กบตัวเล็กสีสดที่เพียงแค่สัมผัสก็ถึงแก่ความตาย
สัตว์โลกที่มีอยู่อย่างมากมายนั้น ล้วนต้องปรับตัว
หรือมีวิวัฒนการต่างๆเพื่อการเอาตัวรอดและดำรงเผ่าพันธุ์
ซึ่งถือเป็นกระบวนการตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องปกติ
สัตว์หลายชนิดพัฒนาตัวเองให้วิ่งได้เร็วขึ้น ดำน้ำได้นานขึ้น
กินอาหารได้มากขึ้น ในขณะที่บางสายพันธุ์ก็มีพิษร้ายแรง
เพื่อป้องกันตัวเองจากการถูกล่า เช่นเดียวกับสิ่งมีชีวิต
ที่สะดุดตาและน่าสนใจเป็นพิเศษที่เราจะมาแนะนำกันในวันนี้
นี่คือ 'กบลูกดอก' หรือ 'กบลูกศรพิษ'
(Poison dart frogs, Dart-poison frogs,
Poison frogs, Poison arrow frogs)
เป็นวงศ์ของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกขนาดเล็กวงศ์หนึ่ง
ในอันดับกบ (Anura) ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobatidae
เป็นกบที่มีขนาดเล็ก โดยมีความยาวลำตัวประมาณ 1-6 เซนติเมตร เท่านั้น
อาศัยบนพื้นดินหรือบนต้นไม้หรือใบไม้ของป่าฝนในทวีปอเมริกาใต้และอเมริกากลาง
ส่วนใหญ่หากินในเวลากลางวัน ซึ่งกบในวงศ์นี้มีลักษณะเด่นที่เห็นได้ชัดเจนมาก
มีสีสันและลวดลายสดใสสวยงามและจัดจ้านมาก ซึ่งมีต่อมพิษที่จะผลิตพิษร้ายแรงมาก
เนื่องจากเป็นสารเคมีประเภทอัคคาลอยด์ ที่จะออกฤทธิ์ระหว่างจุดประสานเซลล์ประสาท
และระหว่างประสาทกับกล้ามเนื้อ อัลลาลอยด์ของกบวงศ์นี้จะเป็นประเภทละลายในสารละลายอินทรีย์
พิษของกบวงศ์นี้ สามารถทำให้มนุษย์หรือสัตว์ขนาดใหญ่ตายได้เลย เพียงแค่ไปแตะต้องสัมผัสถูก
ซึ่งชาวพื้นเมืองของอเมริกาใต้ได้ใช้ประโยชน์จากพิษนี้ อาบหัวลูกศรหรือลูกธนู สำหรับการล่าสัตว์
ในปัจจุบัน กบลูกศรพิษหลายสายพันธุ์อยู่ในสภาวะไกล้สูญพันธุ์
เพราะที่อยู่ตามธรรมชาติถูกรุกล้ำจากการตัดไม่ทำลายป่า