ประเทศในกลุ่มอาเซียนที่มีกำลังการผลิตน้ำมันสูงที่สุด
แม้ในปัจจุบันจะมีการรณรงค์ให้ใช้พลังงานสะอาด
ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิล
ซึ่งเป็นพลังงานที่ก่อให้เกิดมลพิษมากกว่า
แต่กระบวนการเปลี่ยนแปลงนี้ก็อาจจะยังต้องใช้เวลาอีกมาก
เพื่อให้ผู้คนรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆบนโลกของเราได้ปรับตัว
หรือมีการปรับปรุงจนสามารถใช้พลังงานสะอาดเหล่านั้นได้
โดยเชื้อเพลิงหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
คือ ปิโตรเลียม (petroleumหมายถึง "น้ำมันที่ได้จากหิน")
หรือ น้ำมันดิบ เป็นของเหลวไวไฟที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสารผสมซับซ้อน
ระหว่างไฮโดรคาร์บอนที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่างกัน กับสารประกอบอินทรีย์ที่เป็นของเหลวอื่นๆ
ซึ่งพบในชั้นธรณีวิทยาใต้ผิวโลก เป็นเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ เกิดได้จากซากสิ่งมีชีวิต
(มักเป็นแพลงก์ตอนสัตว์และสาหร่าย) จำนวนมากทับถมกันใต้หินตะกอน
และได้รับความร้อนและความดันน้อยมากจนไม่สามารถมองเห็นได้เลย
ในปัจจุบันการขุดเจาะปิโตรเลียมเพื่อใช้งานนั้นยังมีอยู่ทั่วโลก
โดยในแต่ละประเทศที่มีการขุดเจาะนั้นมีกำลังการผลิตที่แตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งปิโตรเลียม โดยหากจะนับเฉพาะ
ประเทศในกลุ่มสมาชิกอาเซียน นี่คือประเทศที่มีกำลังการผลิตมากที่สุดในปี 2021
ประเทศอินโดนีเซีย กำลังการผลิต 658,820 บาร์เรลต่อวัน
ถือว่ามากเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และมากเป็นอันดับที่ 23 ของโลก
กำลังการผลิตนี้เฉลี่ยเป็น 2389 บาร์เรล ต่อประชากร 1 ล้านคน ต่อวัน
ประเทศมาเลเซีย 511,104 บาร์เรลต่อวัน
เป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตมากเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน
และมาเป็นอันดับที่ 27 ของโลก กำลังการผลิตคิดเป็น
15,604 บาร์เรล ต่อประชากร 1 ล้านคน ต่อวัน
ประเทศเวียดนาม กำลังการผลิต 182,146 บาร์เรลต่อวัน
ถือเป็นประเทศที่มีกำลังการผลิตมากอีกประเทศหนึ่ง
ปริมาณการผลิตนี้มากที่สุดเป็นอันดับที่ 33 ของโลก
ประเทศไทย มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 176,984 บาร์เรลต่อวัน
ซึ่งมากเป็นอันดับ 4 ของอาเซีย และอันดับที่ 35 ของโลก