ค่าครองชีพสูงที่สุดในโลก
ค่าครองชีพนั้นทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ราคาสินค้าจำเป็นในครัวเรือน เช่น อาหาร นม น้ำมันปรุงอาหาร ค่าเช่าที่พัก ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ โดยพบว่าฮ่องกงยังครองแชมป์เมืองที่ค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว นั่นเป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ฮ่องกงจะบอบช้ำจากเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย แต่ราคาค่าที่พักไม่ได้ลดลงเลย เมืองที่ค่าครองชีพแพงที่สุดในโลก
ค่าาครองชีพนั้นทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่างในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ราคาสินค้าจำเป็นในครัวเรือน เช่น อาหาร นม น้ำมันปรุงอาหาร ค่าเช่าที่พัก ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายจิปาถะอื่นๆ โดยพบว่าฮ่องกงยังครองแชมป์เมืองที่ค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกติดต่อกันเป็นปีที่ 3 แล้ว นั่นเป็นที่น่าสังเกตว่าแม้ฮ่องกงจะบอบช้ำจากเหตุการณ์ประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย และสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย แต่ราคาค่าที่พักไม่ได้ลดลงเลย เมืองที่ค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกทั้งๆ ที่ในทางทฤษฎีปัจจัยเหล่านี้น่าจะทำให้อุปสงค์ด้านที่พักอาศัยลดลง ซึ่งนักวิเคราะห์บางคนมองว่าเพราะฮ่องกงยังเป็นศูนย์กลางทางการเงินแห่งเอเชีย และเป็นแกนหลักในโครงการ "อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า" (Greater Bay Area) หรือ GBA ที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจและนวัตกรรม เทคโนโลยีทันสมัย เป็นจุดบ่มเพาะสตาร์ทอัพทีสำคัญทั้งของจีนและของโลก จึงยังดึงดูดนักลงทุนทำให้ฮ่องกงยังคงยืนหนึ่งอยู่ได้
อีกทั้ง ECA index ยังชี้ว่า เอเชียเป็นทวีปที่ค่าครองชีพแพงที่สุด เพราะมีถึง 5 เมือง ที่ติดกลุ่ม top ten ได้แก่ ฮ่องกง โตเกียว เซี่ยงไฮ้ กวางโจว และโซล ซึ่งถ้ารวมเมืองในตะวันออกกลางมาอยู่ในกลุ่มเดียวกับเอเชียซึ่งก็คือ เทล อาวีฟ ของอิสราเอล ที่อยู่ในอันดับ 6 ก็จะทำให้เอเชีย มีเมืองที่ค่าครองชีพแพงที่สุดในโลกถึง 6 เมือง ในอันดับ top ten
ส่วนในแถบบ้านเราพบว่า“ฮ่องกง”คือเมืองที่ค่าครองชีพแพงที่สุดในโลก โดยติดอันดับ 1 ของโลก 3 ปีซ้อน
ที่น่าสนใจคือ 6 เมืองใน 10 อันดับแรกเป็นเมืองจากทวีปเอเชีย กรุงอาชกาบัต (เติร์กเมนิสถาน) ขยับจากอันดับ 7 ขึ้นมาอยู่อันดับ 2 และอันดับ 2 เมื่อปีที่แล้วอย่างโตเกียวตกลงไปอยู่อันดับ 3
ส่วนกรุงเทพฯ ของไทยนั้นขยับขึ้นจากอันดับ 40 ในปีที่แล้ว มาอยู่อันดับ 35 ในปีนี้
ทั้งนี้ เอเชียยังได้ชื่อว่าเป็นบ้านของเมืองที่เติบโตเร็วที่สุดในรายชื่อที่ถูกจัดอันดับ โดยกรุงโคลัมโบ มหานครหลักของศรีลังกา กระโดดขึ้นมา 23 อันดับ จาก 162 เป็น 149 ซึ่ง ลี เควน ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียของ ECA อธิบายถึงเหตุผลที่อันดับของเมืองของจีนแผ่นดินใหญ่สูงขึ้น ก็เพราะเงินหยวนแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่น ๆ
ถ้าแยกเป็นกลุ่มประเทศในอาเซียนพบว่า สปป.ลาว กับเมียนมา ไม่ติดอันดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูงเกือบ 10% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา สวนทางกับสกุลเงินที่อ่อนค่าลงอย่างมาก โดย สปป.ลาว กำลังประสบปัญหาการส่งออกไปจีนลดลง รวมถึงต้องชำระหนี้ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ส่วนเมียนมาเผชิญปัญหาค่าเงินจ๊าดอ่อนค่าจากสภาพเศรษฐกิจฝืดเคือง นับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อปี 2564
เห็นข้อมูลค่าครองชีพแต่บะประเทศแล้ว ทุกคนคงตกใจไม่ใช่น้อย แต่ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนฟันฝ่าอุปสรรคไปให้ได้นะ