ผักพื้นบ้านที่มีอยู่และที่เรารับประทานอยู่นั้นต่างมีคุณประโยชน์มากมาย แต่มีผักพื้นบ้านเพียงไม่กี่ชนิดที่สามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้ ว่าจะมีอะไรบ้าง..
ถั่วฝักยาว
เด็กที่เบื่ออาหารเนื่องจากกระเพาะอาหารทำงานไม่ดี ให้ใช้รากสดนำมาผสมกับรากเถาตดหมาตดหมู แล้วนำมาตุ๋นกินกับเนื้อวัว จะช่วยแก้อาการเบื่ออาหารได้ (ราก)ถั่วฝักยาวสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แน่นท้อง เรอเปรี้ยว ด้วยการเคี้ยวฝักสดกิน (ฝัก)ใช้ใบสดประมาณ 60-100 กรัมนำมาต้มกับน้ำ ใช้รักษาโรคหนองในและอาการปัสสาวะเป็นหนอง (ใบ)ใช้เป็นยาบำรุงม้ามและไต ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดนำมาคั้นสดหรือต้มกินกับน้ำ หรือจะใช้รากนำมาตุ๋นกินเนื้อก็ได้เช่นกัน (ฝัก, ราก, เมล็ด)
สรรพคุณถั่วฝักยาวสดหรือเมล็ด นำมาต้มกับน้ำผสมกับเกลือ นำมารับประทานเป็นยาบำรุงไต (ฝัก, เมล็ด)ใช้รากสดนำไปเผาแล้วบดจนละเอียด ผสมกับน้ำแล้วใช้ทาเป็นยารักษาโรคหนองในที่หนองไหล (ราก)ถั่วฝักยาวมีสรรพคุณทางยาช่วยรักษาฝีเนื้อร้าย ช่วยทำให้เนื้อเยื่อเจริญเร็วขึ้น ด้วยการใช้รากสดนำไปเผาแล้วบดจนละเอียดผสมกับน้ำแล้วใช้ทาบริเวณที่เป็น (ราก)ช่วยแก้อาการปัสสาวะกะปริบกะปรอย ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดนำมาคั้นสดหรือต้มกินกับน้ำ (เมล็ด)ช่วยแก้ตกขาว ด้วยการใช้เมล็ดแห้งหรือสดและผักบุ้งนำมาตุ๋นกับเนื้อไก่รับประทาน จะช่วยแก้อาการตกขาวได้ (เมล็ด)ช่วยรักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และรักษาแผลที่เต้านม ด้วยการใช้เปลือกฝักประมาณ 100-150 กรัมนำมาต้มกิน หรือใช้ภายนอกด้วยการนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ปวด (เปลือกฝัก)
ขมิ้น
ด้วยรสชาติและสีสันอันเป็นเอกลักษณ์ มีรสเผ็ดร้อน และขมเล็กน้อย จึงถูกนำไปใช้เป็นเครื่องปรุงรสหรือแต่งสีในผลิตภัณฑ์ประเภทต่าง ๆ และสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย สำหรับส่วนที่เป็นเหง้าหรือรากของต้นนิยมใช้ทำเป็นยารักษาโรค เนื่องจากสารสำคัญสีเหลืองที่ชื่อว่า เคอร์คูมิน (Curcumin) ได้รับการกล่าวอ้างถึงฤทธิ์ในการรักษาและป้องกันโรคได้มากมายตั้งแต่อดีต เช่น โรคปวดข้อ ต้านการอักเสบในร่างกาย บรรเทาอาการท้องเสีย ยับยั้งการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไรหรือเอชไพโลไร (Helicobacter Pylori) ท้องอืด ท้องเฟ้อ ลดไขมันในเลือด การอักเสบของผิวหนัง ปวดศีรษะ..
มะระขี้นก
การรับประทานมะระขี้นกอาจช่วยให้ร่างกายควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น เนื่องจากมะระขี้นกอุดมไปด้วยสารหลายชนิดที่ต้านเบาหวาน อย่างสารคาแรนติน (Charantin) และสารเลคติน (Lectin) ที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
และยังมีสารให้รสขมของมะระ อย่างสารซาโปนิน (Saponins) และสารเทอร์พีนอยด์ (Terpenoids) ซึ่งช่วยลำเลียงน้ำตาลในเลือดไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ช่วยให้กระบวนการกักเก็บน้ำตาลของตับและกล้ามเนื้อทำงานได้ดีขึ้น..