ย้อนรอยค่าแรง 300 บาท สู่ ค่าแรง 600 บาท ระเบิดเวลา และ ผลพวง ของการเลือกตั้ง
หากใครจำได้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2555 ค่าแรงขั้นต่ำของไทย ได้ปรับขึ้นเป็น 300 บาท โดยเริ่มนำร่องจาก 7 จังหวัด และ ปรับมาใช้ในอัตราเดียวกันในปี 2556 ซึ่ง นักธุรกิจหลายคนในยุคนั้น ตั้งคำถามขึ้นมาว่า "ทำไม"
ซึ่งถ้าให้ตอบออกมา ก็เพราะ เป็นนโยบายที่พรรคการเมืองได้ใช้ในการหาเสียงก่อนหน้านั้น ... และ ถ้าดูตามหลักการตลาด แล้ว เลข 300 ก็เป็นเลขที่ต่อเนื่อง กับ 30 บาท รักษาทุกโรค ของพรรคการเมืองเดียวกัน
เป็นตัวเลขที่ถือว่าเก่งมาก ๆ เพราะเข้าใจง่าย ตรงกลุ่มเป้าหมาย และ สัมฤทธิ์ผล
แต่เมื่อมาถึงการนำไปปฏิบัติใช้จริง ตัวเลขดังกล่าวส่งผลกระทบเป็นวงกว้าง
อยากเอาเรื่องนี้มาพูดให้ฟัง ... แต่ไม่อยากให้โยงเรื่องพรรคการเมืองมากนัก ... เพราะในปัจจุบัน ... นโยบายของทุกพรรค เน้นการแจก แจก แจก แทนที่จะไปเน้นในเรื่องของกระบวนการทำงาน ที่จะทำให้ประเทศพัฒนาได้อย่างจริงจัง
แน่นอนว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในบ้านเรา มันโคตรต่ำเลยนะ ... และ มันสะท้อนอะไรบ้าง
1. ความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้
2. หลายคนได้รับค่าจ้างที่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด อย่างครูอัตราจ้าง ที่เคยได้ยินข่าวว่าได้เพียง 5,000 - 7,000 บาท
3. การขยายตัวของค่าจ้างขั้นต่ำ เติบโตไม่ทันค่าครองชีพ
ไม่แปลก ที่ทำไมคนงานทำงานมีแต่จนลงจนลง
แต่ถ้าดูให้ดี ปัญหา มันมาจากค่าครองชีพที่ถีบตัวสูงขึ้น การที่ความร่ำรวยไปตกอยู่ในมือของคนไม่กี่คน และ สามารถกำหนด กลไกทางการตลาดไปในแบบที่ตัวเองต้องการได้
การขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาท ในวันนั้น ทำให้เกิดผลกระทบมากมายในแง่ของเศรษฐกิจ
1. เศรษฐกิจชะลอตัว
2. ภาวะเงินเฟ้อ
3. ผลิตภาพ (Productivity) ต่ำลง
4. ค่าแรงสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิต
5. ไม่เกิดแรงจูงใจ ให้ย้ายการฐานผลิตไปยังเมืองรอง อย่างลำพูน เพราะค่าจ้างที่กรุงเทพ และ ลำพูนเท่ากัน ในขณะที่ค่าขนส่งกรุงเทพต่ำกว่า
ปัญหาที่บริษัทต้องเผชิญ
1. พนักงานที่พึ่งเข้ามาทำงานใหม่ และ พนักงานที่อยู่มานาน ปรับเงินเดือนในฐานที่เท่ากัน เช่น คนงานใหม่ 5,500 คนเก่า 8,500 ทุกคนปรับเป็น 9,000 บาท เท่ากันหมด ทำให้คนงานเก่าเกิดความไม่พอใจ และ จะเพิ่มให้คนเก่ามากกว่านั้น ก็ไม่ได้ เพราะค่าแรงเป็นต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่ากลัว
2. ลดจำนวนพนักงาน และ หันไปใช้เครื่องจักร
3. ต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ทำให้การแข่งขันในระดับสากล ทำได้ต่ำลง
4. การเปลี่ยนไปใช้แรงงานต่างด้าว ที่มีความอดทน และ ทำงานได้มากกว่า ในราคาที่เท่ากัน ... และ ส่งผลต่อการเข้ามาของแรงงานต่างด้าวเพิ่มมากยิ่งขึ้น
นโยบายขึ้นค่าแรง เป็น 600 บาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้น อีก 1 เท่า ของค่าแรง 300 บาท ในครั้งก่อน ก็ยังคงเป็นตัวเลขที่ทรงพลังอยู่ในปัจจุบัน ถึงมีการแก้เกี้ยวว่าขึ้นได้ในปี 2570 หรือหลังจากครบวาระของรัฐบาลในชุดที่จะถึงนี้ จะเป็นคำพูดที่ฟังดูดี และ ผลักภาระให้กับรัฐบาลต่อไป แต่ถ้าทำขึ้นจริง ... มันจะเป็นการบิดเบือน อุปสงค์ และ อุปทาน และ สร้างความบอบช้ำให้เศรษฐกิจ ที่กำลังจะฟื้นตัวหลังช่วงโควิด ... ดังนั้น เราควรจะตรึกตรองให้ดีก่อนที่จะเลือกพรรคการเมือง ... ที่มีนโยบาย เพียงหวังผลคะแนนเสียงเพียงเท่านั้น ....