โลหะเพียงชนิดเดียวบนโลกที่มีสถานะเป็นของเหลว
ในโลกของวิทยาศาสตร์และการทดลอง ยังคงมีเรื่องแปลก
หรือเรื่องที่ทำให้ประหลาดใจอยู่ไม่น้อย แม้หลายเรื่องจะถูกพิสูจน์แล้ว
หรือผ่านการทดลองหลายครั้งจนสามารถยืนยันความถูกต้องได้แล้ว
แต่ก็ยังชวนให้ผู้คนทั่วไปรู้สึกสงสัยและประหลาดใจได้เหมือนเดิม
หนึ่งในนั้นคือเรื่องของ 'ปรอท' แร่โลหะที่มีสถานะเป็นของเหลว
ปรอท (mercury) เป็นธาตุเคมีสัญลักษณ์ Hg และเลขอะตอมเท่ากับ 80
รู้จักกันทั่วไปในชื่อ ควิกซิลเวอร์ (quicksilver)
และมีชื่อเดิมคือ ไฮดราเจอรัม (hydrargyrum) ปรอทเป็นโลหะหนักสีเงินในบล็อก-d
ถือเป็นธาตุโลหะเพียงชนิดเดียว
ที่มีสถานะเป็นของเหลวในที่อุณหภูมิและความดันมาตรฐาน
ธาตุอื่นอีกธาตุหนึ่งที่เป็นของเหลวภายใต้สภาวะเช่นนี้คือ โบรมีน (ธาตุอโลหะ)
แม้ว่าโลหะอย่างซีเซียม แกลเลียม และรูบิเดียมจะละลายที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิห้อง
ปรอทพบได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่พบในรูปซินนาบาร์ (เมอร์คิวริกซัลไฟด์)
เมอร์คิวริกซัลไฟด์บริสุทธิ์เป็นผงสีแดงชาด
ได้จากปฏิกิริยาของปรอท (เกิดจากรีดักชันจากซินนาบาร์)
กับกำมะถัน หากสัมผัส สูดดมไอ หรือทานอาหารทะเลที่ปนเปื้อนปรอทที่ละลายน้ำ
(เช่น เมอร์คิวริกคลอไรด์ หรือเมธิลเมอร์คิวรี) อาจเกิดเป็นพิษได้
ปรอทมักใช้ประโยชน์ในเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ มาโนมิเตอร์
สฟิกโมมาโนมิเตอร์ โฟลตวาล์ว สวิตช์ปรอท ปรอทรีเลย์ หลอดฟลูออเรสเซนต์
และอุปกรณ์อื่นๆ แม้ว่ายังมีประเด็นเรื่องพิษ
ที่อาจทำให้เทอร์โมมิเตอร์และสฟิกโมมาโนมิเตอร์ไม่ถูกนำมาใช้อีก
ถือเป็นธาตุที่มีคุณสมบัติที่แปลกไม่เหมือนใครจริงๆ