น้ำทะเลจุดที่มีความลึกมากที่สุดถึงกว่าสิบกิโลเมตร
ในทางวิทยาศาสตร์ของการสำรวจมหาสมุทร ปัจจุบันเราสำรวจท้องทะเลได้เพียง 5% ของพื้นที่ทั้งหมดเท่านั้น ยังมีส่วนที่ยังไม่ถูกค้นพบ สำรวจ หรือทำความเข้าใจอีกมากมาย โดยอุปสรรคใหญ่ของการสำรวจท้องทะเลและมหาสมุทร นอกจากความกว้างใหญ่แล้ว ก็คือ 'ความลึก' ของมัน ความลึกส่งผลโดยตรงต่อ 'ความดัน' ที่จะเกิดขึ้นกับยานสำรวจ และนักวิทยาศาสตร์ที่จะทำการทดลอง (แค่เราลองดำน้ำลึกแค่ 2-3 เมตร หูเรายังปวดเลย)
ในปัจจุบัน มีพื้นที่น้ำลึกไม่กี่แห่งเท่านั้นที่ถูกสำรวจ หรือมีข้อมูลที่ได้จากการส่งยานลงไปสำรวจถึงระดับพื้นผิว โดยหนึ่งในจุดที่โด่งดังที่สุดถูกตั้งชื่อว่า 'Challenger Deep' อยู่บริเวณ 'ร่องนำลึกมาเรียนา' ไกล้ๆกับเกาะกวมในมหาสมุทรแปซิฟิก
แชเลนเจอร์ดีฟถูกระบุว่ามีความลึกอยู่ในช่วง 10,902-10,929 เมตร ซึ่งเป็นค่าคลาดเคลื่อนจากเครื่องมือวัดที่ประมาณ 20-22 เมตร ปัจจุบันถือเป็นน้ำทะเล 'ส่วนที่ลึกที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ' การสำรวจที่ร่องลึกนี้ทำได้ยากมาก เพราะที่ระดับความลึกนี้ จะเกิดแรงกดดันมหาศาลที่จะกระทำต่อเรือดำน้ำที่จะลงไปสำรวจ
การส่งยานลงไปสำรวจครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 1960 และครั้งล่าสุดคือเมื่อผู้กำกับชื่อดังอย่าง James Cameron (ผู้กำกับเรื่อง Avatar) ได้ลงไปกับยานที่เขาสร้างเองที่ชื่อว่า Deepsea Challenger เมื่อเดือนมีนาคม 2012