่านี้ออกจากคนปกติได้ หลังจากเที่ยงคืนไปแล้ว ทำให้ยากในการให้การช่วยเหลือด้านอาหาร โดยปกติคนไร้บ้าน ไม่ใช่ขอทาน มักปฏิเสธการให้การช่วยเหลือ การให้การช่วยเหลือจำเป็นต้องมีลักษณะที่เป็นมิตร เนื่องจากคนไร้บ้านจะมีอาการจิตผิดปกติไม่มากก็น้อย เกิดจากความเครียด ที่ต้องทนต่อสภาพแวดล้อมที่โหดร้าย
แม้จะมีการประเมินกันว่าในประเทศไทยน่าจะมีจำนวนคนไร้บ้าน อยู่ที่ประมาณ 30,000 คน แต่จากการสำรวจของ สสส. ร่วมกับสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และภาคีเครือข่ายพัฒนาเครื่องมือและวิธีวิทยาแบบ One Night Count (ONC) หรือ The Point-in-Time (PIT) เพื่อสำรวจแจงนับประชากรคนไร้บ้านทั้งประเทศ โดยนำร่องในพื้นที่ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และขอนแก่น เมื่อปี 2558 ทั้งนี้การสำรวจแจงนับประชากรคนไร้บ้านครั้งนี้ เป็นครั้งแรกที่มีการดำเนินการครอบคลุมทั้งประเทศ พบคนไร้บ้านทั้งหมด 2,719 คน เป็นเพศชายร้อยละ 86 และเพศหญิงร้อยละ 14 ช่วงอายุที่พบส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 57 อยู่ในช่วงวัยแรงงานตอนปลาย (อายุ 40-59 ปี) และมีสัดส่วนผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) อยู่ที่ร้อยละ 18 ซึ่งคนไร้บ้านสูงอายุมีสัดส่วนการอยู่คนเดียวมากที่สุด ร้อยละ 60
กรุงเทพมหานคร เป็นจังหวัดที่มีคนไร้บ้านมากที่สุด ร้อยละ 38
รองลงมาคือ นครราชสีมา ร้อยละ 5
เชียงใหม่ ร้อยละ 4
สงขลา ร้อยละ 4
ชลบุรี ร้อยละ 3
ขอนแก่น ร้อยละ 3
ด้วยจำนวนคนไร้บ้านที่ประมาณ 2700 คน ไทยจะกลายเป็นประเทศที่มีจำนวนคนไร้บ้าน น้อยเป็นอันดับต้นๆของโลก ไกล้เคียงกับสวิตเซอร์แลนด์ (2200 คน) โครเอเชีย (3000 คน) ฮ่องกง (1800 คน) นอร์เวย์ (3900 คน) และลักเซมเบิร์ก (2059 คน)