อำเภอของไทยที่ไปมีชื่ออยู่บนพื้นผิวดาวอังคาร
การสำรวจดวงดาวต่างๆที่อยุ่ในระบบสุริยะ ถือเป็นภารกิจแรกๆ
ของยุคสำรวจอวกาศที่นำโดยชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและโซเวียด
โดยหนึ่งในดาวที่อยู่ไกล้และได้รับความสนใจมากที่สุดก็คือ 'ดาวอังคาร'
ดาวอังคาร (Mars) เป็นดาวเคราะห์ลำดับที่สี่จากดวงอาทิตย์
เป็นดาวเคราะห์เล็กที่สุดอันดับที่สองในระบบสุริยะรองจากดาวพุธ
ชื่อในภาษาอังกฤษถูกตั้งชื่อตามเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน
มักได้รับขนานนาม "ดาวแดง" เพราะมีออกไซด์ของเหล็กจำนวนมากบนพื้นผิว
ทำให้มีสีออกแดงเรื่อ ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หินที่มีบรรยากาศเบาบาง
มีลักษณะพื้นผิวคล้ายคลึงกับทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ
หุบเขา ทะเลทราย ตลอดจนพิดน้ำแข็งขั้วดาว
การสำรวจดาวอังคารถือว่าคืบหน้าไปมาก มีการส่งยานลงจอดบนพื้นผิว
รวมถึงมีการส่องสำรวจจากยานจำนวนมากที่โคจรอยู่รอบๆ
โดยหลังจากการสำรวจก็จะมีการระบุพิกัดและตั้งชื่อให้กับสถานที่ต่างๆ
บนผิวดาวอังคาร (คล้ายกับบนพื้นโลก) เพื่อจะให้ง่ายต่อการศึกษาและจดจำ
โดยหนึ่งในสถานที่ประเภทที่มีมากที่สุดบนดาวก็คือ 'รอยหลุมอุกกาบาต'
ซึ่งถูกตั้งชื่อตามชื่อบุคคล หรือสถานที่ดังๆจากบนโลก
และหนึ่งในนั้นมีชื่อหลุมอุกกาบาตี่ถูกตั้งตามชื่อ 'อำเภอ' ของไทยด้วย
ในปัจจุบันมีหลุมอุกกาบาตบนดาวอังคาร
ที่ถูกตั้งชื่อตามชื่ออำเภอของไทยแล้ว 4 แห่ง ได้แก่
Chatturat crater
เป็นหลุมอุกกาบาตที่ตั้งตามชื่อ
'อำเภอจัตุรัส' อำเภอหนึ่งของจังหวัดชัยภูมิ
หลุมนี้มีความกว้าง 8.2 กิโลเมตร อยู่ที่พิกัด 35.7°N 95.1°W
Kantang crater
ตั้งตามชื่อของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
หลุมนี้มีความกว้าง 54.8 กิโลเมตร อยู่ที่พิกัด 24.7°S 17.6°W
Phon crater
ตั้งตามชื่ออำเภอพล จังหวัดขอนแก่น
หลุมอุกกาบาตนี้มีขนาดกว้าง 9.7 กิโลเมตร
อยู่ที่พิกัด 15.7°N 257.3°W
และ Thom crater
ถูกตั้งตามชื่อของอำเภอนาทม จังหวัดนครพนม
หลุมมีความกว้าง 24 กิโลเมตร อยู่ที่พิกัด 41.4°S 267.8°W