อุโมงค์เหมืองแร่ที่อยู่ลึกลงไปมากที่สุดในโลก
การขุดเจาะเพื่อหาแร่ธาตุ หรือการทำเหมืองแร่
ถือเป็นงานอตสาหกรรมประเภทหนึ่งที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง
ใช้เครื่องมือ แรงงาน รวมถึงพื้นที่และทรัพยากรจำนวนมาก
ที่ผ่านมาการทำเหมืองแร่เพื่อหาแร่ธาตุชนิดต่างๆนั้น
เป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางทั่วโลก จนเริ่มเกิดการขาดแคลน
ทำให้ในช่วงหลัง จำเป็นจะต้องขยายการขุดเจาะมากขึ้นเรื่อยๆ
หนึ่งในแร่ที่มีการขุดเจาะกันมากที่สุด คือ 'ทองคำ'
โดยเฉพาะในพื้นที่ในทวีปแอฟริกาที่มีแร่ทองคำอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์
แต่ถึงอย่างไรก็ตาม การขุดเจาะเพื่อหาแร่ทองนั้นก็ยังถือว่าทำได้ยาก
จนหลายครั้งจำเป็นต้องขุดเจาะลึกลงไปใต้พื้นดินเพื่อหาสายแร่
จนกลายมาเป็นสถิติเหมืองแร่ที่อยู่ลึกที่สุดในโลก
เหมืองแร่ที่อยู่ลึกจากผิวดินมากที่สุดในโลกในปัจจุบัน
ได้แก่ เหมืองทอง Mponeng เป็นเหมืองทองคำ
ในจังหวัด Gauteng ของแอฟริกาใต้
ก่อนหน้านี้รู้จักกันในชื่อ Western Deep Levels #1 Shaft งานใต้ดินและพื้นผิว
ได้รับการว่าจ้างในปี 1987 ก่อนจะขยายการขุดเจาะจนลึกลงไปถึง 4 กิโลเมตร (2.5 ไมล์)
ถือเป็นเหมืองทองคำที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก
การเดินทางจากพื้นผิวดินไปยังก้นเหมืองใช้เวลามากกว่าหนึ่งชั่วโมง
โดยในแต่ละวันมีการขุดเจาะที่เหมือง Mponeng มากถึงประมาณ 5400 ตัน
แม้เหมืองจะมีแร่ทองคำอยู่มาก แต่เพราะอยู่ลึกลงไปใต้พื้นหลายกิโลเมตร
ทำให้อุณหภูมิของหินในอุโมงค์ด้านล่างสูงถึง 66 °C (151 °F)
ซึ่งถือว่าร้อนและเป็นอันตรายกับร่างกายมนุษยเป็นอย่างมาก
โดยทางเหมืองจำเป็นจะต้องใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำตลอดเวลา