ใครได้ ใครเสีย!! เมื่อ 'ภาวะโลกร้อน' เป็นเพียงแค่ การโฆษณาชวนเชื่อ[Exclusive Content]
ภาวะโลกร้อน หรือ Global warming คำนี้ถูกนำมาใช้ช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไปตีความหมายว่า เป็นการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศใกล้พื้นผิวโลกและน้ำในมหาสมุทรตั้งแต่ และมีการคาดการณ์ว่าอุณหภูมิเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งอ้างว่าการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์ ได้เพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ จาก การเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ การขนส่ง และ อื่นๆ
แต่ช่วงหลังคำว่า “ภาวะโลกร้อน” เป็นคำจำเพาะคำหนึ่งของอุบัติการณ์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก ที่มองในมุมเดียว เป็นข้ออ้างในการผลประโยขน์ของบางองค์กร ที่ก่อตั้งเพื่อรณรงค์ เรื่อง ภาวะโลกร้อน มากมาย บ้างก็อ้างว่าไม่หาผลกำไร แต่ก็มีบางสิ่งแอบแฝงในเชิงพานิช
อีกทั้งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ที่พยายามต่อสู้กับภาวะโลกร้อนด้วยทฤษฎีภาวะเรือนกระจก และได้รับการยอมรับจนอยู่ในสถานะ “พระเอกของโลก” มาตลอด กลับถูกพลิกสถานะให้กลายเป็นพวก “ฉลาดแกมโกง”
มีการพบข้อมูลสำคัญภายหลัง จนสร้างความช็อกสะเทือนไปทั้งวงการวิทยาศาสตร์ เมื่อ ข้อเท็จจริง ทางหลักวิทยาศาสตร์ที่ควรเป็น ความจริงกลับถูกบิดเบือนเป็นเพียงแค่ การโฆษณาชวนเชื่อ” (Propaganda) เท่านั้น
ความจริงเบื้องหลังโฆษณา:เมื่อสามปีก่อน ในปี 1959 หัวหน้าน้ำมันของอเมริกาได้รับคำเตือนว่าการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอาจนำไปสู่ความร้อนของโลก “เพียงเพราะไปเจอการละลายน้ำแข็งและทำให้นิวยอร์กจมอยู่ใต้น้ำ แต่จริงๆ แล้วมันคือการถล่มจากก่อตัวขนาดใหญ่นั่นเอง”
นาย ราเชนทร์ ปาชัวร์ ผู้อำนวยการของไอพีซีซี ได้โต้กลับฝ่ายที่เอาเรื่องลับในอีเมลมาเปิดเผยว่า เป็นการสมคบคิดกันของฝ่ายที่ตรงข้ามที่ใช้แฮกเกอร์รัสเซียเข้ามาเจาะข้อมูล และเลือกเฉพาะข้อมูลบางอย่างไปเปิดเผยให้เกิดความเข้าใจผิด เพื่อปั่นป่วนการประชุมโลกร้อน ทว่า โมฮัมเหม็ด ฮับ ซับบาส ผู้แทนของซาอุดีอาระเบีย กลับมองว่าเรื่องนี้คือการ “สั่นสะเทือนความน่าเชื่อ” ของวงการนักวิทยาศาสตร์ครั้งใหญ่ และสมควรต้องถูกตั้งคณะกรรมการตรวจสอบให้เป็นเรื่องเป็นราว
นาย ราเชนทร์ ปาชัวร์ ประธานคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC)
เรื่องนี้ใครได้ใครเสีย คงต้องบอกว่าปัญหาโลกร้อนเป็นประเด็นใหญ่ที่ซับซ้อน เกินกว่าจะมองเป็นเรื่องการโกหกของนักวิทยาศาสตร์ อย่างเดียว หรือเป็นเรื่องที่ถูกปั่นขึ้นเพื่อประโยชน์ของคนฝ่ายเดียว
แต่จะบอกว่างงานนี้ ก่อนหน้าที่จะมีการเปิดโปงครั้งใหญ่นี้ ทางกลุ่มประเทศในยุโรป ที่มีความพร้อมมากกว่าใครคือฝ่ายที่ได้รับประโยชน์ไปมากที่สุดจากการผลักดัน “เทคโนโลยีสีเขียว” รวมถึงแนวทางการค้าขายคาร์บอนเครดิต มีการกำหนดนโยบายนี้ ไปทั่วโลก จะเกิดอะไรขึ้น
ตัวอย่างให้เห็นชัดๆ คือ กรณีที่การบินไทยต้องจ่ายเงินให้กับสหภาพยุโรป ( EU) จากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ ที่สร้างประเด็นว่าเป็นสาเหตุทำให้โลกร้อน ซึ่งการบินไทยจะต้องจ่ายเงินให้ EU ถึงปีละ 850 ล้านบาท (และลามไปถึงสายการบินอื่นๆ)
รวมไปถึงที่สินค้าต่างๆ ที่วางขายในโซนตะวันตก ก็จะต้องสกรีนว่ามีส่วนนำไปสู่ปัญหาโลกร้อนหรือไม่ และเมื่อเร็วๆ นี้ ประธานาธิบดี บารัก โอบามา ของสหรัฐ ก็เพิ่งประกาศกฎหมายเรียกเก็บภาษีในทำนองนี้ออกมาเช่นเดียวกันแล้ว
อรกทั้งมีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มถึงขั้นออกมากล่าวโทษว่า การทำนาและการทำปศุสัตว์ในประเทศกำลังพัฒนา ว่าเป็นตัวก่อก๊าซมีเทนสู่ชั้นบรรยากาศโลกเอาดื้อๆ
โทษเราอีกแล้ว ตัวการสร้างก๊าซมีเทนจากของเสียจากฟาร์ม
หากมองในมุมของนักอนุรักษ์สุดโต่ง นี่คือมาตรการเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างหนึ่งแน่นอน น่าชื่นชมเป็นอย่างมาก แต่ๆๆๆหากมองในแง่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนาทั่วโลกแล้ว เรื่องนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับ “การกีดกันทางการค้า” เห็นภาพชัดมั้ยละ
มาตรการที่พยายามจะลดความได้เปรียบของสินค้านำเข้าจากประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีข้อบังคับเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่าสินค้าที่ผลิตในประเทศของตน
โดยที่ มาตรการนี้ อาจจะอยู่ในรูปแบบการเก็บภาษีนำเข้า หรือการบังคับใช้มาตรฐานการผลิตบางประการแก่ประเทศคู่ค้าได้ เช่น กำหนดให้ประเทศผู้ส่งออกต้องซื้อคาร์บอนเครดิต เพื่อชดเชยความต้องการการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในขบวนการผลิต ซึ่งตนเองปล่อยในอัตรามากกว่าประเทศที่นำเข้า
ก็ดูเหมือนว่าผลประโยชน์ดังกล่าวจะถูกเอนเอียงไปทางสหรัฐฯ ประเทศผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดของโลก และในฐานะประเทศที่ยังยึกยักกับสนธิสัญญาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจนถูกวิพากษ์วิจารณ์จากทั่วโลกมาแล้ว
ซึ่งก็มีบางกลุ่มอ้างว่าโลกร้อนนั้นเกิดจากวัฏจักรการเปลี่ยนแปลงของสภาพโลกตามธรรมชาตินั่นเอง แต่ก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า การบริโภคในยุคบริโภคนิยม นำไปสู่การผลิต การบริโภค และเพิ่มขยะ ออกมาอย่างมหาศาล กระบวนการผลิตจนถึงการย่อยสลาย ล้วนต้องใช้พลังงานและก่อให้เกิดก๊าซของเสีย รวมถึงความร้อนออกมาสู่โลก ก็ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
ปัจจุบัน คำว่า ภาวะโลกร้อน หรือ Global warming โดยมองไปเป็น "การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ" มีความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในทุกช่วงเวลาของโลก
นั่นก็รวมทั้งเหตุการณ์ปรากฏการณ์โลกเย็นด้วย โดยทั่วไป คำว่า "ภาวะโลกร้อน" จะใช้ในการอ้างถึงสภาวะที่อุณหภูมิของโลกร้อนขึ้นในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา
และมีความเกี่ยวข้องกระทบต่อมนุษย์ ในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC)
ใช้คำว่า “การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ” (Climate Change) สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์
และใช้คำว่า "การผันแปรของภูมิอากาศ" (Climate Variability) สำหรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเหตุอื่น
ส่วนคำว่า “ภาวะโลกร้อนจากกิจกรรมมนุษย์” (anthropogenic global warming) มีที่ใช้ในบางคราวเพื่อเน้นถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเหตุอันเนื่องมาจากมนุษย์