ไทยเรามีการยุบสภาผู้แทนราษฎร มาแล้วมากถึง 14 ครั้ง การยุบสภาฯ มันคืออะไร
น่าจะเป็นปกติธรรมดากับปกครองในระบอบประชาธิปไตย มันก็ต้องมีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไทย กันหลายๆ ครั้ง โดยเฉพาะในไทย ต้องมีเหตุอะไรสักอย่างที่ต้อยุบ ให้สิ้นสุดลง
จริงๆ มันคือ การทำให้ความเป็นสมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยสิ้นสุดลง โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้พระ มหากษัตริย์ ทรงตราพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร
อันเป็นผลให้สภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งปวงพ้นจากตำแหน่งก่อนวาระ ทั้งนี้ เพื่อจัดการเลือกตั้งใหม่ การยุบสภาเป็นมาตรการสำคัญอย่างหนึ่งของระบบรัฐสภาที่ทำให้มีการคานอำนาจกันระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติกับฝ่ายบริหาร อาจนำมาใช้แก้ปัญหาทางตันทางการเมือง นอกจากทางอื่น เช่น รัฐบาลลาออก
4. หลักการสำคัญในการยุบสภา
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หลักการสำคัญในการยุบสภาสามารถพิจารณาภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้ ดังนี้
1. ยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ (มาตรา 108 วรรคหนึ่ง) พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขแห่งรัฐทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนั้นได้ก็ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีเสนอเท่านั้นฃ
2. ยุบสภาผู้แทนราษฎรต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 108 วรรคสอง) พระราชกฤษฎีกาจะใช้บังคับเมื่อใดแล้วแต่กำหนดไว้ในนั้นเองแต่ต้องหลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในการนี้ ต้องกำหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 45 วัน แต่ไม่เกิน 60 วันนับแต่วันพระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
3. ยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน (มาตรา 108 วรรค 3) หากมีจะการยุบสภาอีกครั้ง มิอาจอ้างเหตุผลที่ใช้ในการยุบสภาครั้งก่อนได้
4. การยุบสภาผู้แทนราษฎรมีได้เฉพาะก่อนสภาสิ้นอายุ การยุบสภากระทำในเวลาใดก็ได้ก่อนสภาสิ้นอายุ แม้อยู่ในช่วงปิดสมัยประชุมสภา อย่างไรก็ตาม กรณีมีการเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแล้ว ย่อมไม่สามารถยุบสภาได้
การยุบสภาผู้แทนราษฎรทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง (มาตรา 106)
ของไทยเรา การยุบสภาผู้แทนราษฎรทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง มีมากถึง 13 ครั้งฃ
1. 11 กันยายน พ.ศ. 2481 พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา 2 รัฐบาลขัดแย้งกับสภา
พระยาพหลพลพยุหเสนา(พจน์ พหลโยธิน)
2. 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช 3 สภาผู้แทนยืดอายุมานานในช่วงสงคราม จนสมควรแก่เวลา
หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช ณ กงสุลไทยในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
3. 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 สัญญา ธรรมศักดิ์ ประกาศยุบสภา เมื่อ เนื่องจากสมาชิกนิติบัญญัติลาออก จนไม่สามารถทำหน้าที่ได้
นายสัญญา ธรรมศักดิ์
4. 12 มกราคม พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช 11 ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
ศาสตราจารย์ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
5. 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 13 สภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งกับวุฒิสภา กรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ
พลเอก เปรม ติณสูลานนท์
6 .1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 14 รัฐบาลขัดแย้งกับสภา กรณีการตราพระราชกำหนด
7 .29 เมษายน พ.ศ. 2531 พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ 15 ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
8. 30 มิถุนายน พ.ศ. 2535 อานันท์ ปันยารชุน 17 เป็นรัฐบาลเฉพาะกิจเพื่อยุบสภาหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมือง
นายอานันท์ ปันยารชุน
9. 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 ชวน หลีกภัย 18 ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
นายชวน หลีกภัย
10. 28 กันยายน พ.ศ. 2539 บรรหาร ศิลปอาชา 19 ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
นายบรรหาร ศิลปอาชา
11. 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 ชวน หลีกภัย 20 ปฏิบัติภารกิจตามเป้าหมายเสร็จแล้ว
12. 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร 22 เกิดวิกฤตการณ์การเมืองจากการชุมนุมขับไล่นายกรัฐมนตรี ต่อมาเกิดรัฐประหาร 19 กันยายน 2549
พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
13. 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ 23 วิกฤตการณ์ทางการเมือง
14. 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 24 ปัญหาความขัดแย้งและความแตกแยกของชนในชาติ (วิกฤตการณ์ทางการเมือง) ต่อมาเกิดรัฐประหาร 22 พฤษภาคม 2557
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
สิ่งที่คนไทยจดจำได้มากที่สุดคือตระกูล ชินวัตร โดยพันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร โดนกล่าวหาว่าว่าเขาร่ำรวยผิดปกติขณะอยู่ในตำแหน่ง ทักษิณเคยเดินทางกลับประเทศไทยครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 หลังพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง
แต่หลังจากนั้นอาศัยอยู่ต่างประเทศโดยตลอด เขาถูกตัดสินจำคุก 2 ปีในคดีที่ดินรัชดาฯ ทักษิณเป็นผู้สนับสนุนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี 2552 รัฐบาลอภิสิทธิ์เพิกถอนหนังสือเดินทางของทักษิณ
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาให้ทรัพย์สินของทักษิณประมาณ 46,000 ล้านบาท ตกเป็นของแผ่นดิน ทักษิณถูกถอดยศ"พันตำรวจโท"
ส่วนนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โดนคดีกรณีปล่อยปละละเลยไม่ระงับยับยั้งการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว
ส่วนการยุบสภาที่จะมาถึงในครั้งที่ 15 ในยุค ประยุทธ์จันทร์โอชา ปชช. อย่างเรามาจับตาดูกันจะมาเมื่อไหร่ อย่างไร