ผืนแผ่นดินที่จะได้เห็นแสงอาทิตย์เป็นที่สุดท้ายของโลก
เนื่องจากโลกเป็นดาวเคราะห์ทรงกลมขนาดใหญ่
ดินแดนต่างๆบนโลกจึงจำเป็นต้องกำหนด 'เขตเวลา' ขึ้นมา
'เขตเวลา' หรือ Time Zone คือ พื้นที่บนผิวโลกที่ใช้เวลามาตรฐานเดียวกัน
โดยปกติหมายถึง เวลาท้องถิ่น เราใช้เวลาสุริยคติท้องถิ่น
(สังเกตจากดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนท้องฟ้า) ทำให้เวลาแต่ละเมืองที่ติดกันแตกต่างกันเล็กน้อย
เมื่อมีการพัฒนาระบบโทรคมนาคม และการขยายตัวของการขนส่งทางรถไฟ
ความแตกต่างเริ่มกลายเป็นปัญหาทีละน้อย เขตเวลามีส่วนช่วยแก้ปัญหา
โดยกำหนดให้ตั้งนาฬิกาให้ตรงกันตามเวลาสุริยคติกลางของเขต
โดยทั่วไปเขตเวลาจะตั้งอยู่บนเส้นเมริเดียนตามลองจิจูดต่างๆ ซึ่งจะมีช่วงห่างกัน 15°
ส่งผลให้เขตเวลาที่อยู่ติดกันมีเวลาต่างกันอยู่ 1 ชั่วโมง
อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติไม่ได้แบ่งเขตตามเวลาที่ต่างกัน 1 ชั่วโมง
จากรูปด้านล่างจะเห็นได้ว่าแต่ละเขตเวลามีรูปร่างไม่แน่นอน
เป็นเพราะการคำนึงถึงแนวเขตรัฐ ประเทศ หรือเขตการปกครองอื่นๆ
ด้วยการกำหนดเขตเวลานี้เอง ที่ทำให้พื้นที่ต่างๆบนโลก
มีเวลาไม่ตรงกัน โดยพื้นที่ที่อยู่ทางทิศตะวันออกหรือตะวันตก
เมื่อเทียบกับเวลามาตรฐานกรีนิช (อยู่ในประเทศอังกฤษ)
จะมีเวลา 'เร็วกว่า หรือ ช้ากว่า'
ดินแดนที่ถือว่าอยู่ทางทิศตะวันตกสุดของโลก (เทียบตามเขตเวลา)
คือเกาะที่มีชื่อว่า 'ฮาวแลนด์' ('Howland Island')
เป็นเกาะปะการังที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยถาวรในเขตมหาสมุทรแปซิฟิกตอนเหนือ
ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโฮโนลูลูประมาณ 1,700 ไมล์ทะเล (3,100 กิโลเมตร)
เกาะนี้ตั้งอยู่เกือบครึ่งหนึ่งระหว่างฮาวายกับออสเตรเลีย และมีสถานะเป็นดินแดนไม่มีการจัดระเบียบ
ซึ่งปกครองโดยระบบเทศบาลของสหรัฐ เกาะนี้กับเกาะเบเกอร์รวมกันเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะฟีนิกซ์
ในเชิงสถิติ เกาะฮาวแลนด์ถูกจัดเป็นหนึ่งในเกาะเล็กรอบนอกของสหรัฐ
เกาะฮาวแลนด์ถือเป็นดินแดนที่อยู่ห่างไกลที่สุดของสหรัฐ
และถือเป็นหนึ่งใน 2 ดินแดนที่ใช้เวลาในเขต UTC−12
ร่วมกับ 'เกาะเบเกอร์' (Baker Island) ที่อยู่ไกล้เคียง
โดยเกาะฮาวแลนด์อยู่ทางตะวันตกของเกาะเบเกอร์
หรือเท่ากับว่าเกาะฮาวแลนด์จะเป็นดินแดนสุดท้ายของโลก
ที่จะได้เห็นแสงอาทิตย์สุดท้ายในแต่ละวันของโลกนั่นเอง