ดาวใหญ่ยักษ์ที่มีความหนาแน่นน้อยจนสามารถลอยน้ำได้
การทุ่มเทศึกษาเกี่ยวกับดวงดาวของมนุษย์
ที่มีมานานหลายพันปี ทำให้เราได้เรียนรู้และเข้าใจ
เกี่ยวกับเรื่องราวของสิ่งต่างๆบนห้วงอวกาศมากขึ้น
ด้วยความทันสมัยของเครื่องมือที่ถูกคิดค้นขึ้นนี้
ทำให้เราได้ค้นพบเรื่องราวใหม่ๆที่น่าสนใจเกี่ยวกับอวกาศมากมาย
โดยหนึ่งในนั้นคือเรื่องราวของ 'ดาวเสาร์' ดาวใหญ่ยักษ์ในระบบของเรา
ดาวเสาร์ (Saturn) เป็นดาวเคราะห์ดวงที่ 6 จากดวงอาทิตย์
ถัดจากดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของระบบสุริยะ
รองจากดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์เป็นดาวแก๊สยักษ์ที่มีรัศมีเฉลี่ยมากกว่าโลกประมา 9 เท่า
แม้ว่าจะมีความหนาแน่นเพียง 1 ใน 8 ของโลก แต่มวลของมันมีมากกว่าโลกถึง 95 เท่า
โดยดาวเสาร์มีความหนาแน่นประมาณ 0.687 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
ในขณะที่ความหนาแน่นของน้ำอยู่ที่ 0.998 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร
นั่นเท่ากับว่า หากเรามีน้ำในปริมาณที่มากพอ และเอาดาวเสาร์หย่อนลงไปในน้ำ
'ดาวเสาร์ก็จะลอยน้ำได้' เนื่องจากมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำนั่นเอง
(แต่คงจะพิสูจน์เรื่องนี้ไม่ได้ในทางปฏิบัติ เพราะคงไม่มีน้ำมากขนาดนั้น)
ดาวเสาร์ถือเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะ
ที่มีความหนาแน่นเฉลี่ยน้อยกว่าน้ำ อย่างไรก็ตาม บรรยากาศชั้นบนของดาวเสาร์
มีความหนาแน่นน้อยกว่านี้ ขณะที่ที่แกนมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ
วงแหวนของดาวเสาร์ประกอบไปด้วยเศษหินและน้ำแข็งขนาดเล็ก เรียงตัวอยู่ในระนาบเดียวกัน
และวงแหวนของดาวเสาร์ก็ประกอบไปด้วยวงแหวนย่อยๆมากมาย ความจริงแล้ว
วงแหวนดาวเสาร์นั้นบางมาก โดยมีความหนาเฉลี่ยเพียง 500 กิโลเมตรเท่านั้น
แต่เศษวัตถุในวงแหวนมีความสามารถในการสะท้อนแสงดี
และกว้างกว่า 80,000 กิโลเมตร จึงสามารถสังเกตได้จากโลก
ถือเป็นดาวดวงใหญ่ที่มีเรื่องน่าสนใจมากจริงๆ